CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_04: วิพากษ์แนวทางการประเมินคุณธรรมของผู้เรียน
บันทึกที่ ๑ ๒ ๓ สรุปย่อ แนวทางการประเมินคุณธรรมของผู้เรียน ที่ สพฐ. เสนอเป็นต้นแบบให้สถานศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา นำไปปรับใช้ในการคัดเลือกนักเรียนเข้าสู่มหาวิทยาลัยในโครงการเด็กดีมีที่เรียน
บันทึกนี้อยากเชิญชวนใครที่กำลังทำโครงการเด็กดีมีที่เรียนนี้อยู่ มาร่วมกันตีความหรือวิพากษ์ "แนวทางการประเมินคุณธรรมผู้เรียน" เพื่อเรียนรู้และพัฒนา ขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษาร่วมกันครับ
ผมมีข้อสังเกตหลังศึกษาเกณฑ์นี้ ดังนี้ครับ
บันทึกนี้อยากเชิญชวนใครที่กำลังทำโครงการเด็กดีมีที่เรียนนี้อยู่ มาร่วมกันตีความหรือวิพากษ์ "แนวทางการประเมินคุณธรรมผู้เรียน" เพื่อเรียนรู้และพัฒนา ขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษาร่วมกันครับ
ผมมีข้อสังเกตหลังศึกษาเกณฑ์นี้ ดังนี้ครับ
- เป็นเกณฑ์ที่เน้น "paper work" สังเกตจากที่ เสนอให้ครูตรวจความน่าเชื่อถือของแฟ้มสะสมงาน ให้ได้ระดับ 3 ก่อน หากต่ำกว่านี้ต้องแก้ไข หากไม่แก้ไขก็คงหมดสิทธิ์ ... หมดโอกาสที่จะถูกพิจารณาระดับคุณธรรมต่อไป
- เกณฑ์ที่แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ คุณธรรมเพื่อพัฒนาตน เพื่อพัฒนาการทำงาน และเพื่อพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม นั้นดีมาก แต่ตอนที่เลือกคุณธรรม 6 ประการ เป็นองค์ประกอบในแต่ละด้านนั้น ไม่น่าจะครอบคลุมและตรงจุดเน้น เช่น คุณธรรมเพื่อการพัฒนาตนข้อหนึ่งคือ ความเชื่อมั่นในตนเอง... ข้อนี้เป็นผลของความภูมิใจที่ทำได้ คิดได้ และเห็นความสำคัญของตนเอง..ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะเป็นเรื่องดี....
- คุณธรรมที่ควรเน้นน่าจะมีลักษณะดังนี้
- เน้น "กระบวนการคิด" หรือ "วิธีคิด" ที่ดี มากกว่า ผลจากงานคิด... เพราะเด็กดีหลายคนขาดโอกาสในการฝึกฝนทักษะต่างๆ แต่พวกเขามีฐานคิดที่ดี
- เน้นการ "ทำดี" มากกว่า "ผลงานดี"... หลายอย่างค่อนข้างเป็นนามธรรม การปิดทองหลังพระยากนักที่จะมีคนเห็น.. แต่เด็กดีมากจะทำดีอย่างสม่ำเสมอเพราะพวกเขา "มีวิธีคิด" ที่ดีติดตัว
- เน้น "รู้จักตนเอง" เช่น รู้ว่าตนเองชอบอะไร ถนัดอะไร รู้จักโรงเรียน รู้จักชุมชน เป็นต้น
- เน้น "จิตอาสา" มากกว่า "จิตสาธารณะ" จะดีที่สุดคือมีทั้งสองอย่าง
- สิ่งที่ควรเน้นคือ "ความพอเพียง"....
- ฯลฯ
สรุปแล้ว ครูที่อยู่กับพวกเขามาทั้งปีเท่านั้นที่จะสามารถประเมินพวกเขาได้อย่างตรงไปตรงมาว่า พวกเป็น "เด็กดีหรือไม่" .... ปัญหาจึงไม่ใช่ว่า เราจะคัดเลือกอย่างไร... แต่เป็นว่า ... จะทำอย่างไรให้ครูและโรงเรียนได้มีส่วนในความสำเร็จหรือรับผิดชอบกับการคัดเลือกของตนเอง....
"ระบบโควต้าคนดี" จึงน่าจะเกิดขึ้นในโครงการนี้ โดยมีหลักเบื้องต้นดังนี้
- หาก "เด็กดี" มีที่เรียนแล้ว "ดีจริง" โรงเรียนจะได้รับการยกย่องเชิดชู และได้จำนวนโควต้าเพิ่มในปีถัดไป ในทางกลับกันหากไม่ใช่ จำนวนโควต้าของโรงเรียนก็ลดลง
- เมื่อ "เด็กดี" เข้ามาเรียนแล้ว มหาวิทยาลัย ต้องมีกระบวนการเพื่อส่งเสริมพัฒนา "เด็กดี" ให้เป็น "นิสิต" หรือ "ผู้นำนิสิต" ที่ดี และร่วมกับสำนักงานเขตฯ และโรงเรียน จัดให้พวกเขาได้มีโอกาสกลับไปทำกิจกรรมส่งเสริมความดีให้กับน้องๆ ระหว่างเรียน
- จาก "เด็กดี" เป็น "นิสิตดี" และเป็น "บันฑิตที่ดี" ต้องมีพลวัตรครบวงจร ส่งเสริมชุมชและสังคมอย่างต่อเนื่อง
แม้วันนี้จะเป็นเพียงการ "คิดเขียน" แต่ก็ตังใจครับว่าจะเพียรให้เป็นจริงให้ได้.......
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น