โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน GE_02 : ขั้นที่ 1 สร้างความเข้าใจอย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้เห็นความสำคัญ
วันที่ 3 กรกฎาคม 2556 CADL อยู่ที่โรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ เราจัดเวที 1 สร้างความเข้าใจ เพื่อหวังทุกคนที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นได้พืชสมุนไพรในชุมชนโรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ ต.เขวาใหญ่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ดูข้อมูลโรงเรียนได้ที่นี่
ผู้อำนวยการโรงเรียน ผอ.สำรวย ทินพิษ เป็นผู้ประสานงานติดต่อปราชญ์ชาวบ้าน กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมเวทีเสวนากันที่ใต้ถุนอาคารเรียน ดูจากจำนวนที่มาเข้าร่วม และจากบรรยายการของการจัดเสวนาที่สนุกสนานเป็นกันเอง สะท้อนการันตีว่า ที่นี่ ผอ. เข้มแข็งด้านความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานภายนอก...
การประชุมเสวนา "โสเหร่" วันนี้ผู้มาร่วม 40 คน เป็นผู้บริหาร ครูแกนนำ (ครูทั้งหมด 16 คน) ประธานกรรมการสถานศึกษา (นายสนอง ใจภักดี (เสื้อแขนยาวสีฟ้า ด้านขวามือ)) ผู้นำชุมชน และตัวแทนปราชญ์ชาวบ้านกว่า 20 คน (จาก 19 หมู่บ้านใน ต.เขวาใหญ่) การเสวนาเป็นไปอย่างสนุกสนานประสานความคิดและประสบการณ์ สะท้อนว่าทุกท่านมาแบบมี "จิตอาสา" จริงๆ....
ประเด็นเริ่มต้นสำคัญคือ การทำความเข้าและรู้จัก "ตนเอง" บริบทของโรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ ที่ทำให้กลายมาเป็น "หลักสูตรพืชสมุนไพร" มีเด่นๆ ดังนี้ครับ
ประเด็นถัดมาคือการร่วมกันออกแบบการจัดกิจกรรมวัน "ปฏิบัติเชิงสาธิตกระบวนการ" และ "ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปสมุนไพรในโรงเรียน" คำว่า "กระบวนการ" หมายถึง "กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน" แสดงดังแผนภาพ
สรุปประเด็นการจัดงานได้ดังนี้ครับ
ผู้อำนวยการโรงเรียน ผอ.สำรวย ทินพิษ เป็นผู้ประสานงานติดต่อปราชญ์ชาวบ้าน กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมเวทีเสวนากันที่ใต้ถุนอาคารเรียน ดูจากจำนวนที่มาเข้าร่วม และจากบรรยายการของการจัดเสวนาที่สนุกสนานเป็นกันเอง สะท้อนการันตีว่า ที่นี่ ผอ. เข้มแข็งด้านความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานภายนอก...
การประชุมเสวนา "โสเหร่" วันนี้ผู้มาร่วม 40 คน เป็นผู้บริหาร ครูแกนนำ (ครูทั้งหมด 16 คน) ประธานกรรมการสถานศึกษา (นายสนอง ใจภักดี (เสื้อแขนยาวสีฟ้า ด้านขวามือ)) ผู้นำชุมชน และตัวแทนปราชญ์ชาวบ้านกว่า 20 คน (จาก 19 หมู่บ้านใน ต.เขวาใหญ่) การเสวนาเป็นไปอย่างสนุกสนานประสานความคิดและประสบการณ์ สะท้อนว่าทุกท่านมาแบบมี "จิตอาสา" จริงๆ....
ประเด็นเริ่มต้นสำคัญคือ การทำความเข้าและรู้จัก "ตนเอง" บริบทของโรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ ที่ทำให้กลายมาเป็น "หลักสูตรพืชสมุนไพร" มีเด่นๆ ดังนี้ครับ
- มีจำนวนปราชญ์ผู้รู้เรื่องสมุนไพรจำนวนมากจริงๆ ครับ... โดยเฉพาะพ่อใหญ่ในโรงเรียน ท่าน ผอ.สำรวย
- มีดอนปู่ตา ป่าสารพันธุ์พืชสมุนไพรในโรงเรียน... ผมประมาณจากที่ได้ร่วมสำรวจร่วมตรวจด้วยว่า น่าจะไม่ต่ำกว่า 10 ไร่
- ผู้นำชุมชนและโรงเรียนเห็นตรงกันว่าจุดเด่นของเขาคือ "พืชสมุนไพร"...รู้ตนบริบท รู้ตนเองชัด และอยากจะร่วมจัดการความรู้พืชสมุนไพรร่วมกัน..
ประเด็นถัดมาคือการร่วมกันออกแบบการจัดกิจกรรมวัน "ปฏิบัติเชิงสาธิตกระบวนการ" และ "ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปสมุนไพรในโรงเรียน" คำว่า "กระบวนการ" หมายถึง "กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน" แสดงดังแผนภาพ
สรุปประเด็นการจัดงานได้ดังนี้ครับ
- ผู้เข้าร่วมงานประมาณ 300 คน ประกอบด้วย
- นักเรียน 140 คน (ทั้งโรงเรียน)
- ครู 16 คน
- ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้านประมาณ 50 คน
- คณาจารย์วิทยากรจากคณะแพทย์ศาสตร์สาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์ 7 ท่าน
- นิสิตคณะแพทย์แผนไทยประยุกต์ 20 คน
- ทีมงาน CADL จากสำนักศึกษาทั่วไป 10 คน
- แบ่งกลุ่มให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ใหญ่ในชุมชนได้สอนและถ่ายทอดความรู้ เสริมสร้างความภาคภูมิใจทั้งสองฝ่าย
- กิจกรรมหลัก
- ทีม CADL ลงเตรียมพื้นที่ก่อนถึงวันงาน เตรียม site งานสำหรับการเดินสำรวจ จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ
- เช้าลงทะเบียนรับป้ายชื่อที่ระบุชื่อกลุ่ม พิธีเปิดโดยผู้บริหารสำนักศึกษาทั่วไปก่อน
- ผมนำ BAR และชี้แจง "กระบวนการเรียนรู้" และกิจกรรต่างๆ อีกครั้งก่อนเดินสำรวจเป็นกลุ่ม (ขั้นสำรวจและสืบค้น)
- กลับมารวบรวมข้อมูลของตนเอง จัดทำ Mind Map ของกลุ่ม และนำเสนอ (ขั้นวิเคราะห์ตีความและสร้างสื่อสร้างสรรค์ และได้นำเสนอแบบง่ายๆ)
- พักรับประทานอาหารร่วมกัน โดยกำหนดให้ แต่ละหมู่บ้านจัดเตรียมอาหารที่ทำจากพืชสมุนไพรมากินร่วมกัน (ไม่ซ้ำเมนูกัน)
- ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการทำครีมจากเสลดพังพอน และการทำลูกประคบจากสมุนไพรที่ชุมชนแต่ละหมู่บ้านเตรียมมา
- AAR
- ปิดงาน จบหนึ่งวันครับตั้งแต่ 8:30 ถึง 16:00 น.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น