รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๒-๒๕๕๙ (๑๑) : บรรยายพิเศษ "การประเมินผลโครงการ"
การบริหารโครงการและการดำเนินโครงการ เป็นทักษะ นั่นหมายถึง ไม่สามารถเรียนสำเร็จได้ด้วยการอ่านการฟัง แต่ต้องลงมือทำด้วยตนเองเท่านั้น ดังนั้น ผมจึงขอข้ามหัวข้อ "การบริหารโครงการ" เอาไว้เรียนรู้จากตัวอย่างการทำงานในลักษณะของการ "ถอดบทเรียน" บันทึกนี้มุ่งให้นิสิต "คิดเรียน" เกี่ยวกับการประเมินผลโครงการ อันเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ต้องนำไปไว้ในการรายงานโครงการต่อไป
ความหมายของการประเมินผลโครงการ
มีผู้ให้ความหมายของ "การประเมินโครงการ" ไว้มากมาย ท่านที่สนใจ สามารถสืบค้นได้จากงานเขียนวิทยานิพนธ์หรือเล่มงานวิจัยทางศึกษาศาสตร์ ได้ไม่ยาก (เช่น คลิกที่นี่) หลังจากอ่านหลาย ๆ ความหมาย สามารถสังเคราะห์ให้ครอบคลุ่มที่สุดได้ดังนี้
ประเภทของการประเมินโครงการ
มีผู้เสนอวิธีการแบ่งประเภทของการประเมินโครงการไว้หลายแบบ (สนใจสืนค้นได้ไม่ยาก หรือ คลิกที่นี่) สาระสำคัญที่น่าสนใจคือ การแบ่งประเภทตามเวลาว่า ประเมินเมื่อไหร่
การประเมินในแต่ละขั้นตอนของการบริหารโครงการ แบ่งได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ๑) การประเมินก่อนดำเนินโครงการ (Preliminary Evaluation) โดยควรประเมิน ๒ ลักษณะ ได้แก่ การประเมินความต้องการหรือความจำเป็น (Needs Assessment) และประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility Study) เพื่อนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจในการทำแผนหรือปรับแผนการดำเนินโครงการ
๒) การประเมินระหว่างการดำเนินโครงการ (On going Evaluation) เป็นการประเมินความก้าวหน้าหรือการพัฒนาของโครงการ (Formative Evaluation) ว่า เป็นไปตามแผนของโครงการหรือไม่ มีปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไร
๓) การประเมินเมื่อโครงการสิ้นสุด (Pay-off Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อผลรวมสรุป (Summative Evaluation) หลังจากการดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว เป็นการประเมินความสำเร็จของโครงการตามตัวชี้วัดหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น การประเมินผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (Outcome) หรือ ผลกระทบ (Impact) อันเป็นผลมาจากโครงการ
ตัวอย่างรูปแบบการประเมินโครงการ
มีผู้เสนอวิธีการประเมินโครงการหลาย ๆ แบบ (สนใจสืนค้นได้ไม่ยาก หรือ คลิกที่นี่) วิธีที่ประทับใจและอยากนำมาเขียนบันทึกไว้ที่สุด คือวิธีของ Stufflebeam ซึ่งเสนอไว้ตั้งแต่ 1971 และได้รับความนิยม นำมาปรับใช้อย่างกว้างขวาง ดังแสดงด้านล่าง
ข้อควรคำนึงสำคัญในการประเมินโครงการที่ดี คือ ต้องศึกษาและรวบข้อมูลที่แท้จริง และวิเคราะห์พิจารณาอย่างไม่มีอคติ เป็นการประเมินที่แท้จริง (True Evaluation) ไม่ตั้งธงคำตอบหรือผลการประเมินไว้ก่อน หรือการประเมินที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิทางทางการเมืองหรือความกดดันทางสังคม ซึ่ง Stufflebeam เรียกว่า การประเมินเทียม (Pseudo Evaluation)
อย่างไรก็ตาม การประเมินที่ใช้กันทั่วไป มักมีการตั้งความมุ่งหมายในการประเมิน (Objective-based Evaluation) หรือการประเมินด้วยคำถาม (แบบสอบถาม) หรือใช้กระบวนการกำหนดตัวแปรและทดลอง ซึ่งมีการจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การประเมินมีประสิทธิภาพที่สุด
หลักคิดในการประเมินกิจกรรมนิสิตเบื้องต้น
สำหรับกิจกรรมนิสิต โครงการส่วนใหญ่เกิดจาก "จิตอาสา" และจุดมุ่งหมายสำคัญนอกจากวัตถุประสงค์ของแต่ละโครงการซึ่งจำเป็นต้องประเมินให้ครอบคลุมและครบถ้วนตามตัวชี้วัดและวัตถุประสงค์ทุกข้อแล้ว ทุกกิจกรรมนั้นมุ่งให้นิสิตฝึกฝนพัฒนาทักษะและภาวะผู้นำในตนเอง จึงควรต้องมีการประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Evaluation) ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญก็คือ "การถอดบทเรียน" นั่นเอง
ความหมายของการประเมินผลโครงการ
มีผู้ให้ความหมายของ "การประเมินโครงการ" ไว้มากมาย ท่านที่สนใจ สามารถสืบค้นได้จากงานเขียนวิทยานิพนธ์หรือเล่มงานวิจัยทางศึกษาศาสตร์ ได้ไม่ยาก (เช่น คลิกที่นี่) หลังจากอ่านหลาย ๆ ความหมาย สามารถสังเคราะห์ให้ครอบคลุ่มที่สุดได้ดังนี้
ประเภทของการประเมินโครงการ
มีผู้เสนอวิธีการแบ่งประเภทของการประเมินโครงการไว้หลายแบบ (สนใจสืนค้นได้ไม่ยาก หรือ คลิกที่นี่) สาระสำคัญที่น่าสนใจคือ การแบ่งประเภทตามเวลาว่า ประเมินเมื่อไหร่
การประเมินในแต่ละขั้นตอนของการบริหารโครงการ แบ่งได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ๑) การประเมินก่อนดำเนินโครงการ (Preliminary Evaluation) โดยควรประเมิน ๒ ลักษณะ ได้แก่ การประเมินความต้องการหรือความจำเป็น (Needs Assessment) และประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility Study) เพื่อนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจในการทำแผนหรือปรับแผนการดำเนินโครงการ
๒) การประเมินระหว่างการดำเนินโครงการ (On going Evaluation) เป็นการประเมินความก้าวหน้าหรือการพัฒนาของโครงการ (Formative Evaluation) ว่า เป็นไปตามแผนของโครงการหรือไม่ มีปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไร
๓) การประเมินเมื่อโครงการสิ้นสุด (Pay-off Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อผลรวมสรุป (Summative Evaluation) หลังจากการดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว เป็นการประเมินความสำเร็จของโครงการตามตัวชี้วัดหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น การประเมินผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (Outcome) หรือ ผลกระทบ (Impact) อันเป็นผลมาจากโครงการ
ตัวอย่างรูปแบบการประเมินโครงการ
มีผู้เสนอวิธีการประเมินโครงการหลาย ๆ แบบ (สนใจสืนค้นได้ไม่ยาก หรือ คลิกที่นี่) วิธีที่ประทับใจและอยากนำมาเขียนบันทึกไว้ที่สุด คือวิธีของ Stufflebeam ซึ่งเสนอไว้ตั้งแต่ 1971 และได้รับความนิยม นำมาปรับใช้อย่างกว้างขวาง ดังแสดงด้านล่าง
ข้อควรคำนึงสำคัญในการประเมินโครงการที่ดี คือ ต้องศึกษาและรวบข้อมูลที่แท้จริง และวิเคราะห์พิจารณาอย่างไม่มีอคติ เป็นการประเมินที่แท้จริง (True Evaluation) ไม่ตั้งธงคำตอบหรือผลการประเมินไว้ก่อน หรือการประเมินที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิทางทางการเมืองหรือความกดดันทางสังคม ซึ่ง Stufflebeam เรียกว่า การประเมินเทียม (Pseudo Evaluation)
อย่างไรก็ตาม การประเมินที่ใช้กันทั่วไป มักมีการตั้งความมุ่งหมายในการประเมิน (Objective-based Evaluation) หรือการประเมินด้วยคำถาม (แบบสอบถาม) หรือใช้กระบวนการกำหนดตัวแปรและทดลอง ซึ่งมีการจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การประเมินมีประสิทธิภาพที่สุด
หลักคิดในการประเมินกิจกรรมนิสิตเบื้องต้น
สำหรับกิจกรรมนิสิต โครงการส่วนใหญ่เกิดจาก "จิตอาสา" และจุดมุ่งหมายสำคัญนอกจากวัตถุประสงค์ของแต่ละโครงการซึ่งจำเป็นต้องประเมินให้ครอบคลุมและครบถ้วนตามตัวชี้วัดและวัตถุประสงค์ทุกข้อแล้ว ทุกกิจกรรมนั้นมุ่งให้นิสิตฝึกฝนพัฒนาทักษะและภาวะผู้นำในตนเอง จึงควรต้องมีการประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Evaluation) ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญก็คือ "การถอดบทเรียน" นั่นเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น