จับประเด็น เรียนรู้จาก ผอ.กลุ่มนโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคล สกอ.

วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๐ ในงาน SOTL#3 ช่วงบ่าย มีการบรรยายเรื่อง "เปิดมุมมองการสร้างกำลังคนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง" โดย คุณพันธ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู็อำนวยการกลุ่มนโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอุดมศึกษา สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา  ผมจับประเด็นสดๆ  ขณะ นั่งฟัง มาฝากท่านนักเรียนรู้ทุกท่านครับ

คลิกดูวีดีโอเฟสไลฟ์
  • มหาวิทยาลัยที่ สกอ. ดูแลอยู่ มีจำนวน ๑๕๖ มหาวิทยาลัย  อีก ๑ สถาบันกำลังจะเป็นมหาวิทยาลัย 
  • ผลงานการสร้างองค์ความรู้ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมาจากคนในมหาวิทยาลัย
  • อีก ๑๕ หรือ ๒๐ ปีข้างหน้า รัฐบาลจะทุ่มเงินไปที่ภาคเอกชน แต่ในปีสองปีนี้ 
  • ช่วง ๕ ปีที่ผ่าน มีการตีพิมพ์อยู่ประมาณ ๗๐,๐๐๐ เรื่อง ได้รับการอ้างอิงประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ครั้ง 
  • งานวิจัยที่มากที่สุดคือ วิจัยเรื่องยา (medicine) รองลงมาคือด้านวิศวกรรม 
  • เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ IQS พบว่า สาขาการเกษตรของไทยค่อนข้างแข็งแกร่ง 
  • ผลงานที่ว่ามาทั้งหมด  เกือบ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่มหาวิทยาลัยในกำกับ  คือ ๕๕,๐๐๐ เรื่อง เฉลี่ยต่อแห่งประมาณ ๒,๘๐๐ ร้อย ในขณะที่ มรภ. อยู่ที่ ๕๗  เอกชน ๔๗  
  • ผลการจัดอันดับเรื่องความสามารถในการแข่งขัน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ไทยอยู่ในอันดับที่ ๔๗ จาก ๕๖ ประเทศ 
  • ไทยมีค่าใช้จ่ายเรื่องการวิจัยต่อจีดีพี อยู่ที่ ๐.๔  ในขณะที่เกาหลีอยู่ที่ ๔ เปอร์เซ็นต์ 
  • จุฬาลงกรณ์เพิ่งครบ ๑๐๐ ปี ไปไม่กี่วันนี้เอง.....
  • การวิจัยที่ผ่านมา ไม่ได้นำมาใช้   รัฐบาลต้องการให้มหาวิทยาลัยลงมาช่วยแก้ปัญหาชุมชนและท้องถิ่น 
  • บัณฑิตของเรามีปัญหาเรื่องคุณภาพมาก นอกจากภาษาอังกฤษไม่ได้แล้ว ยังไม่แม่นในหลักกฎหมาย หรือทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ ยังขาด ทำให้ฐานการลงทุนกำลังย้ายไปที่เวียดนาม 
  • ช่วงต้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ตั้ง "ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก" คาดว่าจะกระตุ้นการแข่งขันได้บ้าง 
  • เร็ว ๆ นี้ รัฐบาลอาจจะให้มหาวิทยาลัยต่างประเทศเข้ามาตั้งในประเทศไทยได้ เพื่อดึงดูดให้สาขาวิชาต่าง ๆ มีการผลิตบัณฑิตที่ในประเทศไทย เพราะหลายสาขายังขาดอยู่
  • กำลังคนที่คาดว่าจะรองรับประเทศไทย ๔.๐ ตอนนี้เกือบทั้งหมดอยู่ในมหาวิทยาลัย ดังนั้น งบประมาณจะทุ่มลงมาที่มหาวิทยาลัย 
  • ตอนนี้มีงบประมาณต่าง ๆ มากมาย เช่น งบบูรณาการของหน่วยงานต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่จะวิ่งมาที่มหาวิทยาลัย 
  • มหาวิทยาลัยมีอาจารย์อยู่แค่ ๖๐,๐๐๐ คน ในจำนวนนี้จบปริญญาเอกเพียง ๒๐,๐๐๐ คน  จึงไม่น่าจะรองรับไหว 
  • ประเทศไทยเซ็นสัญญาทำระบบราง แต่ไม่มีคนเลย ยังไม่ได้เตรียมคนสำเรื่องรางเลย 
  • สิ่งที่ต้องทำคือ "University 4.0"  ต้องร่วมมือกัน จับกลุ่มกัน เช่น ม.เกษตร เชี่ยวชาญเรื่องเกษตรต้องเป็นนำ  ม.มหิดล เชี่ยวชาญเรื่องยา ต้องมาร่วมมือกับ ม.อื่น ๆ 
  • ต้องสร้างความก้าวหน้าในสายอาชีพ  ตอนนี้ สกอ. ได้ปรับมาตรฐานภาระงาน  ให้มีสอน วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุง โดยไม่กำหนดว่าจำเป็นต้องสอน ๑๘ ชั่วโมงแล้ว  ปลดล็อคระบบนี้แล้ว  และแก้ไขให้อาจารย์สามารถออกไปทำงานในบริษัทเอกชนได้
  • สกอ. จะยกเลิกวิธีการขอตำแหน่งทางวิชาการ  ให้สามารถนำเอาผลงานการบริการและรับใช้ชุมชน มาขอตำแหน่งทางวิชาการได้ โดยมีเพียงหนังสือรับรองและหลักฐานเชิงประจักษ์ ก็ได้
  • มหาวิทยาลัยจะต้องร่วมมือกัน ร่วมกันสร้างนักวิจัย ทำงานในลักษณะเป็น "โหนด" นักวิจัย 
  • มีการพัฒนาเรื่อง "ครูของครู" และ "ความหลากหลายทางชีวภาพ" 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"