รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๒-๒๕๕๙ (๙) : บรรยายพิเศษ "กิจกรรมพัฒนานิสิต"
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ รองอธิการฝ่ายพัฒนานิสิต บรรยายพิเศษเรื่อง "กิจกรรมพัฒนานิสิต" จับประเด็นเอาสาระมาบันทึก ให้นิสิตผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน
Cr. สไลด์กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. สไลด์กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. สไลด์กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. กองกิจการนิสิต
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
สไลด์ต่อไปนี้บอกความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำกิจกรรมนิสิต
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
ภาวะผู้นำไม่มีทฤษฎีตายตัว ไม่สามารถพัฒนาได้ด้วยการจดจำหรือเพียงนำมาคิดต่อเท่านั้น การพัฒนาภาวะผู้นำในตนเอง ต้องฝึกฝนตนเองผ่านการกระทำและกิจกรรมต่าง ๆ นั่นคือ นิสิตที่มาลงทะเบียนเรียนรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวผู้นำ จำเป็นต้องเข้าร่วมหรือเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมนิสิตทุกคน
นั่นคือ วิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ เป็นกลไกในการฝึกผู้นำด้วยการให้ทำกิจกรรมพัฒนานิสิต สิ่งที่เรากำลังทำก็คือ กิจกรรมในหลักสูตรนั่นเองครับ
- กิจกรรมพัฒนานิสิตในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น ๒ แบบ คือ กิจกรรมเสริมหลักสูตร หรือ กิจกรรมร่วม หรือกิจกรรมนอกหลักสูตร (Extracurricular Activity) และกิจกรรมในหลักสูตร (Curricular Activity)
- กิจกรรมนอกหลักสูตร หรือ กิจกรรมร่วมหลักสูตร เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยสภานิสิต องค์การนิสิต สโมสรนิสิตคณะ และชมรมต่าง ๆ ทั้งที่สังกัดกองกิจการนิสิตและสังกัดคณะ โดยความเห็นชอบของมหาวิทยาลัยผ่านหน่วยงานพัฒนานิสิต ได้แก่ กองกิจการนิสิต ฝ่ายพัฒนานิสิตของคณะ
- กิจกรรมร่วมหลักสูตร เช่น กิจกรรมรับน้องใหม่ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมออกค่ายอาสา ฯลฯ
- กิจกรรมในหลักสูตร หมายถึง กิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาในหลักสูตร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของรายวิชานั้น ๆ มีการวัดผลการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เป็นค่าคะแนน เป็นต้น กิจกรรมในหลักสูตรจะจัดขึ้นโดยอาจารย์ (ผู้สอน) หรือ นิสิต (ผู้เรียน) ก็ได้
- โครงการเชื่อมความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างมหาวิทยาลัย คือ กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ ซึ่งสืบทอดต่อกันมานาน เป็นการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยที่เคยเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตต่าง ๆ มาก่อน เหตุที่เรียกว่า "เทา-งาม" เพราะทั้ง ๕ มหาวิทยาลัย มีสีเทาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเหมือนกัน ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร คือสีเทา-แดง ม.ทักษิณ เป็นเทา-ฟ้า ม.นเรศวรเป็นเทา-แสด ม.บูรพา สีเทา-ทอง มมส. คือเทา-เหลือง ปีหน้า (พ.ศ. ๒๕๖๑) กิจกรรมนี้จะจัดที่ ม.ทักษิณ นิสิตที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมได้ ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ
- เป้าประสงค์ของกิจกรรมพัฒนานิสิต คือ เพื่อพัฒนานิสิตให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ ซึ่งมีการกำหนดไว้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งระดับคณะ มหาวิทยาลัย และระดับประเทศ
- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) ต้องการบัณฑิตที่ เก่ง ดี และมีสุข จึงกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาไทย (TQF)
Cr. สไลด์กองกิจการนิสิต มมส.
- สกอ. กำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ไว้ ๕ ด้าน ได้แก่ คุณธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยี
Cr. สไลด์กองกิจการนิสิต มมส.
- บัณฑิตที่พึงประสงค์ ๙ ประการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รายละเอียดคลิกที่สไลด์ จะได้รูปที่ขยายใหญ่ จนสามารถอ่านได้สะดวก
Cr. สไลด์กองกิจการนิสิต มมส.
- สิ่งที่น่าภาคภูมิใจที่สุดของนิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัย คือ การยึดมั่นในปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ "พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว" "ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน"
- เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ "การเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน"
- อัตลักษณ์หรือตัวตนของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ "นิสิตกับการช่วยเหลือสังคม"
- ค่านิยมของนิสิต คือ "พึ่งได้" หรือ MSU for All
Cr. กองกิจการนิสิต
- คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม คือ "ประพฤติดี มีวินัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ค่านิยมของนิสิต คือ MSU for All คือ นอกจากพึ่งตนเองได้แล้วยังเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ด้วย หรือ "พึ่งได้"
- M คือ Moral คือมีคุณธรรมจริยธรรม
- S คือ Social Responsibility คือ รับผิดชอบต่อสังคม
- U คือ Unity คือ การเป็นหนึ่งเดียวกัน
- สกอ. ให้กรอบกว้าง ๆ กับมหาวิทยาลัย ไว้ ๕ ด้าน ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ กิจกรรมกีฬาเพื่อส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม และกิจกรรมเสริมสร้างดคุณธรรมจริยธรรม
- กิจกรรมพัฒนานิสิตของ มมส. โดดเด่นด้านส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมาก ถือเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านบำเพ็ญประโยชน์ ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านกีฬา และด้านวิชาการและนิสิตสัมพันธ์
- กรอบแนวคิดในการพัฒนานิสิต คือ การเปิดพื้นที่ให้นิสิตได้ใช้กิจกรรมในการเรียนรู้ตนเอง และเรียนรู้การบริการสังคม
- กิจกรรมนอกหลักสูตรในลักษณะการทำค่าย โดยเฉพาะ "ค่ายสร้าง" จะทำให้นิสิตได้คิด ได้ทำ ได้รับผิดชอบ ผลคือจะเกิดความกล้า "กล้าคิด กล้าทำ กล้ารับผิดชอบ" เรียกการเรียนรู้แบบนี้ว่า "เรียนรู้คู่บริการ"
- คำว่าผู้นำไม่จำเป็นต้องเดินนำ แต่ผู้นำทุกคนต้องกล้าคิด กล้าทำ และกล้ารับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้พูดได้ทำลงไป
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
- ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้ มหาวิทยาลัยให้นโยบายเชิงรุกในการทำกิจกรรมพัฒนานิสิต ๕ ด้าน ได้แก่
- ด้านคุณธรรม จริยธรรม เน้นให้บัณฑิตเป็นคนดีเป็นที่พี่งกับสังคมและชุมชน
- ต่อต้านสิ่งเสพติดและความปลอดภัยในชีวิต เช่น เช่น การจัดระเบียบผู้สูบบุหรี่ ความปลอดภัยบนท้องถนน ฯลฯ
- มหาวิทยาลัยสีเขียว เน้นเรื่องขยะ การจัดการขยะ การลดขยะ ฯลฯ
- ภาษาสากล เน้นเรื่องการพัฒนาทักษะด้านภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หรือ
- วิถีวัฒนธรรมไทย
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
- ความคิดรวบยอดสำคัญของการบริหารจัดการกิจกรรมการพัฒนานิสิตคือ การบูรณาการการเรียนรู้ ๓ มิติ เข้าด้วยกัน เพื่อบ่มเพาะจิตอาสา จิตสาธารณะในตนของนิสิต
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
- บัณฑิตที่พึงประสงค์จะต้องทั้ง เก่ง ดี และมีสุข เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายนี้ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แบ่งพิจารณาเป้าประสงค์ของการอบรมพัฒนาคนออกเป็น ๒ ด้าน คือ Hard Skills และ Soft Skills
- Hard Skills หมายถึง ความเก่งงาน คือความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับงาน หรือสมรรถนะในการทำงาน (Work Relaed Competency) (อ้างอิงจากที่นี่) มีทักษะเกี่ยวกับสายงาน การสร้างทักษะนี้รับผิดชอบโดยสาขาวิชาหรือหลักสูตร
- Soft Skills หมายถึง ความเก่งคน หรือสมรรถนะด้านเก่งคน (People Management Competency) (อ้างอิงจากที่นี่) บางท่านเรียกทักษะทางสังคัม (Socail Skills) (ที่นี่) บางท่านเรียกทักษะทางอ้อม (ที่นี่) คือ ความรู้ความชำนาญด้านด้านคน รวมถึงตนเองด้วย เริ่มตั่งแต่การควบคุมอารมณ์ตนเอง การสื่อสารกับคนอื่น การบริหารจัดการ การบริการ การพูด การจูงใจ การเจรจา ฯลฯ ทักษะด้านนี้จะช่วยให้การทำงานดีขึ้น
- ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นผลลัพธ์สำคัญที่ต้องมี ในส่วนของกิจกรรมพัฒนานิสิตจะมุ่งไปยังส่วน Soft Skills
- Soft Skills ที่เน้นในศตวรรษที่ ๒๑ ได้แก่
- การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
- การสื่อสาร (Communication)
- กล้าคิด (Brave to Think)
- กล้าทำ (Brave to Take Action)
- กล้ารับผิดชอบ (Brave to Take Responsibility)
- ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving Skills)
- การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Callaborative Learning)
- การเป็นผู้นำ (Leadership)
- การเป็นผู้ตาม (Fellowship)
- ในการประเมิน Soft Skills กรรมการสัมภาษณ์จะถามหากิจกรรมพัฒนานิสิต เคยทำกิจกรรมอะไรบ้าง เคยทำโครงการอะไร? มีปัญหาอย่างไร? คนที่ไม่เคยทำจะตอบไม่ได้
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
- แนวทางหรือเครื่องมือที่จะพัฒนานิสิตของกองกิจการนิสิต มมส. มีทั้งหมด ๙ ประการ ได้แก่
- ใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (Community-based Learing; CBL)
- เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning; PL)
- เรียนรู้คู่บริการ (Service-based Learning; SBL)
- การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (The 21st Century Learning)
- ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center Learning)
- การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
- บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)
- เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (Learning by doing)
- การเรียนรู้บนฐานโครงงาน (Project-based Learning)
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
- แนวคิดเชื่อมโยงกับชุมชนและสังคมของกองกิจการนิสิต ใช้วาทะกรรม "ฮีต ๑๒ คองกิจกรรม" เป็นการบูรณาการกิจกรรมของกองกิจการนิสิตกับวัฒนธรรมประเพณี มาจากวัฒนธรรมประเพณีของชาวอีสานคือ "ฮีต ๑๒ คอง ๑๔" นั่นเอง
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
- นิสิตได้เรียนรู้วิถีธรรมชุมชน ทบทวนรากเหง้าของตนเอง ฝึกทักษะการแก้ปัญหาจากปัญหาจริงในชุมชน โดยการลงมือทำร่วมกัน
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
สไลด์ต่อไปนี้บอกความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำกิจกรรมนิสิต
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
Cr. กองกิจการนิสิต มมส.
ภาวะผู้นำไม่มีทฤษฎีตายตัว ไม่สามารถพัฒนาได้ด้วยการจดจำหรือเพียงนำมาคิดต่อเท่านั้น การพัฒนาภาวะผู้นำในตนเอง ต้องฝึกฝนตนเองผ่านการกระทำและกิจกรรมต่าง ๆ นั่นคือ นิสิตที่มาลงทะเบียนเรียนรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวผู้นำ จำเป็นต้องเข้าร่วมหรือเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมนิสิตทุกคน
นั่นคือ วิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ เป็นกลไกในการฝึกผู้นำด้วยการให้ทำกิจกรรมพัฒนานิสิต สิ่งที่เรากำลังทำก็คือ กิจกรรมในหลักสูตรนั่นเองครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น