จับประเด็น : มหาวิทยาลัย ๔.๐ โดยผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษา รศ.นพ.โศภณ นภาธร

วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๐ ผมไปเข้าร่วมอบรมที่จังหวัดขอนแก่น ในงาน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนครั้งที่ ๓ (The third Scholarship of Teaching and Learning)  เรื่อง "การเปลี่ยนแปลงสู่มหาวิทยาลัย ๔.๐" หรือ "Transformation towards University 4.0"  (ผู้สนใจคลิกที่เว็บไซต์ของโครงการได้ที่นี่  ผู้จัดงานได้แชร์ ppt ที่ใช้ทั้งหมดไว้แล้ว และบอกว่าจะทำการตัดต่อวิดีโอบรรยายตามมา)

ผมประทับใจการบรรยายพิเศษของ รองศาสตราจารย์ นพ. โศภณ  นภาธร (คลิกดูประวัติท่านที่นี่) ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการมาก จึงนำมาถอดความรู้ไว้อีกครั้ง หวังให้เป็นประโยชน์กับผู้อ่าน โดยเฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งควรต้องได้รับทราบทั่วกัน

ท่านใดไม่ชอบอ่าน ดูคลิปท่านบรรยายได้เลยครับ  และสามารถคลิกดาวน์โหลดสไลด์ที่บรรยายได้ที่นี่ครับ



  • มหาวิทยาลัย ๔.๐ เป็นแนวคิดของการเปลี่ยนแปลง ที่คิดขึ้นให้สอดคล้องกับ ประเทศไทย ๔.๐ ซึ่งประเทศไทย ๔.๐ เอง เราก็คิดขึ้นให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีที่มาจาก World Economic Forum  โดย Professor Klaus Schwab บอกว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมมี 4 ยุค ได้แก่  (อ้างอิงที่นี่)
    • ยุค ๑.๐ คือ ยุคการเกษตร 
    • ยุค ๒.๐ คือ ยุคอุตสาหกรรมเบา  เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๑ เมื่อคนคิดค้นเครื่องจักรไอน้ำ และเครื่องกลโรงงาน 
    • ยุค ๓.๐ คือ ยุคอุตสาหกรรมหนัก เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๒ เมื่อคนคิดค้นไฟฟ้าและพัฒนาเครื่องจักรมาแทนแรงงาน 
    • ยุค ๔.๐ คือ ยุคแห่งนวัตกรรม เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๓ เมื่อคนคิดค้นคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตสารสนเทศ 
    • ขณะนี้กำลังจะเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้น จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของโลกไซเบอร์  
  • การศึกษาไทย ๔.๐  การศึกษาก็มีการแบ่งออกเป็น ๔ ยุค สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน
    • การศึกษา ๑.๐ คือ ครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ 
    • การศึกษา ๒.๐ คือ นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้เองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ 
    • การศึกษา ๓.๐ คือ ผู้เรียนสร้างความรู้เองได้  ต้องมีงานวิจัย
    • การศึกษา ๔.๐ คือ ผู้เรียนสร้างนวัตกรรมจากความรู้ได้ 
  • การศึกษาไทยในปัจจุบัน ระดับการศึกษาพื้นฐานน่าจะอยู่ที่ ๑.๐ หรือ ๒.๐ ในมหาวิทยาลัยอาจจะไปถึง ๓.๐ และ ๔.๐ แต่ก็ยังมีน้อยมาก 
  • ขณะนี้ประเทศไทย ยังไม่มีคนที่มีคุณภาพพอที่จะสร้างประเทศไทย ๔.๐  เราต้องมีการศึกษาไทย ๔.๐ ถึงจะไปถึงฝันนั้น ต่อไปนี้คือสภาพของการศึกษาไทย 
    • บัณฑิตจบปริญญาตรีทั้งประเทศ ไม่มีงานทำ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ มีงานทำเพียง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ 
    • จำนวนบัณฑิตหลายสาขาเกิน แต่หลายสาขาขาด  การผลิตบัณฑิตไม่ตรงกับความต้องการของตลาด  ตำแหน่งงานยังว่างอยู่เยอะ แต่ไม่มีคนที่เหมาะสมกำตำแหน่งงานนั้น 
    • ทักษะของบัณฑิตไม่เพียงพอ  ผู้ใช้บัณฑิตสะท้อนว่า บัณฑิตที่เราเข้ามา ต้องนำไปพัฒนาใหม่ก่อนจะสามารถทำงานได้ 
    • บัณฑิตที่จบออกมาขณะนี้ ๗๘ คน อยู่ในสายสังคมศาสตร์ อยู่ในสายวิทยาศาสตร์เพียง ๒๒ คน หรือคร่าว ๆ คือ ๗:๓  แต่ความต้องการคนเพื่อก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 นั้นกลับด้าน ... ถ้าเราเดินแบบนี้ ไม่มีทางไปถึงแน่
    • ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลกำลังเซ็นต์สัญญาระบบราง (กำลังทำรถไฟฟ้า) แต่ปรากฎว่า มีเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้น ยังขาดอีกเยอะ
    • ความสามารถในการแข่งขันลดลง  โดยเฉพาะการแข่งขันด้านการศึกษา ที่ตอนนี้ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ ๕๒  ลดลงจาก ๔๘  จากทั้งหมด ๕๖ ประเทศ
    • มหาวิทยาลัยบางแห่งขาดธรรมาภิบาล 
  • โลกเปลี่ยแปลงเร็วมาก จนเราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้เลย 
    • วัยเรียนลดลงมาก แต่ก่อนล้านกว่าคน ตอนนี้้เหลือเดียงเจ็ดแสนกว่าคน 
    • เด็กจะหายไปจากระบบการศึกษาหลายแสนคน 
    • เรามีมหาวิทยาลัยอยู่กว่า ๒๐๐ แห่ง  อยู่กับ สกอ. ๑๕๗ แห่ง  ต่อไปนักศึกษาจะน้อยลงมาก
    • ขณะนี้บางหลักสูตรมีคนเรียนน้อยกว่า ๑๐ คน 
    • มหาวิทยาลัยเตรียมลดขนาด จะมียุบหรือควบรวมกัน ต้องมาแน่ 
    • สิ่งสำคัญไม่ใช่ความรู้แล้ว แต่เป็นทักษะสำคัญกว่า 
    • มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง 
    • สิ่งสำคัญไม่ใช่โครงสร้างของมหาวิทยาลัย แต่สำคัญตรงที่มหาวิทยาลัยจะผลิตนักศึกษาอย่างไรต่างหาก
    • สิ่งสำคัญคือ ต้องคิดเป็น ตั้งคำถามเป็น ต้องปรับวิธีการเรียนการสอน 
    • ความคิดสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นในที่ ๆ มีความหลากหลาย กับที่ ๆ มีเสรีภาพทางการคิดและการแสดงออก
  • นวัตกรรมเกิดจาก ความคิดสร้างสรรค์ + ความรู้ (Innovation = Creativity + Knowledge) 
  • นักศึกษาต้องสามารถแก้ปัญหาซับซ้อนได้ และเรียนรู้ตลอดเวลา ต่อไปน่าจะเรียนที่ไหนก็เรียนได้ 
  • มหาวิทยาลัยจะต้องเลือกว่า เก่งเรื่องอะไร  หมดยุคที่มหาวิทยาลัยจะเก่งทุกอย่าง 
  • มหาวิทยาลัยต้องกลับมาทบทวนยุทธศาสตร์ใหม่  
  • บางสาขาเช่นกฎหมาย มีการผลิตออกมาจำนวนมาก ประเทศเราไม่ได้ต้องการนักกฎหมายมากขนาดนั้น 
  • ทักษะสำคัญกว่าใบปริญญาแล้ว 
  • อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องมาสร้างงานวิจัย ไม่งั้นจะตกงาน 
  • มหาวิทยาลัยต้องเอาโจทย์ของประเทศมาคิด
  • มหาวิทยาลัยต้องทำงานเป็นเครือข่าย ทำงานร่วมกัน ตอนนี้ก็พอมีอยู่บ้าง แต่ยังไม่ค่อยเข้มแข็ง
  • งานวิจัยพื้นฐานก็ควรจะทำ แต่ต้องสร้างงานวิจัยที่สามารถเอาไปใช้ได้ 
  • งานวิจัยที่ทำมาทั้งหมดของประเทศไทย เอาไปใช้งานได้ไม่ถึง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออยู่บนหิ้ง
  • มหาวิทยาลัยต้องสร้างหลักสูตรที่เป็น หลักสูตรบูรณาการศาสตร์ให้มากขึ้น 
  • ต้องพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย และยืดหยุ่น เปลี่ยแปลงได้รวดเร็ว เปิดเร็ว ปิดได้เร็ว 
  • อาจารย์ต้องเปลี่ยนบทบาทตนเอง 
    • เลิกการประเมินผลแบบเดิมที่สอบ ๆ เด็กไปติวตอนสอบ ไม่ได้อะไร 
    • เปลี่ยนมาเป็น Learner 
    • ทำหน้าที่อำนวยการเรียนรู้ Facilitator 
  • มหาวิทยาลัยที่อยากเห็น
    • ควรจะให้การศึกษาทุกช่วงอายุ คิดไปถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ 
    • สนใจที่สุดคือ บัณฑิตมีงานทำกี่เปอร์เซ็นต์กันแน่ และผู้ใช้บัณฑิตคิดอย่างไร
    • การประกันคุณภาพจะเปลี่ยนไป ไม่ใช่ประเมินกระดาษแบบที่เป็นกันอยู่  เปลี่ยนมาเป็นการประเมินเพื่อพัฒนา  ผู้ตรวจประเมินจะต้องเก่งมาก ๆ
    • มหาวิทยาลัยไม่ต้องเหมือนกัน เน้นจุดเด่น จุดเน้นของตนเอง แต่ละกลุ่มต้องมีศักดิ์ศรีของตนเอง
  • วิธีการพิจาณางบประมาณของมหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนไป  ต้องอิงถึงผลลัพธ์ของการทำงานของมหาวิทยาลัย 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"