ครูเพื่อศิษย์อีสานดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๐
ในวันคล้ายวันสถาปนาสำนักศึกษาทั่วไป CADL สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะมอบโล่รางวัล "ครูเพื่อศิษย์อีสานดีเด่น" เป็นประจำทุกปี (จริง ๆ ต้องวงเล็บด้วยว่า (มหาสารคาม) เพราะที่ผ่านมายังไม่สามารถจะขยายกระจายไปพื้นที่จังหวัดอื่นได้) ปีนี้เรามอบรางวัลนี้แด่ครูเพื่อศิษย์อีสานสองท่านได้แก่ คุณครูจิตลัดดา ภวภูตานนท์ และ คุณครูจันทร์ เทียงดาห์ ขอบันทึกไว้เชิญชูเกียรติคุณของท่านทั้งสองสำหรับคุณความดีที่ท่านได้ทำแล้วเพื่อศิษย์ตลอดมา
คุณครูจิตลัดดา ภวภูตานนท์ ประจำอยู่ที่โรงเรียนบ้านเก่าน้อยหนองเส็งหินลาด ต.แวงน่าง อ.เมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นครูเพื่อศิษย์ที่สอนคนสอนชีวิตอย่างแท้จริง รูปแบบการสอนอย่างหนึ่งของท่านที่สมควรได้รับการขยายผลไปในพื้นที่ คือ "การสอนแบบเน้นนักเรียนรายบุคคลเป็นศูนย์กลาง" ท่าน ศน.สุรัมภา เพ็ชรกองกุล ให้คำนิยามที่ชัดเจนมากว่า การสอนของครูจิตลัดดา คือ "การสอนด้วยการให้เด็กเผชิญปัญหาด้วยตนเอง" ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้น อ่านประสบการณ์และความสำเร็จที่เราเคยถอดบทเรียนท่านไว้ได้ที่นี่ครับ
คุณครูจันทร์เพ็ญ เทียงดาห์ ประจำอยู่ที่โรงเรียนบ้านหนองคูขาด อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ผลงานเกี่ยวกับ "กระบวนการสอนคิดขั้นสูงด้วยกลอน" ของท่านสามารถสร้างผลลัพธิ์กับศิษย์นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์บทกลอนในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ จนเป็นที่ประจักษ์และยอมรับของ สพฐ. และการนำผลงานนี้ยื่นขอตำแหน่งวิทยะฐานะ ถือเป็นความสำเร็จของการส่งเสริมครูด้วยระบบวิทยะฐานะ อ่านประสบการณ์ที่เราเคยถอดบทเรียนท่านไว้ที่นี่ครับ
ขอบูชาคุณครูเพื่อศิษย์ทั้งสองท่านครับ
คุณครูจิตลัดดา ภวภูตานนท์ ประจำอยู่ที่โรงเรียนบ้านเก่าน้อยหนองเส็งหินลาด ต.แวงน่าง อ.เมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นครูเพื่อศิษย์ที่สอนคนสอนชีวิตอย่างแท้จริง รูปแบบการสอนอย่างหนึ่งของท่านที่สมควรได้รับการขยายผลไปในพื้นที่ คือ "การสอนแบบเน้นนักเรียนรายบุคคลเป็นศูนย์กลาง" ท่าน ศน.สุรัมภา เพ็ชรกองกุล ให้คำนิยามที่ชัดเจนมากว่า การสอนของครูจิตลัดดา คือ "การสอนด้วยการให้เด็กเผชิญปัญหาด้วยตนเอง" ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้น อ่านประสบการณ์และความสำเร็จที่เราเคยถอดบทเรียนท่านไว้ได้ที่นี่ครับ
คุณครูจันทร์เพ็ญ เทียงดาห์ ประจำอยู่ที่โรงเรียนบ้านหนองคูขาด อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ผลงานเกี่ยวกับ "กระบวนการสอนคิดขั้นสูงด้วยกลอน" ของท่านสามารถสร้างผลลัพธิ์กับศิษย์นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์บทกลอนในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ จนเป็นที่ประจักษ์และยอมรับของ สพฐ. และการนำผลงานนี้ยื่นขอตำแหน่งวิทยะฐานะ ถือเป็นความสำเร็จของการส่งเสริมครูด้วยระบบวิทยะฐานะ อ่านประสบการณ์ที่เราเคยถอดบทเรียนท่านไว้ที่นี่ครับ
ขอบูชาคุณครูเพื่อศิษย์ทั้งสองท่านครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น