ครูเพื่อศิษย์อีสาน ดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๙
กราบขออภัยที่ผมเขียนบันทึกนี้ช้าไป ๑ ปี วันที่ ๒๖ ก.ย. ๒๕๕๙ ของปีที่แล้ว CADL สำนักศึกษาทั่วไปได้มอบโล่เชิญชูเกียรติแด่ครูเพื่อศิษย์อีสาน ๕ ท่าน ได้แก่ ๑) คุณครูคเณศ ดวงเพียราช ๒) ครูภาวนาดวงเพียราช และ ๓) ครูสุรียนต์ ฉิมพลี ๔) ครูสุกัญญา มะลิวัลย์ (อ่านที่นี่) และ ๕) ครูจิรนันท์ จันทยุทธ (อ่านที่นี่) ... เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสำนักศึกษาทั่วไป ผมได้แบ่งปันและประกาศคุณความดีท่านทั้งสามแล้วผ่านเฟสบุ๊ค แต่เมื่อระลึกถึงที่ไรก็ให้รู้สึกคาใจทุกที วันนี้ขอนำเรื่องของทั้ง ๕ ท่านมาแบ่งปันบันทึกให้เป็นประโยชน์ต่อไป
ครูคเณศ ดวงเพียรราช โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม (ครูน้อย) กับวิธีสอนให้เกิดความกล้า อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ครับ
คุณครูภาวนา ดวงเพียราช ครูสอนปฐมวัย โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ศรี สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม กับรูปแบบการสอนแบบปลาดาว ที่คุณอาริษา (ก้อย) เคยถอดบทเรียนไว้ดังรูป
เมื่อคิดถึงวิธีครูปุ๊กทีไร เรื่องการสอนเด็กอนุบาลโดยการเฝ้ามองการเติบโตของยุงจะผุดในหัวผมทันที ผมเสนอว่าการสอนแบบนี้ควรบรรจุเข้าไปในหลักสูตรให้ครูทั้งประเทศทำตามแบบนี้ วิธีไม่ยากแต่เด็ก ๆ จะได้เรียนชีวิตและวิทยาศาสตร์จากวิธีแบบนี้
ท่านที่ ๓ คือ ครูกุ้งสุกัญญา มะลิวัลย์ จากโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม สพม.๒๖ มหาสารคาม อ่านรายละเอียดการนำ จิตตปัญญาศึกษามาพัฒนานักเรียนได้ที่นี่ครับ
ท่านที่สี่คือ คุณครูจิรนันท์ จันทรยุทธ ครูโรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม อ่านรายละเอียดแนวปฏิบัติที่ดีของครูเรย์ การสอนวิทยาศาสตร์เคมีด้วยวิธีการอุปนัย (ชื่อเล่นท่านครับ) ได้ที่นี่ครับ
ท่านสุดท้ายคือ ครูรุ่นใหม่ไฟแรง และโดยเฉพาะเป็นครูที่เก่งมาก ๆ คนหนึ่งที่ผมได้มีโอกาสได้รู้จักในชีวิต คุณครูเต้ง ครูสุรียนต์ ฉิมพลี ผมตั้งใจนานเป็นปีแล้วว่า จะต้องทำหนังสือของท่านให้จงได้ แต่ผ่านมาแล้วเกือบ ๒ ปี ผมก็ยังไม่มีความสำเร็จในการทำหนังสือขยายผล BP ของครูเต้ง
BP ของครูเต้ง ขอนำไปแยกไว้ต่างหากนะครับ
ครูคเณศ ดวงเพียรราช โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม (ครูน้อย) กับวิธีสอนให้เกิดความกล้า อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ครับ
คุณครูภาวนา ดวงเพียราช ครูสอนปฐมวัย โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ศรี สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม กับรูปแบบการสอนแบบปลาดาว ที่คุณอาริษา (ก้อย) เคยถอดบทเรียนไว้ดังรูป
เมื่อคิดถึงวิธีครูปุ๊กทีไร เรื่องการสอนเด็กอนุบาลโดยการเฝ้ามองการเติบโตของยุงจะผุดในหัวผมทันที ผมเสนอว่าการสอนแบบนี้ควรบรรจุเข้าไปในหลักสูตรให้ครูทั้งประเทศทำตามแบบนี้ วิธีไม่ยากแต่เด็ก ๆ จะได้เรียนชีวิตและวิทยาศาสตร์จากวิธีแบบนี้
- เอาลูกน้ำมามาเลี้ยงไว้ในภาชนะหรือตู้กระจก
- ชี้ชวนให้เด็ก ๆ สังเกตและวาดรูปลูกน้ำ ฝึกให้สังเกตด้วยการตั้งคำถาม
- เมื่อลูกน้ำหายไป สิ่งที่เพิ่มขึ้นใหม่ ที่เด็กสังเกตได้เองคือยุงที่บินอยู่ใต้พื้นผ้าคลุม
ท่านที่ ๓ คือ ครูกุ้งสุกัญญา มะลิวัลย์ จากโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม สพม.๒๖ มหาสารคาม อ่านรายละเอียดการนำ จิตตปัญญาศึกษามาพัฒนานักเรียนได้ที่นี่ครับ
ท่านที่สี่คือ คุณครูจิรนันท์ จันทรยุทธ ครูโรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม อ่านรายละเอียดแนวปฏิบัติที่ดีของครูเรย์ การสอนวิทยาศาสตร์เคมีด้วยวิธีการอุปนัย (ชื่อเล่นท่านครับ) ได้ที่นี่ครับ
ท่านสุดท้ายคือ ครูรุ่นใหม่ไฟแรง และโดยเฉพาะเป็นครูที่เก่งมาก ๆ คนหนึ่งที่ผมได้มีโอกาสได้รู้จักในชีวิต คุณครูเต้ง ครูสุรียนต์ ฉิมพลี ผมตั้งใจนานเป็นปีแล้วว่า จะต้องทำหนังสือของท่านให้จงได้ แต่ผ่านมาแล้วเกือบ ๒ ปี ผมก็ยังไม่มีความสำเร็จในการทำหนังสือขยายผล BP ของครูเต้ง
BP ของครูเต้ง ขอนำไปแยกไว้ต่างหากนะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น