สรุป "ปฏิรูปการศึกษา ๒๕๖๐ โดย ประเวศ วะสี"

การอ่านเอกสารเผยแพร่ที่ นพ.วิจารณ์ แชร์มาทางบันทึกนี้  ผมเข้าใจว่าครูไม่มีเวลามากนักที่จะอ่านและทำความเข้าใจ จึงวาดเป็นรูปสรุปให้สั้น เพื่อแบ่งปันสิ่งสำคัญนี้ออกไป ท่านเขียนบอก ๓ ประเด็นว่า ๑) อะไรคือรากฐานของวิกฤตการศึกษา ๒) จะต้องปฏิรูปอะไร? และ ๓) จะปฏิรูปอย่างไร  ผมตีความเทียบกับ "ภูเขาไฟในมหาสมุทร" ดังรูป

ผมจับเอาคำในเอกสารที่ท่านเผยแพร่ พยายามตีความคำว่า "วิกฤตการศึกษา" ในความหมายของท่านหมายถึงอะไร ? ได้ความเป็นอักฤษสี่ดำในรูป  และใช้ตัวอักษรสีน้ำเงินสื่อถึงส่วนที่เป็นกลางน้ำของปัญหาวิกฤตด้านการศึกษา และใช้ตัวอักษรสีแดง แสดงรากฐานของวิกฤตการศึกษา




ท่านบอกว่า รากฐานของวิกฤต คือ

๑) การไม่พึ่งตนเองด้านการศึกษา การศึกษาไทยที่เริ่มตั้งแต่สมัย ร.๕ แม้ว่าตอนนั้นจะจำเป็นและเหมาะสม แต่ตอนนี้ต้องปฏิรูป  ท่านอธิบายการศึกษาไทยสมัยนั้นว่า เป็นการต่อท่อความรู้จากยุโรปมาที่ประเทศไทย ผลคือทำให้เราค่อยลืมรากเหง้าภูมิปัญญาของตนเอง

(Cr. เอกสารเผยแพร่ นพ.ประเวศ วะสี คลิกที่นี่

๒) ระบบการศึกษาปัจจุบันเป็นระบบควบคุมซึ่งขัดแย้งกับธรรมชาติของการศึกษา ที่เป็นความงอกงามอย่างหลากหลาย ไม่มีที่สิ้นสุด   ท่านบอกว่า ระบบราชการไทยมีกฎ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ ประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ ฉบับ ควบคุมอย่างหนาแน่น ทำให้ริเริ่มอะไรใหม่ ๆ ได้ยากยิ่ง

๓) โครงสร้างการศึกษาเป็นเหมือนแท่งไซโลที่แข็งเป็นหิน  ระบบราชการและงานที่ตีราคาเงินเดือนตามใบปริญญษ ทำให้คนในมหาวิทยาลัยมีแต่ผู้ต้องการใบปริญญา การศึกษาการเป็นการค้า  ผู้ปกครองยังผูกกับค่านิยม เรียนเป็น "เจ้าคนนายคน" ให้ได้ "นั่งกินนอนกิน" ทำให้ต้องติวเตรียมตัวสอบแข่งขันกันเข้าสู่ลู่ช่องที่น้องนักเรียนเองก็ไม่ถนัดและไม่ชอบ

(Cr. เอกสารเผยแพร่ นพ.ประเวศ วะสี คลิกที่นี่

ปฏิรูปอะไร ? ปฏิรูปอย่างไร ? 

ท่านบอกว่า สิ่งที่ต้องปฏิรูปมี ๖ ประการ และบอกวิธีว่าจะต้องปฏิรูปอย่างไรไว้ ๙ ประการ ดังรูป


ผมอ่านเอกสารนี้แล้ว รู้สึกว่า สิ่งที่ท่านบอกทั้งหมด ชัดในหลักการ ส่วนวิธีการนั้นชัดเจนในระดับโครงสร้างนโยบายเท่านั้น  ซึ่งผมเข้าใจว่า ไม่มีใครสามารถบอกได้ในระดับหน้างานว่าจะให้ทำอย่างไร เพราะนั่นคือเหตุว่า ทำไมเราต้องมี PLC และขับเคลื่อนในพื้นที่ของตนเอง

ผมชอบที่ท่านเสนอหลักการด้วยรูป ๓ ห่วง ดังรูปด้านล่าง

(Cr. เอกสารเผยแพร่ นพ.ประเวศ วะสี คลิกที่นี่

ท่านบอกว่า ให้ทลายแท่งทึงไซโลนั้นเสีย ให้ขยายฐานและการเชื่อมโยงช่องทางการเสริมหนุนจากรากฐานของประเทศ คือ ชุมชนและท้องถิ่น โดยทำอาชีวให้เข้มแข็ง และปฏิรูปการเรียนรู้ให้วิชการเข้มแข็ง โดยให้ยึดฐาน ๓ ด้าน ได้แก่ การเรียนรู้ฐานวัฒนธรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ จิตตปัญญาศึกษา ดังรูปด้านล่าง



สุดท้ายของบันทึกนี้ ผมมีความเห็นว่า รูปแบบการปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาที่ท่านเสนอนี้นั้น "ก็ดี" แต่หากจะมองในเชิงบูรณาการ กับงานที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อน ผมคิดว่า วิธีของท่านนั้น ไหลรวมลงได้ในรอยเท้าช้าง นั่นคือ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (๒ เงื่อนไข ๓ ห่วง และ ๔ มิติ)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"