SEEN อีสาน _๑๐ : "๔ มิติ จะเริ่มตรงไหน" คำถามจากนักเรียนแกนนำ ร.ร.บรบือ
วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ ผมแบ่งเวลาไปช่วยโรงเรียนบรบือ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ตามคำชวนเชิญของรอง ผอ.จำรัส หรรษาวงศ์ เนื่องจากเวลามีเพียง ๑ ชั่วโมงครึ่ง ผมจึงใช้วิธีการประเมินความไม่รู้ เพื่อนำมาสู่การอธิบายให้คลายความสงสัย ... ผม AAR ว่าได้ผลมากครับ จึงนำมาแบ่งปันแลกเปลี่ยน
ประเมินความไม่รู้ด้วยตนเอง
ให้นักเรียนหลับตา ยกมือ ชูกำปั้น แล้วถามคำถามประเมิน ๕ ระดับ ให้ตอบด้วยการชูนิ้ว ถ้าไม่เข้าใจให้ชูกำปั้นไว้แทนศูนย์ เข้าใจบ้างชู ๑ นิ้ว เข้าใจปานกลางชู ๒ นิ้ว เข้าใจดีชู ๓ นิ้ว เข้าใจดีมากชู ๔ นิ้ว และเข้าใจดีเยี่ยมชู ๕ นิ้ว
ใช้คำถามง่าย ๆ ความจำเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจว่านักเรียนทุกคนเข้าใจและให้ความร่วมมือ ผมถามว่า "ใครสามารบอกได้ว่า ๒ เงื่อนไข ๓ ห่วง ๔ มิติ คืออะไรบ้าง ? ผลปรากฎว่านักเรียนยกกัน ๕ นิ้วเกือบทุกคน แสดงว่าเข้าใจกติกา ผมไม่แปลกใจเพราะเป็นนักเรียนแกนนำที่ท่านรองผอ.จำรัส ขับเคลื่อนฯ มาแล้วอย่างต่อเนื่อง
คำถามประเมินความไม่รู้คือ "นักเรียนเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด?" ผลปรากฎว่ามีนิ้วที่หายไป (หักไว้ไม่ได้ชู) อยู่ทุกคน สุดท้ายให้สมัครใจหรือใช้วิธีการเวียนไมไป ให้บอกว่านิ้วที่ไม่ชูนั้นคืออะไร เปลี่ยนความไม่เข้าใจนั้นเป็นคำถาม
คำถามนักเรียนแกนนำที่น่าสนใจ
มีคำถามหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าจะคุ้มค่าถ้าได้นำมาเขียนแลกเปลี่ยนไว้ตรงนี้ นักเรียนถามว่า " ๔ มิติ จะใช้เมื่อใด?" ผมอธิบายให้นักเรียนฟัง ดังนี้ครับ
ส่วนใหญ่การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสื่อต่าง ๆ จะอธิบายกันว่า เมื่อน้อมนำหลัก ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไขไปใช้ใน ๔ มิติแล้ว จะนำไปสู่ความสมดุล มั่งคง ยั่งยืน และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง จึงมักเน้นในขั้นตอนการนำไปใช้ ทำให้หลายคนเข้าใจว่าเมื่อผลิตหรือสร้างสิ่งประดิษฐ์ใด ๆ ขึ้น เมื่อจะต้องนำไปใช้ จะต้องพิจารณาไม่ให้ส่งผลกระทบใด ๆ ใน ๔ มิติ
แต่ควมจริงแล้ว ทรงสอนว่า จะทำอะไรก็ต้องพอเพียง... พูดจาก็พอเพียงทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง... และคำว่า "พอเพียง" นั้น ก็ตีความรวมเอา ๒ เงื่อนไข ๓ ห่วง ๔ มิติ ไว้ด้วยกันแล้ว ดังสไลด์ที่อธิบายโดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ด้านล่าง
ท่านให้อธิบายไว้ชัดเจนยิ่งว่า "ทำไมต้อง ๔ มิติ" ก็เพราะถ้าไม่พิจารณาให้รอบคอบ ๔ มิติแล้วจะไม่บรรลุเป้าหมายสู่ความยั่งยืน สมดุล และพร้อมรับการเปลี่ยแปลงนั่นเอง
ดังนั้น คำถามของผม สำหรับนักเรียนแกนนำคือ ไม่ยึดติดตายตัวแบบนั้นว่าจะต้องพิจารณาถึง ๔ มิติเมื่อใด แต่ต้องนำมาพิจารณาทุกครั้งที่ต้องใช้หลัก "พอเพียง" นั่นคือ ต้องใช้ทุกครั้งที่ต้องตัดสินใจทำอะไร พูดอะไร ปฏิบติอะไรนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น หากจะต้องเริ่มทำกิจกรรมอะไรสักอย่าง ก็ต้องเริ่มเอา ๔ มิติของเรามากางแล้วว่า ควรทำอะไร อย่างไร เช่น เหตุที่โรงเรียนบรบือ กำหนดเอา "มันแกว" (มันแกวบรบืออันมีชื่อ) มาเป็นหัวเรื่องหลักในการทำแผนการสอนแบบบูรณาการ ก็เพราะมันสอนคล้องกับมิติด้าน วัตถุ/เศรษฐกิจและสังคมของโรงเรียน นั่นเอง
ความจริง ผมเคยวาดภาพแสดงคำตอบนี้ไว้นานหลายปีแล้ว
ผิดถูกอย่างไรมาแลกเปลี่ยนกันครับ ... ผมเชื่อว่าผู้อ่านทุกคนกำลังเดินทางตามรอยพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙
ประเมินความไม่รู้ด้วยตนเอง
ให้นักเรียนหลับตา ยกมือ ชูกำปั้น แล้วถามคำถามประเมิน ๕ ระดับ ให้ตอบด้วยการชูนิ้ว ถ้าไม่เข้าใจให้ชูกำปั้นไว้แทนศูนย์ เข้าใจบ้างชู ๑ นิ้ว เข้าใจปานกลางชู ๒ นิ้ว เข้าใจดีชู ๓ นิ้ว เข้าใจดีมากชู ๔ นิ้ว และเข้าใจดีเยี่ยมชู ๕ นิ้ว
ใช้คำถามง่าย ๆ ความจำเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจว่านักเรียนทุกคนเข้าใจและให้ความร่วมมือ ผมถามว่า "ใครสามารบอกได้ว่า ๒ เงื่อนไข ๓ ห่วง ๔ มิติ คืออะไรบ้าง ? ผลปรากฎว่านักเรียนยกกัน ๕ นิ้วเกือบทุกคน แสดงว่าเข้าใจกติกา ผมไม่แปลกใจเพราะเป็นนักเรียนแกนนำที่ท่านรองผอ.จำรัส ขับเคลื่อนฯ มาแล้วอย่างต่อเนื่อง
คำถามประเมินความไม่รู้คือ "นักเรียนเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด?" ผลปรากฎว่ามีนิ้วที่หายไป (หักไว้ไม่ได้ชู) อยู่ทุกคน สุดท้ายให้สมัครใจหรือใช้วิธีการเวียนไมไป ให้บอกว่านิ้วที่ไม่ชูนั้นคืออะไร เปลี่ยนความไม่เข้าใจนั้นเป็นคำถาม
คำถามนักเรียนแกนนำที่น่าสนใจ
มีคำถามหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าจะคุ้มค่าถ้าได้นำมาเขียนแลกเปลี่ยนไว้ตรงนี้ นักเรียนถามว่า " ๔ มิติ จะใช้เมื่อใด?" ผมอธิบายให้นักเรียนฟัง ดังนี้ครับ
ส่วนใหญ่การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสื่อต่าง ๆ จะอธิบายกันว่า เมื่อน้อมนำหลัก ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไขไปใช้ใน ๔ มิติแล้ว จะนำไปสู่ความสมดุล มั่งคง ยั่งยืน และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง จึงมักเน้นในขั้นตอนการนำไปใช้ ทำให้หลายคนเข้าใจว่าเมื่อผลิตหรือสร้างสิ่งประดิษฐ์ใด ๆ ขึ้น เมื่อจะต้องนำไปใช้ จะต้องพิจารณาไม่ให้ส่งผลกระทบใด ๆ ใน ๔ มิติ
แต่ควมจริงแล้ว ทรงสอนว่า จะทำอะไรก็ต้องพอเพียง... พูดจาก็พอเพียงทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง... และคำว่า "พอเพียง" นั้น ก็ตีความรวมเอา ๒ เงื่อนไข ๓ ห่วง ๔ มิติ ไว้ด้วยกันแล้ว ดังสไลด์ที่อธิบายโดย ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ด้านล่าง
ท่านให้อธิบายไว้ชัดเจนยิ่งว่า "ทำไมต้อง ๔ มิติ" ก็เพราะถ้าไม่พิจารณาให้รอบคอบ ๔ มิติแล้วจะไม่บรรลุเป้าหมายสู่ความยั่งยืน สมดุล และพร้อมรับการเปลี่ยแปลงนั่นเอง
ดังนั้น คำถามของผม สำหรับนักเรียนแกนนำคือ ไม่ยึดติดตายตัวแบบนั้นว่าจะต้องพิจารณาถึง ๔ มิติเมื่อใด แต่ต้องนำมาพิจารณาทุกครั้งที่ต้องใช้หลัก "พอเพียง" นั่นคือ ต้องใช้ทุกครั้งที่ต้องตัดสินใจทำอะไร พูดอะไร ปฏิบติอะไรนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น หากจะต้องเริ่มทำกิจกรรมอะไรสักอย่าง ก็ต้องเริ่มเอา ๔ มิติของเรามากางแล้วว่า ควรทำอะไร อย่างไร เช่น เหตุที่โรงเรียนบรบือ กำหนดเอา "มันแกว" (มันแกวบรบืออันมีชื่อ) มาเป็นหัวเรื่องหลักในการทำแผนการสอนแบบบูรณาการ ก็เพราะมันสอนคล้องกับมิติด้าน วัตถุ/เศรษฐกิจและสังคมของโรงเรียน นั่นเอง
ความจริง ผมเคยวาดภาพแสดงคำตอบนี้ไว้นานหลายปีแล้ว
ผิดถูกอย่างไรมาแลกเปลี่ยนกันครับ ... ผมเชื่อว่าผู้อ่านทุกคนกำลังเดินทางตามรอยพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น