สมองส่วนทำหน้าที่บริหารจัดการชีวิต (Executive Function, EF)
ครั้งหนึ่งในชีวิต ผมเคยเจอ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ และเขียนบันทึกไว้ที่นี่ ตอนนี้เพจเฟสของท่านมีผู้ติดตามอยู่เกือบสองแสนคน (คลิกที่นี่) โดยเฉพาะพ่อแม่ที่กำลังเลี้ยงลูก น้อง ๆ ที่ทำงาน เราคุยกันเกี่ยวกับความรู้ที่ท่านเขียนบ่อย ๆ น้องบางคนถึงกับต้องอ่านทุกโพสท์ ๆ ละ หลาย ๆ รอบ ... ขออนุโมทนาบุญกับท่านด้วยครับ ... เหมาะสมยิ่งแล้วครับ ที่ ศ.นพ.วิจารณ์ ยกท่านไว้ในบันทึกคนดี (ในบันทึกคนดีวันละคน ที่นี่)
เราเห็นว่า EF หรือ Executive Function ที่ นพ.ประเสริฐ นำมาสอนเรานั้นสำคัญมาก โดยเฉพาะพ่อแม่และครูระดับปฐมวัยทุกคน ควรนำเอาความรู้เรื่องนี้ไปปรับใช้อย่างจริงจัง อย่างไรก็ดี เมื่อคุยเรื่องนี้ทีไร ก็เกิดแรงบันดาลใจจะเขียนเรื่องนี้ทุกที วันนี้มีพลังพอจึงมาสืบค้นและวาดออกมาเป็นภาพด้านล่าง
รายละเอียดคำอธิบายของแต่ละองค์ประกอบ ผู้รู้ได้แปรและเรียบเรียงไว้มากมาย เช่น ศ.นพ.วิจารณ์ (ที่นี่) หรือบทความจากภาคเอกชนที่ช่วงหลังหันมาสนใจส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้มากขึ้น (ที่นี่)
ผมนำเอาองค์ประกอบทั้ง ๙ ด้านของ EF มาแบ่งเป็นหมวดหมู่ไว้ในฐานการเรียนรู้ทั้ง ๓ ฐาน และแปลเองว่า Executive Function คือการทำงานของสมองมนุษย์ (เป็นความสามารถเฉพาะของมนุษย์) ส่วนที่ทำหน้าที่บริหารจัดการสู่การมีชีวิตที่ดีขึ้นเมื่อเติบใหญ่ ผลงานวิจัยต่างประเทศบอกว่า ทักษะ EF นี้จเติบโตในช่วง ๓-๖ ปี (ดูกราฟที่นี่) และบอกวิธีการพัฒนา EF ต่าง ๆ เป็นแนวทางไว้มากมาย เช่น ที่นี่และที่นี่
ผมมีความเห็นว่า การนำ EF มาใช้ในการพัฒนาเด็ก เป็นความพยายามที่ดี แต่ตามหลัก "ทฤษฎีสั่งสม" ในวิถีพุทธ (ผมเคยเสนอไว้ที่นี่) คนเรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน แบ่งได้เป็นกรรมเก่าและกรรมใหม่ ส่วนกรรมเก่านั้นยากยิ่งที่วิทยาศาสตร์จะเข้าถึง ทั้งหมดที่เราพูดถึงกันขณะนี้มีเพียงส่วนกรรมใหม่ ที่ทางหลักพุทธ จิตใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ผลของใจส่งไปกำหนดการทำงานของสมอง ซึ่งสวนทางกับความเข้าใจของนักการศึกษาตะวันตก ที่สอนว่า การทำงานของสมองกำหนดอนาคตของใจ ...
ลูกสาวผมสองคน ได้รับความรักจากพ่อ ตา ยาย ลุง ป้า เลี้ยงดูเหมือนกัน แต่นิสัยใจคอต่างกันคนละขั้ว ผมตีความว่านี่คือผลของกรรมเก่า สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ตอนนี้คือ อบรมบ่มนิสัยของเขาให้ดีที่สุดตามหลักคิดทฤษฎีสั่งสม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น