รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๓๐๐๒ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ _ ๐๑ แนวทางการปรับปรุงเอกสารประกอบการสอน
วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๐ สำนักศึกษาทั่วไปร่วมกับ ผศ.ดร.อาจินต์ ไพรีรณ อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ๐๐๓๓๐๐๒ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ จัดประชุมอาจารย์ผู้สอน เพื่อรับฟังคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิหลัก ศาสตราจารย์ปรีชา ประเทพา และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน สำหรับปีการศึกษาที่ ๑/๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ผมเป็นตัวแทนสำนักศึกษาทั่วไป ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้การประชุมแลกเปลี่ยนฯ เป็นไปอย่างสะดวก เช่นเดียวกับรายวิชา ๐๐๓๓๐๐๓ (อ่านที่นี่) ผมมีความรู้สึกว่าตนเองได้เรียนรู้มากขึ้น เกิดไอเดียใหม่ในหัวเป็นระยะ ... ผมสังเคราะห์แนวทางการเขียนเอกสารประกอบการสอนไว้ในผังด้านล่างนี้
ขออธิบายพอสังเขป ดังนี้ครับ
ผมเป็นตัวแทนสำนักศึกษาทั่วไป ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้การประชุมแลกเปลี่ยนฯ เป็นไปอย่างสะดวก เช่นเดียวกับรายวิชา ๐๐๓๓๐๐๓ (อ่านที่นี่) ผมมีความรู้สึกว่าตนเองได้เรียนรู้มากขึ้น เกิดไอเดียใหม่ในหัวเป็นระยะ ... ผมสังเคราะห์แนวทางการเขียนเอกสารประกอบการสอนไว้ในผังด้านล่างนี้
ขออธิบายพอสังเขป ดังนี้ครับ
- บทที่ ๑ ให้เขียนให้เห็นที่มาและความสำคัญของการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ่านแล้วได้ความคิดรวบยอดจากวิทยาศาสตร์ไปสู่เทคโนโลยี โดยเน้นที่วิธีการหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โปรยให้เห็นความทันสมัยและนวัตกรรม (ใหม่) ในยุคโลกาภิวัตน์ และเห็นอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์ เห็นภาพรวมของทุกบทในเอกสาร
- เน้นวิธีการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เกิดการพัฒนา วิวัฒนา หรือปฏิวัติ จากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่ง วิทยาศาสตร์คืออะไร เทคโนโลยีคืออะไร จากวิทยาศาสตร์มาสู่เทคโนโลยีได้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับมนุษย์อย่างไร เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในยุคโลกาภิวัตน์
- บทที่ ๒ เป็นต้นไป อาจเลือกเอากรณีตัวอย่างหรือกรณีศึกษา โดยเน้นให้เห็นประสบการณ์ของมนุษย์ในการแก้ปัญหาจนเกิดปัญญารู้ข้อเท็จจริง (Fact) มีองค์ความรู้ (Knowledge) เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ และสำคัญคือให้ผู้เรียนได้แนวคิดและแรงบันดาลใจในการนำวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ศ.ปรีชา ท่านบอกว่า วิชานี้จะการพัฒนานิสิตด้านทักษะการคิดต่าง ได้แก่ คิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) คิดวิเคราะห์ (Analysis Thinking) สังเคราะห์สร้างสรรค์ (Synthesis, Creative Thinking) และทักษะการแก้ปัญหา สามารถนำเอาวิธีการหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ได้
ผมเข้าใจว่า รายวิชานี้ควรเน้นที่ "กระบวนการ" มากกว่า "เนื้อหา" เพราะความรู้หรือเนื้อหามีมหาศาล ไม่มีทางสอนได้หมด นิสิตควรจะได้ฝึกฝนการนำเอาวิธีการหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการตัดสินใจต่าง ๆ ในชีวิต ดังนั้นเนื้อหาที่อาจารย์เลือกมาเขียนควรต้องน่าสนใจและใกล้ตัวพอสมควร และควรออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีใบงานหรือใบกิจกรรมให้ทำ เพื่อให้ได้ฝึกทักษะการเรียนรู้ของตนตั้งแต่สืบค้นจนถึงนำเสนอ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น