จับประเด็น: Technological Knowledge จากการบรรยายพิเศษ ศาสตรเมธี ดร.สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ
วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ สำนักศึกษาทั่วไป จัดโครงการพัฒนาอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป (หลักสูตร ฉ.) นวัตกรรมการเรียนรู้และเทคนิคการสอนระดับมหาวิทยาลัย ในศตวรรษที่ ๒๑ เรื่อง หลักการออกแบบสื่อการเรียนการสอน และสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์แบบมัลติมิเดีย เราอัดคลิปวีดีโอไว้ ... ผมนำมาจับประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องต่อไปครับ
การสอนเป็น "ระบบ" ไม่ใช่งานย่อย ๆ
การสอนเป็น "ระบบ" ไม่ใช่งานย่อย ๆ
- เราต้องมองการสอนเป็น "ระบบ" ต้องไม่มองเป็นส่วนย่อย ๆ หรือวิธีการตายตัว ต้องมองการสอนเป็น "ภาพรวม" เป็น "ระบบ" โดยเอา วัตถุประสงค์การเรียนรู้เป็นตัวตั้ง (OBE) ... ต้องเอา Learning Outcome (LO) เป็นตัวตั้ง แล้วค่อยมาออกแบบการสอน
- LO ชัด คือการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน วัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดทุกอย่าง เป็นเหมือนเข็มทิศ เป็นตัวกำกับทุกอย่าง ถ้าวัตถุประสงค์ไม่ถูกต้องแก้ให้ถูก แล้วค่อยไปดู Input
- ดู Input คือ มีทรัพยากรอะไรบ้าง ในหลักสูตรของเรามีวิชาอะไรที่เป็นแกน ยกเอาวิชานั้นมาเป็นแกนก่อน และอย่าไปเอา BP หรือตัวอย่างจากใครมาบล็อคความคิดสร้างสรรค์ของเรา เราต้องเป็นคนคิดเอง สร้างเอง แล้วสร้างกระบวนการประเมินวัตถุประสงค์
- วัตถุประสงค์เป็นส่วนหนึ่งของ Input ... จึงต้อง ออกข้อสอบไว้ก่อน ไม่ใช่สอนแล้วค่อยไปออกข้อสอบ
- การเมินด้านการเรียนการสอนต้องไม่ใช่การประเมินแบบให้คุณให้โทษ ต้องเป็นการประเมินเพื่อพัฒนา โดยเฉพาะการประเมินอาจารย์ผู้สอน ต้องไม่ใช่ประเมินเพื่อคัดออก
ข้อจำกัดของการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป
- เนื่องจากมีจำนวนนิสิตต่อกลุ่มเรียนมาก
- ต้องหาวิธีช่วยเขา และให้เขาช่วยตนเอง
- ต้องไม่ใช่การบังคับให้เขาเข้ามา ...ต้องหาวิธีให้เขาอยากเข้ามาเรียน และเรียนด้วยตนเอง
- ทำให้เขาเห็นว่ามันจำเป็น
- เข้ามาเพราะมันถูกจริตของเขา
หลักการออกแบบสื่อ
- "สื่อ" ต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับ "สาร" เสมอ
- ครูต้องมีความสามารถ "message designer" คือต้องเป็นนักออกแบบ ออกแบบสื่อให้วัตถุประสงค์ของการ "สื่อสาร" บรรลุผล
- ตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนโทรศัพท์เข้ามา แต่เราไม่อยากคุย อยากให้ทางปลายสายหยุดคุย จะพูดแบบหนึ่ง แต่ถ้าปลายสายเป็นคนรัก อยากพูดด้วยนาน ๆ จะพูดอีกแบบ ฯลฯ
- อย่าไปเอาแบบอย่างจากที่ไหน อย่างมากให้เอามาเป็นเพียง "เยี่ยงอย่าง" เท่านั้น ถ้าจะไปดู BP ก็ต้องไปดูทั้ง Best Practice และ Bad Practice ด้วย
- "สื่อ" โดยมากจะตอบสนองเป็นส่วน ๆ สื่อที่ใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนเป็นคนละสื่อกับที่ใช้สอนเนื้อหา สื่อที่ใช้สร้างองค์ความรู้ก็คนละอันกัน ฯลฯ โดยแต่ละส่วน (แต่ละสื่อ) จะต้องเหมาะกับบริบท ใช้ถูกที่ถูกเวลาถูกลำดับขั้นของการใช้
- หากเป็นไปได้ สื่อสำหรับนิสิตที่มีพื้นฐานทางวิชาการต่างกัน ควรเป็นสื่อควรละชุดกัน
- ทฤษฎีการสื่อสารแบบ SMCR ของ David Berlo's Model
- Sender or Source ผู้ส่งสารหรือแหล่ง
- Message สาร
- Channel/Media ช่องทาง/สื่อ
- Receiver ผู้รับ
(ที่มา http://59110075.blogspot.com/2017/10/david-berlo-smcr-model.html)
(ที่มา http://thyjey.blogspot.com/2015/01/parallel-communication.html)
- อาจารย์ผู้สอนหรือครูผู้สอนต้องเปรียบเหมือน "นักออกแบบ" ไม่ใช่ "ช่างก่อสร้าง" ต้องไม่ใช่ไปสอนให้เขาทำเครื่องมือ
- การสอน ต้องมี ๓ นักมาร่วมกัน ได้แก่ (สามนักนี้อาจเป็นคนคนเดียวก็ได้)
- นักวิชาการ เจ้าของ "สาร"
- นักเทคโนโลยีการศึกษา
- นักคอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตสื่อสารสนเทศ
- หลักในการออกแบบสถานการณ์การเรียนรู้
- การมีส่วนร่วมของผู้เรียนอย่างจริงจังที่สุด (Active Participation)
- การตั้งคำถาม ... แม้แต่คำถามที่กระตุ้นให้คิดตอบในใจ
- การปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน (Gradual Approximation)
- ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามลำดับขั้น (Gradual)
- ลำดับขั้นนั้นเหมาะกับผู้เรียน (Approximation)
- การตอบสนองกลับทันที (Inmediately Feedback)
- ตอบสนองกลับเร็วเท่าไหร่ ยิ่งมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น
- การทดสอบทุกอย่าง ควรจะได้รับการเฉลย
- ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ (Successful Experience)
- เสริมแรง ด้วยการชื่นชม
- สร้างสัญลักษณ์ของความสำเร็จ
- โมเดล ADDIE
- หลายคนเข้าใจผิดว่า ADDIE คือ "ระบบการสอน" แต่ความจริง ADDIE เป็นกระบวนการออกแบบการสอน มี ๕ ขั้นตอน ได้แก่
- Analysis คือ การวิเคราะ สิ่งต่อไปนี้ก่อนจะสร้างสื่อ
- ความต้องการจริง ๆ
- กำหนดให้แน่ชัดว่า สิ่งที่ขาดหายไป ปัญหา คืออะไร ช่องกว้างแค่ไหน
- ผู้เรียน ผู้รับสาร
- กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างสื่อให้ชัดเจน
- Design คือ ออกแบบ ... ต้องใช้ผลการวิเคราะห์จากขั้นตอน Analysis
- กำหนดแนวทางและกลยุทธ์ในการออกแบบ
- เลือกวิธีการที่เหมาะสมที่สุดจากที่มีอยู่
- พัฒนา storyboards และ สื่อ
- สร้างวิธีการประเมิน
- Development คือ พัฒนา
- สร้างสื่อต้นแบบ
- เอาสื่อไปลองใช้สื่อ (อย่างไม่เป็นรูปแบบก่อน) ...(try out)
- พัฒนาให้ดีที่สุด ... พัฒนาจนแน่ใจว่ามีคุณภาพ ค่อยนำไปใช้
- Implementation คือ การนำไปใช้
- สร้างหลักสูตรหรือรายวิชา
- เตรียมสื่อ
- ประกาศ/รับลงทะเบียน
- เริ่มกระบวนการเรียนรู้ด้วยสื่อ
- Evaluation คือ การประเมิน
- เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินที่ออกแบบไว้ในขั้น Design
- ประเมินคุณภาพหรือสมรรถนะ
- รายงานผล
ที่มา http://thyjey.blogspot.com/2015/01/parallel-communication.html |
- โมเดล ASSURE
- Analyze Learners วิเคราะห์ผู้เรียน
- State Objectives ตั้งวัตถุประสงค์
- Select Media & Materials เลือกสื่อ/ทรัพยากร
- Utilize Maia & Materials นำสื่อ/ทรัพยากรไปใช้
- Require Learner Pariticipation การมีส่วนร่วมของผู้เรียน
- Evaluate & Revise วัดผล และ แก้ไข ปรับปรุง
ที่มา http://100308assignment5.blogspot.com/2017/04/assure-model.html |
ตัวอย่างของความล้มเหลว
- ผู้บริหารคิดแบบหนึ่ง ผู้ปฏิบัติคิดแบบหนึ่ง ผู้บริหารคิดเชิงบวก (เผ้อฝัน) อาจารย์ผู้ปฏิบัติคิดเชิงลบ
- การสร้างสื่อ แบบสแกนหนังสือลงไปออนไลน์ ไม่ใช่การสร้างสื่อที่ดี
- มีอาจารย์ท่านหนึ่งได้รับทุนไป ไปสร้างเกมส์ ในเกมส์นั้นออกแบบให้มีบาทหลวง แล้วรับคำสั่งจากบาทหลวง ให้ไปฆ่าคนมา เก็บคะแนนไปเรื่อย ๆ ตามกำหนด พอมีคะแนนพอก็จะได้ความรู้ ... ... การสร้างเกมส์แบบนี้ไม่ดีเลย ไม่ได้คำนึงถึงคุณธรรม ไม่ได้คำนึงว่าจะชี้นำสังคมเลย
ประทับใจได้เรียนรู้ใหม่
- Mentoring ต้องลงไปคลุก ลงไปลุยกับผู้ปฏิบัติด้วย เห็นปัญหาด้วยกัน ในขณะที่ Coaching อาจเป็นเพียงการวิพากษ์และให้คำแนะนำ
- ผมชอบมากตอนที่ท่านยกตัวอย่างของ Immediatly Feedback ว่า
- ... ลองคิดถึงตอนที่เราห้ามเด็กไม่ให้กินขนมหวาน โดยบอกว่า เดี๋ยวฟันจะผุ แล้วเด็กไม่ฟัง ... ถ้ามีลูกอมขนมหวานที่กินเข้าไป ฟันล่วงผลอยออกมาทันที... รับรองเด็กไม่กิน ....ฮา ใช่เลยครับ
- อีกตอนหนึ่งที่ชอบมาก คือ ตอนที่ยกตัวอย่างการสร้าง "Successful Experience"
- ... มีลูกชายของเพื่อนอาจารย์ท่านหนึ่งของท่าน ได้ดาวมา ๕ ดาว ที่ครูปั๊มให้ลงในสมุด ขณะอยู่ในรถ น้ำหกลงไปโดนดาวเหล่านั้นเรือนเละไป เด็กคนนั้นร้องให้จะเป็นจะตาย พ่อเลยบอกว่า ครูน่ะลูกศิษย์พ่อเอง เดี๋ยวจะบอกให้ปั้มให้สักสิบเลย แต่ลูกก็ไม่เอา.... ฮา
- ท่านสรุปว่า ดาวนั้นคือ สัญลักษณ์ของความสำเร็จ ......
- ที่ชอบที่สุด คือ การเตือนของท่าน เกี่ยวกับ การไปเรียนรู้จากผู้อื่น การทำตามผู้อื่น หรือการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาช่วย .... ต้องไม่ให้มา "Dominate" ตัวเรา
- การประเมินกระบวนการ คือ Formative Assessment เป็นการประเมินเพื่อเอาไปปรับปรุงกระบวนการ
- การเขียนว่า "การประเมินผลระหว่างกระบวนการ" เป็นการเขียนที่ผิด เพราะ ผลเกิดขึ้นภายหลังกระบวนการ และการประเมินผล เป็นการประเมินแบบ Summative Assessment
- การเขียนว่า "การประเมินผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน" เป็นการเขียนที่ผิด เพราะ "ผลสัมฤทธิ์" เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังเรียน
แนวทางการขับเคลื่อน
- ต้องมีคน ๓ คน หรือมีอย่างทักษะนี้ในคน ได้แก่
- นักวิชาการ เจ้าขององค์ความรู้ ก็คืออาจารย์เจ้าของวิชา
- นักเทคโนโลยีการศึกษา จะช่วยด้าน Message design
- นักคอมพิวเตอร์ คือผู้ผลิต "ระบบการเรียนรู้" ออนไลน์
- เมื่อต้องทำงานร่วมกันหลายคน ต้องเขียน Grant Chart ฉบับเดียวกัน ชัดเจน ทำเป็น Professional Learning Community หรือ PLC
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น