mini-UKM-MSU: ครูมืออาชีพ (๕) การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
mini-UKM ให้ความสำคัญกับการวัดผลประเมินผลด้านคุณธรรมจริยธรรมมากๆ โดยตั้งเป็นประเด็น "หัวปลา" ให้ช่วยกันพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ผมอาสาเป็นตัวแทนของ มมส. (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) ไปร่วมเวที Mini-UKM#18 ที่ มรภ.สวนสุนันทา (ผมกลับมาบันทึกการเรียนรู้ไว้ที่นี่) โจทย์ปัญหาอันเป็น "ก้าง กระดูกปลา" ในตอนนั้นคือ คุณธรรมอะไรที่วัดได้ วัดอย่างไร และเครื่องมือวัดคืออะไร การแลกเปลี่ยนในกลุ่มย่อยนี้ที่ Mini-UKM#19 ที่ มมส. ได้ GP ตัวอย่างของ "ความซื่อสัตย์" ... ผม BAR ว่า การแลกเปลี่ยนที่ Mini-UKM#20 ซึ่งกำลังจะจัดที่ ม.นครพนม (ปลายเดือนมกราคม ๒๕๖๒) น่าจะได้ BP ที่สมบูรณ์ มีตัวอย่างของเครื่องมือที่นำไปปรับใช้ได้ทั่วประเทศ
ขอนำผลสรุปจากการ KM ของทั้งสองครั้งมาสรุปไว้ก่อนจะหาทางขับเคลื่อนกันต่อไปครับ
ผลสรุป mini-UKM#18
ผลสรุป mini-UKM#19
ข้อจำกัดของการวัดคุณธรรม
ทฤษฎีด้านการวัดและประเมินผลบอกว่า การวัดทางการศึกษา โดยเฉพาะการวัดสิ่ง "นามธรรม" เช่น คุณธรรม จริยธรรม มีข้อจำกัด ดังนี้
ผมยังมีความเห็นว่า เราไม่สามารถทำสิ่ง "นามธรรม" ให้เป็น "รูปธรรม" ได้จริง เพราะสิ่งที่เป็นนามธรรมก็คือนามธรรม โดยเฉพาะนามธรรมที่เป็น "สัจจะ" "ปรมัตถธรรม" ถ้าพยายามทำให้เป็นรูปธรรม จะกลายเป็น "บัญญัติ" เป็น "สัทธรรมปฏิรูป" ทันที อย่างไรก็ดี สำหรับผู้บริหารยุคนี้ เราคงต้องหาสักวิธีที่จะสามารถวัดระดับคุณธรรมจริยธรรมออกมาให้ได้ เพื่อสื่อสารและสร้างมาตรฐานร่วมกัน(เคยเขียนไว้นานแล้วที่นี่)
ขอนำผลสรุปจากการ KM ของทั้งสองครั้งมาสรุปไว้ก่อนจะหาทางขับเคลื่อนกันต่อไปครับ
ผลสรุป mini-UKM#18
ผลสรุป mini-UKM#19
ข้อจำกัดของการวัดคุณธรรม
ทฤษฎีด้านการวัดและประเมินผลบอกว่า การวัดทางการศึกษา โดยเฉพาะการวัดสิ่ง "นามธรรม" เช่น คุณธรรม จริยธรรม มีข้อจำกัด ดังนี้
- เป็นการวัดทางอ้อม
- ไม่มีถูก-ผิด
- คลาดเคลื่อนได้ง่าย
- วัดได้จากหลากหลายแหล่ง
- มักต้องใช้สถานการณ์จำลอง (ไม่ใช่สถานการณ์จริง)
- ฯลฯ
วิธีการวัดผลประเมินผลด้านคุณธรรมจริยธรรม
จากการศึกษาสืบค้นและสังเคราะห์ทฤษฎีด้านการประเมินผลคุณธรรมจริยธรรม พบว่า ขั้นตอนมาตรฐาน ๔ ขั้นตอนในการประเมิน ได้แก่ นิยาม สร้างเครื่องมือ วัด และตีความสรุป ดังแสดงในภาพครับ
ขั้นที่ ๑ นิยาม
- กำหนดคุณลักษณะของคุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องการวัด ให้ชัดเจนที่สุด เช่น
- ความซื่อสัตย์
- ความรับผิดชอบ
- ความมีวินัย
- ความเมตตา
- ฯลฯ
- นิยามความหมายเชิงพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ของคุณลักษณะทางคุณธรรมจริยธรรมที่กำหนด เช่น
- กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการวัด และกำหนดตัวแปรควบคุมต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อคุณลักษณะฯ ที่ต้องการวัด
ขั้นที่ ๒ สร้างเครื่องมือ
- สร้างสมมติฐานให้ชัดเจน นิยามความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมที่สังเกตได้กับคุณลักษณะทางคุณธรรมจริยธรรมที่กำหนด
- ออกแบบรูปแบบมาตรวัด หรือ เลือกรูปแบบมาตรวัดจากทฤษฎีวัดเจตคติ (Attitude) เช่น
- แ์บบเทอร์สโตน (Thurstone)
- แบบออสกูด (Osgood)
- แบบลิเคิร์ต (Likert)
- แบบรูบริท (Rubric)
- ฯลฯ
- กำหนดบุคคลผู้ให้ข้อมูล แหล่งข้อมูล ซึ่ง อาจเป็น
- บุคคลที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโดยตรง
- บุคคลที่เป็นคนใกล้ชิด มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายเป็นเวลานาน
- บุคคลอื่น ๆ เป็นผู้สังกต
- สร้างเกณฑ์ สร้างข้อคำถาม สถานการณ์จำลอง หรือ ขั้นตอนกระบวนการในการจัดเก็บข้อมูล
- ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา เพื่อหาความเที่ยงตรง หรือ ความตรง (Validity)
- นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนมากพอ (อย่างน้อยควรจะ ๓๐๐ คน) เพื่อคัดเลือกเอาข้อคำถาม สถานการณ์จำลอง หรือขั้นตอนกระบวนการ ที่มีคุณภาพ ต่อไป
ขั้นที่ ๓ นำไปใช้
- นำเครื่องมือวัดไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย อย่างรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ให้ปัจจัยควบคุมต่าง ๆ รบกวนให้เกิดความคลาดเคลื่อน
ขั้นที่ ๔ สังเคราะห์/ตีความ/สรุป
- น้ำข้อมูลมาวิะเคราะห์ และ สังเคราะห์ ให้เป็นสารสนเทศที่มีความหมาย ใช้ประโยชน์ได้ง่าย
- ประเมินผล ตีความเชิงคุณค่าหรือมูลค่า ตามเกณฑ์ที่กำหนด
- สรุป รายงาน และเผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป
ผมยังมีความเห็นว่า เราไม่สามารถทำสิ่ง "นามธรรม" ให้เป็น "รูปธรรม" ได้จริง เพราะสิ่งที่เป็นนามธรรมก็คือนามธรรม โดยเฉพาะนามธรรมที่เป็น "สัจจะ" "ปรมัตถธรรม" ถ้าพยายามทำให้เป็นรูปธรรม จะกลายเป็น "บัญญัติ" เป็น "สัทธรรมปฏิรูป" ทันที อย่างไรก็ดี สำหรับผู้บริหารยุคนี้ เราคงต้องหาสักวิธีที่จะสามารถวัดระดับคุณธรรมจริยธรรมออกมาให้ได้ เพื่อสื่อสารและสร้างมาตรฐานร่วมกัน(เคยเขียนไว้นานแล้วที่นี่)
บันทึกต่อ ๆ ไป ผมจะนำตัวอย่างเครื่องมือวัดแต่ละแบบ และ GP ที่พอจะมีมาแลกเปลี่ยนครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น