mini-UKM-MSU: ครูมืออาชีพ (๔) GP "ครูดีต้อง Feedback เด็กจะได้ดีต้อง Reflection"
ในเวที MSU-mini-UKM วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เชิญอาจารย์สอนดี ที่มี GP การสอนแบบมืออาชีพ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงอาจารย์จำนวน ๙ ท่าน มาแบ่งปันประสบการณ์กัน ... ผมทำหน้าที่กระบวนกร "ถอดบทเรียน" ... ได้เขียนรายงานโมเดล "ครูอาชีพ" (อ่านได้ที่นี่) และ GP ของ ผศ.ดร.โสภา แคนสี (อ่านที่นี่) และ GP ของอาจารย์ชัยพร พงษ์พิสันต์รัตน์ (อ่านที่นี่) ผู้สนใจประโยชน์ศิษย์โปรดติดตามอ่านเถิดครับ
บันทึกนี้ผมนำ "บทเรียน" ปัญญาปฏิบัติที่ดี ของ ผศ.ดร.นริสา วงศ์พนารักษ์ อาจารย์จากคณะพยาบาลศาสตร์ มาเผยแพร่สู่เพื่อนครูอาจารย์ ... เพื่อประกาศให้รู้ทั่วกันและขยายประสบการณ์ความสำเร็จของท่าน
GP ของอาจารย์นริสา น่าจะตั้งชื่อได้ว่า ครูมืออาชีพแบบ "Mind Model" เพราะท่านเน้นที่ฐานใจ ใช้ "ใจ" เป็นฐานของการเรียนการสอน ผมวาดออกมาได้ดังภาพด้านล่างนี้ (เพียงเติมคำว่า "ใจ" ลงใจกลางของโมเดลครูมืออาชีพ)
ท่านเขียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับงานสอนของท่าน แบ่งปันมาทางไลน์ ผมวิเคราะห์แยกไว้ในองค์ประกอบแต่ละด้านของ VACPTK ได้ดังนี้ครับ (ตัวอักษรเอียง คือ ข้อความที่ท่านเขียนครับ)
VA (Values & Attributions)
PK (Pedagogical Knowledge)
TK (Technological Knowledge)
อาจารย์นริสาท่านบอกว่า ...สอนมาสไตล์นี้มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ ...ดีหรือไม่ดีไม่รู้ แต่...สนุกทุกครั้ง ... ประสบการณ์การเป็นครู ๒๐ ปี ของ "คุณครูนริสา" ครู "นริท่าขอนยางครูอินดี้" ... มีคุณค่าและความหมายอย่างยิ่ง .... ขอบูชาคุณครูเพื่อศิษย์ครับ
บันทึกนี้ผมนำ "บทเรียน" ปัญญาปฏิบัติที่ดี ของ ผศ.ดร.นริสา วงศ์พนารักษ์ อาจารย์จากคณะพยาบาลศาสตร์ มาเผยแพร่สู่เพื่อนครูอาจารย์ ... เพื่อประกาศให้รู้ทั่วกันและขยายประสบการณ์ความสำเร็จของท่าน
GP ของอาจารย์นริสา น่าจะตั้งชื่อได้ว่า ครูมืออาชีพแบบ "Mind Model" เพราะท่านเน้นที่ฐานใจ ใช้ "ใจ" เป็นฐานของการเรียนการสอน ผมวาดออกมาได้ดังภาพด้านล่างนี้ (เพียงเติมคำว่า "ใจ" ลงใจกลางของโมเดลครูมืออาชีพ)
ท่านเขียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับงานสอนของท่าน แบ่งปันมาทางไลน์ ผมวิเคราะห์แยกไว้ในองค์ประกอบแต่ละด้านของ VACPTK ได้ดังนี้ครับ (ตัวอักษรเอียง คือ ข้อความที่ท่านเขียนครับ)
VA (Values & Attributions)
- มีจิตใจของครู ...จิตวิญญาณความเป็นครู ... มีความสุขกับการสอน
- ...มันเริ่มจาก "ใจ" รักที่จะสอนนิสิต มันสนุก มันท้าทาย มันมีความหลงไหลและมีพลังเสมอในทุกคลาส แม้ก่อนเข้าคลาสจะเหนื่อยจากอะไรมาก็ตาม ...
- ครูต้อง...ฟังเด็ก... ฟังอย่างลึกซึ้ง
- เป็นต้นแบบที่ดีด้านคุณธรรม ... โดยเฉพาะความซื่อสัตย์ อดทน และเสียสละเพื่อเด็ก
- จะให้คะแนนใคร ดูแล้วดูอีก ดูมันสามรอบ มันสำคัญนี่นะ ...
- ครูต้องมีจริยธรรมความเป็นครู ไม่ลำเอียง ชัดเจน
- เอาใจใส่เด็ก... รู้จักเด็ก รู้ทั้งตัวตนของเด็ก รู้ศักยภาพ และรู้วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
- นริ (อ.นริสา เรียกตนเอง) อยากจะบอกว่า... เริ่มจากเข้าไปใน "ใจ" เขา เขาจะให้ "ใจ" เรา แล้วทำให้เขาเห็น มองเขาให้เป็น...
- ครูต้องเข้าใจความแตกต่างหลากหลายของเด็ก และมีความเชื่อในศักยภาพที่ต่างกันทั้งในการฟัง พูด อ่าน เขียน... เราไม่สามารถตัดสินความเก่งหรือล้มเหลวของใครได้ด้วยมุมมองด้านเดียว
- เข้าใจเด็กตรงหน้า...
- Feedback ... ตรวจงานเด็กอย่างละเอียดและเขียนสะท้อนป้อนกลับจุดที่เด็กจะต้องพัฒนา
- การมอบหมายงาน: ใบงาน รายงาน การบ้าน สรุปการเรียนรู้ในบทเรียน เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ หากให้เด็กทำ ครูต้องตรวจ และ Feedback อย่างสร้างสรรค์ และอีกประการ การ Reflection ที่ดี จะช่วยให้ทั้งครูและเด็กได้เรียนรู้ พัฒนาเติบโตไปด้วยกัน...
- Reflection... ฟัง เรียนรู้จากเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้สะท้อนการเรียนรู้ของตน เพื่อนำไปพัฒนาการสอนของตนเอง
- ...หากครูยังไม่น่าสนใจ เราต้องยอดรับและรับไปปรับปรุงตัวเราต่อไป ๆ ... ไม่หยุดพัฒนาตน...
- สร้างแรงบันดาลใจ ... ทำให้เด็กมีเป้าหมายในการเรียน มีแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย
- เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนที่ดี
- เสริมแรง ... ชื่บชมในความพยายาม ชื่นชมกระบวนการที่ดี ให้กำลังใจในการแก้ปัญหา
- เสริมแรงให้อยากทำ ปากกาแดงที่ตรงจไป ...ให้คอมเมนต์ที่สร้างสรรค์... เด็กจะสัมผัสและรับถึงความตั้งใจ...
- สร้างการเรียนรู้อย่างมีความสุข ...
- เป้าหมาย คือ ได้ความรู้ ผ่อนคลาย มีความสุข เกิดความคิด ได้เรียนรู้ ได้สะท้อนตนเอง นำไปประยุกต์ใช้
- มีความสามารถในการสร้างบรรยากาศที่ดี เอื้อต่อการเรียนรู้
- ปลูกฝังคุณธรรม อุดมการณ์ และบทบาทหน้าที่พลเมืองที่ดีของประเทศ
- สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ในจังหวะที่เหมาะสม
- มีความรู้ แม่นยำ และเชื่อมโยงความรู้นั้นไปสู่เป้าหมายของการเรียนการสอน
- รอบรู้ เท่าทัน ทันสมัย ทันเหตุการณ์ นำไปเป็นประสบการณ์ที่ใช้สอนเชื่อมโยงได้
PK (Pedagogical Knowledge)
- ก่อนสอน: มีการเตรียมสอน วางแผน เตรียมอุปกรณ์ สื่อ พล็อตในใจเสมอว่าจะเน้นจะทำอะไร แม้ว่จะสอนเด็กเรื่องเก่าใหม่ เป็นคนที่ต้องเตรียมสอนเสมอ อ่านทบทวน เช็ค ppt เพิ่ม ตัด แทรก ทุกอย่างต้องเสร็จก่อน และแจกเอกสารให้เด็กไปอ่านก่อนเสมอ...
- ขณะสอน: ไปสอนตรงเวลา เลี่ยงการเมคคลาส ไม่รบกวนวันหยุดหรือนอกเวลาหากไมจำเป็น สอนตรงเวลาเลิกตรงเวลาเป๊ะตามแผนการสอนที่เตรียมการสอนในชั่วโมงแรก ...
- หากเปิดรายวิชาดี ประทับใจ เด็กอย่างเรียน... มันก็เหมือนรักแรกพบแหละค่ะ...เด็กจะชอบและอยากเรียน
- ชั่วโมงต่อ ๆ ไป บรรยากาศการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น จะงอกงามตามเทคนิคการสอนที่ใส่ใจ สังเกต ปรับปรุง ยืดหยุ่น ชัดเจน เข้าใจผู้เรียน
- ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ซักถาม มีสื่อ มีกิจกรรมหลากหลาย ทุกกิจกรรมทุกสื่อสอดคล้องกับเนื้อหาสำคัญ
- เชื่อมโยงความรู้สำคัญ ทำให้การเรียนการสอนไปถึงเป้าหมาย คือ ได้ความรู้ ผ่อนคลาย มีความสุข เกิดความคิด ได้เรียนรู้ ได้สะท้อนตนเอง นำไปประยุกต์ใช้
- ความเข้าใจตรงหน้า... เอาสาระสำคัญเนื้อ ๆ ... และทำให้เขาเรียนจากเรา สนใจในสิ่งที่เรากำลังถ่ายทอดให้ ... เด็กจะอยู่กับเราในชั่วโมงนั้นมากกว่าเลื่อนดู feed ในเฟสหรือทำอย่างอื่น
- การมอบหมายงาน: ใบงาน รายงาน การบ้าน สรุปการเรียนรู้ในบทเรียน เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ หากให้เด็กทำ ครูต้องตรวจ และ Feedback อย่างสร้างสรรค์ และอีกประการ การ Reflection ที่ดี จะช่วยให้ทั้งครูและเด็กได้เรียนรู้ พัฒนาเติบโตไปด้วยกัน...
- หลังสอน: จริง ๆ แล้ว เราต้องทบทวน ประเมินการสอนเสมอ วันนี้สอนดี วันนี้สอนไม่ดี เอาไว้ปรับปรุงนะคะ เรามีข้อสอบที่ต้องออกไว้ก่อนสอน เพื่อจะได้กรอบเนื้อหา
- มีการสั่งงาน เคส รายงาน ต้องมีแนวทางการประเมิน คีย์คำสำคัญ หัวข้อที่จะให้คะแนนที่ชัดเจน และแจ้งเด็กก่อน
- เมื่อเด็กทุ่มเททำงานส่ง เขาก็สมควรได้รับการทุ่มเทตรวจ ได้รับคอมเมนต์ที่ดี และได้ความรู้จากการทำมา
- เสริมแรงให้อยากทำ ปากกาแดงที่ตรวจไป คือความตั้งใจที่เด็กคงเห็นและรับรู้
- ครูต้องมี
- มีเทคนิคการสอนหลากหลาย ใช้หลายวิธี Active Learning, PBL (Problem-based L.) Questioning, ตามธรรมชาติของรายวิชา
TK (Technological Knowledge)
- ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เหมาะสม
- เลือก คัดกรองสื่อ ข้อมูลมากมายที่มี... ให้เด็กคิดได้ คิดเป็นจากสื่อ หรือข้อมูลรอบตัว ครูต้องชี้ว่า ข้อมูลนั้นดีหรือไม่ดี
อาจารย์นริสาท่านบอกว่า ...สอนมาสไตล์นี้มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ ...ดีหรือไม่ดีไม่รู้ แต่...สนุกทุกครั้ง ... ประสบการณ์การเป็นครู ๒๐ ปี ของ "คุณครูนริสา" ครู "นริท่าขอนยางครูอินดี้" ... มีคุณค่าและความหมายอย่างยิ่ง .... ขอบูชาคุณครูเพื่อศิษย์ครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น