mini-UKM-MSU: ครูมืออาชีพ (๓) GP ที่มีพลังจาก "วิญญาณครู"

บันทึกที่แล้ว (อ่านที่นี่) ผมเสนอองค์ประกอบ ๔ ประการของ "ครูมืออาชีพ" ดังรูป และสรุปว่า VA ของอาจารย์ส่งผลต่อ CPTK ของอาจารย์ โดยเฉพาะอาจารย์ที่ไม่ได้เรียนทางการเรียนการสอนมา VA และ CK จะส่งผลต่อ PK ทำให้วิธีหรือสไตล์การสอนของแต่ละท่านจะเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว



บันทึกนี้ ขอนำเสนอ GP ของ อ.ชัยพร พงษ์พิสันติรัตน์ จากภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์  รศ.ดร.ธูปทอง กล่าวว่า อ.ชัยพร เป็นตัวอย่างของครูผู้มี "วิญญาณครู" (จิตวิญญาณความเป็นครู)  "...ได้ Ethic เต็ม ๆ เลยนะ..." ... ลองอ่าน "ปัญญาปฏิบัติ" ที่เป็นกิจวัตรในการสอนของท่านครับ

Values & Attributes

  • มีความสุขกับการสอนเด็ก (รักอาชีพนี้) ... ความทุ่มเทจึง "มาเต็ม" 
  • สัมพันธภาพที่ดีกับเด็กคือกุญแจของการเปิดใจเรียนรู้ของเด็ก 
  • เอาใจใส่เด็ก ...ไม่มีคำว่าไม่ว่างถ้านิสิตมาถาม มาหา  (ยกเว้นประชุมสำคัญ ส่วนรวม เช่น ประชุมภาคฯ) ถ้ากำลังทำงานส่วนตัวอยู่ จะหยุดพักไว้ก่อนทันที ให้เด็กเข้าพบได้ตลอด ทั้งที่ทำงาน ที่บ้าน ทุกที่ บางทีเด็ก ๆ มาสอบถามต่อเนื่องถึง ๑๒ ช.ม. (๙.๐๐ น. - ๒๑.๐๐ น.)
  • เด็กสงสัยอะไรถามได้เสมอ คุยกับนิสิตได้ทุกเรื่อง เรื่องที่เขาสนใจ อยากคุยกับอาจารย์ เช่น เรื่องที่เด็กเห็นว่าอาจารย์ชอบหรือเชี่ยวชาญ (ท่านยกตัวอย่างเรื่องการถ่ายรูป) ฯลฯ 
  • ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ เด็กต้องคิดเอง เขียนเอง ทำเอง ...


Content K.

  • ชัดเจนใสศาสตร์ (วิชาการ) ที่ตนเองสอน  ท่านสอนวิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษา การแนะแนว และ รายวิชาความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ (รายวิชาศึกษาทั่วไป)
  • เรื่องที่สงสัยหรือคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะสอน จะไปสืบค้น เรียนรู้มาก่อนเด็กเสมอ
  • ก่อนจะสั่งงานอะไร จะลองสืบค้นและลองทำด้วยตนเองดูก่อน เพื่อจะได้ไกด์ไลน์กระบวนการให้กับเด็กได้ 


Pedagogical K.

Classroom Management

  • ไปก่อนเวลาสอนประมาณ ๑ ช.ม. เสมอ เพื่อสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก ... เมื่อสัมพันธภาพดี เขาจะเชื่อถือ เชื่อฟัง ศรัทธา 
    • ตรวจสอบสื่อการสอนของตนเอง  เช่น พาวเวอร์พอยท์เปิดได้ไหม คลิปเปิดได้ไหม เสียงออกไหม ภาพชัดไหม 
    • ไปรอนิสิต เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตเข้ามาถามเรื่องเรียน เรื่องงานที่ได้รับมอบหมายก่อนเรียน  
    • ตรวจงานให้นิสิตทันทีเลย ป้อนกลับเขาทันที ชี้แนะทันที 
    • ครูทำงานพร้อมเด็ก สั่งอะไรไป ครูก็ทำด้วย บางอันทำก่อน เพื่อจะได้ให้ไกด์ไลน์สำหรับการเรียนรู้ของเด็ก 
  • เปิดโอกาสให้เด็กตั้งคำถาม โดยเผื่อเวลาสำหรับเรื่องการถาม-ตอบ ๒๐ นาที  
    • ในช่วงต้นภาคเรียน จะกำหนดเงื่อนไขของชั้นเรียนเลยว่า ต้องมีการถามอย่างน้อย ๕ คำถาม เป็นการบังคับให้เด็กมีส่วนร่วม  
    • ใครถาม จะจดชื่อไว้ และพยายามจำชื่อผู้ที่ถามให้ได้
    • ช่วงกลางเทอมเป็นต้นไปจะมีเด็กตั้งคำถามเอง ไม่จำเป็นต้องสร้างเงื่อนไขให้ถามอีก  
  • จัดกิจกรรมโครงการบูรณาการกับรายวิชาอื่น สองวิชาแต่ทำงานครั้งเดียวได้เรียนสองวิชา ... เด็ก ๆ จะรู้สึกคุ้มค่าในการลงพื้นที่ทำกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรมในชุมชน 
  • ใช้กรณีตัวอย่างจริง ๆ เป็นคลิปมาเปิดให้ดู แล้วสอนสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ เช่น 
    • คลิปแท๊กซี่ญุี่ปุ่นที่ไม่ปฏิเสธลูกค้า แต่พาลูกค้าเดินทางจากใต้ไปเหนือของประเทศ 
    • สอนความเป็นมนุษย์ โดยใช้คลิป ของครอบครัวญี่ปุ่นที่มีปัญหาจริง ๆ ครอบครัวหนึ่ง ที่สามีภรรยา ฝ่าฟันอุปสรรคด้วยกันโดยไม่ย่อท้อทิ้งกัน 
  • การสอนด้วยกระบวนการกลุ่ม 
    • แบ่งกลุ่มโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สุ่มเลย  ... ดีที่เด็กจะลุ้นมาก 
    • กำหนดกระบวนการทำงานของกลุ่มให้ก่อน  กำหนดภาระหน้าที่ที่กลุ่มต้องทำ ... ตอนหลังเด็กจะเป็นผู้กำหนดกระบวนการ วางแผนงานเอง  
    • ให้เด็กคุยกันเองว่าใครจะรับผิดชอบ ทำหน้าที่อะไร 
    • ให้กลุ่มเป็นผู้กำหนดหัวเรื่องขึ้นเอง 

Assesments & Evaluations

  • ตรวจงานทุกสัปดาห์ ตรวจเสร็จก่อนเข้าสอน ถ้าไม่ทันตรวจต่อหลังสอน ... รายวิชาศึกษาทั่วไป ที่สอน ๑๗.๐๐ น. บางครั้งอยู่ถึง ๒๐.๐๐ น. 
  • ไม่ต้องปริ๊นมา ให้ส่งเป็นไฟล์ pdf มาเลย ตรวจทางหน้าจอคอมได้เลย 
  • ให้ความสำคัญกับกระบวนการหรือทักษะมากกว่า ส่วนใหญ่ให้ข้อสอบแบบอัตนัยเป็นสำคัญ คำถามย่อย ๆ ๕ คำถามใน ๑ ข้อ ให้คะแนนข้อละ ๑๐ คะแนน
    • ทฤษฎีให้เพียง ๒ คะแนน  .... ถ้าลอกมา ลอกหนังสือมา จะให้เพียง ๒ คะแนน (เต็ม ๑๐ เท่านั้น)  ตรวจสอบโดยการสอบถามกับเด็กโดยตรง ถามว่าไปได้มาอย่างไร ค้นมาอย่างไร เจออะไร ฯลฯ  
    • อธิบายได้ ให้อีก ๒ คะแนน
    • มีการเชื่อมโยง ให้อีก ๒ คะแนน
    • ยกตัวอย่าง  มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจน ๒ คะแนน 
    • ความสมบูรณ์ คือถ้าทุกอย่างลงตัว ให้อีก ๒ คะแนน
  • ตรวจข้อสอบหรือตรวจงานด้วย ปากกา ๗ สี  เห็นผิดตรงไหนจะปรับตรงไหนใช้วิธีการวงล้อมไว้ 
    • ผิดหนัก สีดำ
    • ผิดน้อยลง สีม่วง
    • ผิดรองลงมาอีก สีแดง 
    • ผิดน้อยลงอีก สีส้ม 
    • ไม่ผิดให้สีน้ำเงิน 
    • เขียนดีมากใช้ สีเขียว
  • ตรวจข้อสอบ ๒ รอบ เพื่อความโปร่งใส โดยใช้การสำเนากระดาษคำตอบของเด็กไว้ก่อน แล้วนำคะแนนมาเฉลี่ยกัน  
  • เฉลยข้อสอบกลางภาค ปลายภาค หลังสอบทุกครั้ง โดยอธิบายผลการตรวจให้ดู ๔-๕ ตัวอย่าง
Technological K.
  • ติดต่อโดยใช้เฟสบุ๊ค มีเฟสไทม์กับนิสิตที่ต้องการติดต่อสอบถาม  สร้างกลุ่มเฟสบุ๊คให้นิสิตเข้ากลุ่มทุกรายวิชา 
  • ไม่ต้องปริ๊นงานในกระดาษ สามารถส่งไฟล์เป็น pdf ได้ ครูตรวจโดยใช้ Applications เขียนลงในไฟล์ 
  • ใช้แหล่งความรู้ออนไลน์เป็นทรัยพากรในการเรียนรู้ เด็กทุกคนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตลอดภาคเรียน  จะเรียนอะไร จะให้สืบค้นขยายความรู้เสมอ 

อ.ชัยพร พงษ์พิสันติรัตน์ ได้รับยกย่องเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๙  ... 

ขอคุณความดีที่ท่านได้ทำเพื่อเด็ก จงเป็นปัจจัยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ ครับ จนหายขาดจากโรคร้านทั้งปวง ... ประเทศไทยขาด "ครูมืออาชีพ" แบบนี้ที่สุด 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"