mini-UKM-MSU: ครูมืออาชีพ (๒) V&A ของครูคือสิ่งกำหนด CPTK ของอาจารย์

บันทีกแรก เราสังเคราะห์ว่า "ครูมืออาชีพ" มีองค์ประกอบ ๔ ประการนี้ ได้แก่
  • คุณลักษณะและคุณค่าของครู  (Values & Attributions) (VA)
  • ความรู้ความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ที่ตนสอน (Content Knowledge ) (CK)
  • ความรู้และทักษะด้านการเรียนการสอน (Pedagogical Knowledge) (PK)
  • ความรู้และทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี  (Technological Knowledge) (TK)
และสรุปเป็นภาพคุณลักษณะของครูเชื่อมโยงกับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบ TQF ได้ดังนี้ 


และเสนอแนวทางการพิจารณาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะการเป็นครูที่ดีของตนโดยพิจารณาว่าตนเองอยู่ในพื้นที่ใดใน ๘ พื้นที่นั้น เป้าหมายคือการเป็น "ครูมืออาชีพ" ในพื้นที่หมายเลข ๙ 


นอกจาก ๒ ประเด็นนี้แล้ว ผมพบว่า ลักษณะของ VA ของอาจารย์แต่ละท่านแตกต่างกัน เหมือนกับที่อาจารย์แต่ละท่านมี CK ต่างกัน  ซึ่งน่าจะมีความสัมพันธ์ส่งผลให้ PK และ TK แบบที่แตกต่างกันไปแต่ละปัจเจกบุคคลจริง ๆ เช่น 
  • รศ.ดร.ธูปทอง กว้างสวาสดิ์ จากคณะศึกษาศาสตร์ ท่านมี VA สายเข้มงวด เข้มข้น ต้นแบบ  มี CPTK แบบมืออาชีพเนื่องจากท่านดูแลด้านนี้ทั้งคณะ มหาวิทยาลัย (สำนักศึกษาทั่วไป) และรวมของ สกอ. ด้วย GP ของท่านจึงเป็นตัวอย่างของการจัดการเรียนรู้และประเมินผลตามกรอบ TQF อย่างเข้มงวด 
  • ผศ.ดร.นริสา วงศ์พนารักษ์ จากคณะพยาบาลศาสตร์ ท่านมี VA สายเอาใจใส่ดูแลเด็ก มีเมตตา กรุณาต่อเด็กมาก ๆ  CK ลุ่มลึกเชื่อมโยงเพราะท่านเชี่ยวชาญเรื่องจิตวิทยาและมาจากสายอาชีพด้วย และเป็นคนที่สนใจเรียนรู้ PTK ด้วยตัวท่านเองอย่างต่อเนื่อง   GP ของท่านจึงเน้นไปที่การดูแลเอาใจใส่และทุ่มเทพัฒนาเด็กด้วยการอ่านงานและให้ Positive Feedback เป็นเหมือน Consulting ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
  • อ.ชัยพร พงษ์พิสันต์รัตน์ จากคณะศึกษาศาสตร์ ท่านมี VA มีความสุขกับการอยู่กับเด็ก รู้จัก เข้าใจ และเข้าถึง เด็กได้สามารถคุยกับท่านได้ทุกเรื่อง เปิดเผย เปิดพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กเสมอ และยังเป็นคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจวัยรุ่ย Gen-Z ไม่เพียงนั้น ท่านยังเป็นคนละเอียดและทุ่มเท "การ Feedback ด้วยปากกา ๘ สี" จึงทำให้ท่านใช้ CPK ด้านจิตวิทยาตามสาขาวิชาเอกที่ท่านสอนอยู่ มาพัฒนาเด็กได้เต็มที่ GP จึงเด่นไปที่การ coaching และ training และ consulting เรียกว่า เด่นทุกรูปแบบ...ผมทราบจากการติดตามเฟสบุ๊คท่านว่า นอกจากจะสอนแล้ว  ท่านยังเป็น Coach หมากรุก หมากล้อม ครอสเวิร์ด ปั้นแชมป์ระดับประเทศหลายคนแล้ว  
  • ผศ.ดร.สมบัติ อัปมระกา จากสถาบันวิจัยรุกขเวช เป็นอาจารย์ผู้ใหญ่ มี VA แบบนักวิจัย นักคิด เป็นครูสอนคิด สอนให้รู้จักตนเอง CK ท่านได้จากการทำวิจัย ดังนั้นการเรียนการสอนหรือ PK ของท่าน จึงเป็นกระบวนการอภิปรายและวิเคราะห์ สนทนา ใช้คำถาม แลกเปลี่ยน เรียนรู้ให้เห็นกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย และให้แต่ละกลุ่มสนทนาอภิปรายกัน  
  • อ.กฤตธนา ไวยธิรา จากคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาเกาหลี มี VA แบบใส่ใจดูแลเด็กอย่างจริงจัง ให้ความสำคัญกับจริยทักษะ (Soft Skills) ลงลึกรายละเอียดของพฤติกรรมของเด็กรายบุคคล โดษเฉพาะทักษะทางสังคม (Social Skills) เช่น การทำงานเป็นทีม ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง ฯลฯ  มีกรณีตัวอย่างของเด็กหลายกรณีที่ท่านแลกเปลี่ยน และในขณะเดียวกันก็ดูเหมือนท่านกำลังมองหา BP ที่จะนำไปลองปรับใช้และพัฒนา PTK ของท่านต่อไป 
  • ผศ.ดร.จักรพงษ์ ชายคง จากคณะเทคโนโลยี VA ของท่านเป็นแบบสบาย ๆ เรียบง่าย ไร้รูปแบบ เน้นการทำอะไรด้วยใจ และให้ความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างมีความสุข  ท่านไม่ได้ตั้งชื่อรูปแบบ PK ของตนเอง ไม่มีการเช็คชื่อเข้าเรียน สอนโดยการตั้งคำถาม (Questioning) และอภิปรายแลกเปลี่ยนกัน  โดยเริ่มกำหนดประเด็นเรียนรู้ด้วยการระดมสมอง แล้วให้ทุกคนโหวต ก่อนท่านจะยิงคำถามต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กยกระดับความรู้ของตนเองด้วยการคิด และการสืบค้น วันไปเรื่อย ๆ .... ผมเองก็สอนสไตล์นี้ครับ  มีความสุขมากและสามารถพัฒนาการคิดของเด็กได้ดี 
  • อ.ดร.พิมพ์พร ภูครองเพชร จากคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นอาจารย์ใหม่ไฟแรง ที่มี VA บูรณาการงานสอนกับ CK และประสบการณ์การศึกษาพัฒนาชุมชนของตนเอง (อาจเรียกว่า Community-based Learning)  และเรียนรู้พัฒนา PK โดยการสังเกตและปรับปรุงหน้างานการสอนของตนเองไปเรื่อย ๆ  
  • ผศ.ดร.โสภา แคนสี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มี VA แบบนักคิด ครูสอนคิด ให้ความสำคัญกับการคิดเป็น  เห็นเป้าหมายในชีวิต PK ของท่านเกิดจากแนวคิดเพื่อที่จะแก้ปัญหาของท่านเอง จนกลายเป็น GP ที่เรียกว่า "Changes Model" (อ่านได้ที่นี่
  • ผศ.ดร.สุพรรณ ยั่่งยืน จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ท่านมี VA แบบนักฟัง ทำมาก พูดน้อย เน้นการดูแลเอาใจใส่ในรายละเอียดของงานของเด็ก รายบุคคลเช่นกัน เสียดายที่ท่านไม่ได้แลกเปลี่ยนในกลุ่มมากนัก (จึงจับประเด็นจากท่านได้น้อยครับ) และเป็นเพราะเวลาก็ค่อนข้างล้าพอควร 
  • อ.ดร.สถิติพงศ์ เอื้ออารีมิตร จากคณะวิทยาการสารสนเทศ ท่านเป็นนักเรียนรู้ เชี่ยวชาญและหลงไหลใน KM คำแนะนำของท่านในช่วง BAR ตรงกับแนวทางและไอเดียในการขับเคลื่อนโดยใช้ KM ทำงานที่ผมเข้าใจ  คนที่ใช้ KM ทำงานแบบนี้ PK หรือ การสอนจะไร้รูปแบบ และจะใช้ TK ได้อย่างหลากหลาย ... VA ของท่านคือ KM และการคิด การจับประเด็น การตั้งคำถาม การฟัง การสร้างแรงบันดาลใจ และใช้ KM Tool ในการสอนด้วย  ... (ทั้งหมดที่ว่านี้ เป็นการตีความของผมเอง เพราะท่านให้คนอื่นพูดแลกเปลี่ยนก่อนเป็นหลัก)
บันทึกต่อไป จะนำเสนอ GP ที่เราสังเคราะห์ได้โดยจะตั้งเอาปัญหาของเด็กหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็กเป็นหลัก แล้วสังเคราะห์เอาประสบการณ์ของท่านทั้งหมดนี้มาแลกเปลี่ยน  

บันทึกนี้ขอสรุปเป็นแนวเสนอทฤษฎีต่อจากบันทึกที่ ๑ ดังนี้ครับ 
  • VA คือ สิ่งสำคัญที่สุด  VA จะเป็นตัวกำหนดว่าจะเป็น "ครูมืออาชีพ" หรือไม่  VA ของ "ครูมืออาชีพ" มี ๙ ประการ ได้แก่
    • มีจิตใจเป็นครู .... จิตวิญญาณความเป็นครู ... มีความสุขกับการสอน 
    • เป็นต้นแบบที่ดีด้านคุณธรรม ...  โดยเฉพาะความซื่อสัตย์ อดทน และเสียสละเพื่อเด็ก
    • เอาใจใส่เด็ก... รู้จักเด็ก รู้ทั้งตัวตนของเด็ก รู้ศักยภาพ และรู้วิธีการเรียนรู้ของเด็ก 
    • Feedback ... ตรวจงานเด็กอย่างละเอียดและเขียนสะท้อนป้อนกลับจุดที่เด็กจะต้องพัฒนา 
    • Reflection... ฟัง เรียนรู้จากเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้สะท้อนการเรียนรู้ของตน เพื่อนำไปพัฒนาการสอนของตนเอง 
    • สร้างแรงบันดาลใจ ... ทำให้เด็กมีเป้าหมายในการเรียน มีแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย
    • เสริมแรง ... ชื่บชมในความพยายาม  ชื่นชมกระบวนการที่ดี  ให้กำลังใจในการแก้ปัญหา 
    • สร้างการเรียนรู้อย่างมีความสุข ...  
    • ปลูกฝังคุณธรรม อุดมการณ์ และบทบาทหน้าที่พลเมืองที่ดีของประเทศ 
  • VA ของอาจารย์แต่ละท่านจะมีจุดเด่น จุดเน้นแตกต่างกัน ทำให้ PK และ TK  แตกต่างกันตามบุคลิกหรือความถนัดของอาจารย์  
  • อาจารย์ที่มาจากคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งเรียนศาสตร์การเรียนการสอนโดยตรง จะมี PK เข้มแข็ง มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและการประเมินเป็นไปตาม TQF มากกว่า 
  • อาจารย์ที่ไม่ได้เรียนด้าน PK มา 
    • นอกจาก VA แล้ว CK (สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ) ยังเป็นตัวกำหนดรูปแบบการสอน หรือ PK ของอาจารย์ด้วย 
    • จะพัฒนา PK ของตนขึ้นได้เอง  โดยมี VA เป็นพลังขับเคลื่อน จนได้ PK รูปแบบที่ตนเองไม่ได้ตั้งชื่อ ... ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี PK ทางการศึกษาที่มีอยู่
    • จึงเกิดเป็น VACPTK ที่หลากหลากหลายนับไม่ถ้วน .. ขอยกมาแสดงด้วยภาพ ๙ แบบ ดังภาพ 


สรุปสุดท้าย หากจะพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย มีวิธีเดียวเท่านั้น คือ ทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการสอน กับการสร้างศิษย์  (มากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว) ไม่ใช้ให้ความสำคัญกับการวิจัยเท่านั้น 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"