บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2018

mini-UKM-MSU: ครูมืออาชีพ (๕) การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม

รูปภาพ
mini-UKM ให้ความสำคัญกับการวัดผลประเมินผลด้านคุณธรรมจริยธรรมมากๆ โดยตั้งเป็นประเด็น "หัวปลา" ให้ช่วยกันพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  ผมอาสาเป็นตัวแทนของ มมส. (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) ไปร่วมเวที Mini-UKM#18 ที่ มรภ.สวนสุนันทา (ผมกลับมาบันทึกการเรียนรู้ไว้ ที่นี่ ) โจทย์ปัญหาอันเป็น "ก้าง กระดูกปลา" ในตอนนั้นคือ คุณธรรมอะไรที่วัดได้  วัดอย่างไร และเครื่องมือวัดคืออะไร การแลกเปลี่ยนในกลุ่มย่อยนี้ที่ Mini-UKM#19 ที่ มมส. ได้ GP ตัวอย่างของ "ความซื่อสัตย์" ... ผม BAR ว่า การแลกเปลี่ยนที่ Mini-UKM#20 ซึ่งกำลังจะจัดที่ ม.นครพนม (ปลายเดือนมกราคม ๒๕๖๒) น่าจะได้ BP ที่สมบูรณ์ มีตัวอย่างของเครื่องมือที่นำไปปรับใช้ได้ทั่วประเทศ ขอนำผลสรุปจากการ KM ของทั้งสองครั้งมาสรุปไว้ก่อนจะหาทางขับเคลื่อนกันต่อไปครับ ผลสรุป mini-UKM#18 ผลสรุป mini-UKM#19  ข้อจำกัดของการวัดคุณธรรม ทฤษฎีด้านการวัดและประเมินผลบอกว่า การวัดทางการศึกษา โดยเฉพาะการวัดสิ่ง "นามธรรม" เช่น คุณธรรม จริยธรรม มีข้อจำกัด ดังนี้ เป็นการวัดทางอ้อม ไม่มีถูก-ผิด คลา

mini-UKM-MSU: ครูมืออาชีพ (๔) GP "ครูดีต้อง Feedback เด็กจะได้ดีต้อง Reflection"

รูปภาพ
ในเวที MSU-mini-UKM วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เชิญอาจารย์สอนดี ที่มี GP การสอนแบบมืออาชีพ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงอาจารย์จำนวน ๙ ท่าน มาแบ่งปันประสบการณ์กัน ... ผมทำหน้าที่กระบวนกร "ถอดบทเรียน" ... ได้เขียนรายงานโมเดล "ครูอาชีพ" (อ่านได้ ที่นี่ ) และ GP ของ ผศ.ดร.โสภา แคนสี (อ่าน ที่นี่ ) และ GP ของอาจารย์ชัยพร พงษ์พิสันต์รัตน์ (อ่าน ที่นี่ )  ผู้สนใจประโยชน์ศิษย์โปรดติดตามอ่านเถิดครับ บันทึกนี้ผมนำ "บทเรียน" ปัญญาปฏิบัติที่ดี ของ ผศ.ดร.นริสา วงศ์พนารักษ์ อาจารย์จากคณะพยาบาลศาสตร์ มาเผยแพร่สู่เพื่อนครูอาจารย์ ... เพื่อประกาศให้รู้ทั่วกันและขยายประสบการณ์ความสำเร็จของท่าน GP ของอาจารย์นริสา น่าจะตั้งชื่อได้ว่า ครูมืออาชีพแบบ "Mind Model" เพราะท่านเน้นที่ฐานใจ ใช้ "ใจ" เป็นฐานของการเรียนการสอน  ผมวาดออกมาได้ดังภาพด้านล่างนี้ (เพียงเติมคำว่า "ใจ" ลงใจกลางของโมเดลครูมืออาชีพ) ท่านเขียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับงานสอนของท่าน แบ่งปันมาทางไล

จับประเด็น: Technological Knowledge จากการบรรยายพิเศษ ศาสตรเมธี ดร.สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ

รูปภาพ
วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ สำนักศึกษาทั่วไป จัดโ ครงการพัฒนาอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป (หลักสูตร ฉ.) นวัตกรรมการเรียนรู้และเทคนิคการสอนระดับมหาวิทยาลัย ในศตวรรษที่ ๒๑ เรื่อง หลักการออกแบบสื่อการเรียนการสอน และสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์แบบมัลติมิเดีย เราอัดคลิปวีดีโอไว้ ... ผมนำมาจับประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องต่อไปครับ การสอนเป็น "ระบบ" ไม่ใช่งานย่อย ๆ  เราต้องมองการสอนเป็น "ระบบ"  ต้องไม่มองเป็นส่วนย่อย ๆ หรือวิธีการตายตัว ต้องมองการสอนเป็น "ภาพรวม" เป็น "ระบบ"  โดยเอา วัตถุประสงค์การเรียนรู้เป็นตัวตั้ง (OBE) ... ต้องเอา Learning Outcome (LO) เป็นตัวตั้ง แล้วค่อยมาออกแบบการสอน  LO ชัด คือการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน วัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดทุกอย่าง เป็นเหมือนเข็มทิศ เป็นตัวกำกับทุกอย่าง ถ้าวัตถุประสงค์ไม่ถูกต้องแก้ให้ถูก  แล้วค่อยไปดู Input ดู Input คือ มีทรัพยากรอะไรบ้าง ในหลักสูตรของเรามีวิชาอะไรที่เป็นแกน ยกเอาวิชานั้นมาเป็นแกนก่อน และอย่าไปเอา BP หรือตัวอย่างจากใครมาบล็อคความคิดสร้าง

mini-UKM-MSU: ครูมืออาชีพ (๓) GP ที่มีพลังจาก "วิญญาณครู"

รูปภาพ
บันทึกที่แล้ว (อ่าน ที่นี่ ) ผมเสนอองค์ประกอบ ๔ ประการของ "ครูมืออาชีพ" ดังรูป และสรุปว่า VA ของอาจารย์ส่งผลต่อ CPTK ของอาจารย์ โดยเฉพาะอาจารย์ที่ไม่ได้เรียนทางการเรียนการสอนมา VA และ CK จะส่งผลต่อ PK ทำให้วิธีหรือสไตล์การสอนของแต่ละท่านจะเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว บันทึกนี้ ขอนำเสนอ GP ของ อ.ชัยพร พงษ์พิสันติรัตน์ จากภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์  รศ.ดร.ธูปทอง กล่าวว่า อ.ชัยพร เป็นตัวอย่างของครูผู้มี "วิญญาณครู" (จิตวิญญาณความเป็นครู)  "...ได้ Ethic เต็ม ๆ เลยนะ..." ... ลองอ่าน "ปัญญาปฏิบัติ" ที่เป็นกิจวัตรในการสอนของท่านครับ Values & Attributes มีความสุขกับการสอนเด็ก (รักอาชีพนี้) ... ความทุ่มเทจึง "มาเต็ม"  สัมพันธภาพที่ดีกับเด็กคือกุญแจของการเปิดใจเรียนรู้ของเด็ก  เอาใจใส่เด็ก ...ไม่มีคำว่าไม่ว่างถ้านิสิตมาถาม มาหา  (ยกเว้นประชุมสำคัญ ส่วนรวม เช่น ประชุมภาคฯ) ถ้ากำลังทำงานส่วนตัวอยู่ จะหยุดพักไว้ก่อนทันที ให้เด็กเข้าพบได้ตลอด ทั้งที่ทำงาน ที่บ้าน ทุกที่ บางทีเด็ก ๆ มาสอบถามต่อเนื่องถึง ๑๒ ช.ม. (๙.๐๐

mini-UKM-MSU: ครูมืออาชีพ (๒) V&A ของครูคือสิ่งกำหนด CPTK ของอาจารย์

รูปภาพ
บันทีกแรก เราสังเคราะห์ว่า "ครูมืออาชีพ" มีองค์ประกอบ ๔ ประการนี้ ได้แก่ คุณลักษณะและคุณค่าของครู  (Values & Attributions) (VA) ความรู้ความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ที่ตนสอน (Content Knowledge ) (CK) ความรู้และทักษะด้านการเรียนการสอน (Pedagogical Knowledge) (PK) ความรู้และทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี  (Technological Knowledge) (TK) และสรุปเป็นภาพคุณลักษณะของครูเชื่อมโยงกับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบ TQF ได้ดังนี้  และเสนอแนวทางการพิจารณาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะการเป็นครูที่ดีของตนโดยพิจารณาว่าตนเองอยู่ในพื้นที่ใดใน ๘ พื้นที่นั้น เป้าหมายคือการเป็น "ครูมืออาชีพ" ในพื้นที่หมายเลข ๙  นอกจาก ๒ ประเด็นนี้แล้ว ผมพบว่า ลักษณะของ VA ของอาจารย์แต่ละท่านแตกต่างกัน เหมือนกับที่อาจารย์แต่ละท่านมี CK ต่างกัน  ซึ่งน่าจะมีความสัมพันธ์ส่งผลให้ PK และ TK แบบที่แตกต่างกันไปแต่ละปัจเจกบุคคลจริง ๆ เช่น  รศ.ดร.ธูปทอง กว้างสวาสดิ์ จากคณะศึกษาศาสตร์ ท่านมี VA สายเข้มงวด เข้มข้น ต้นแบบ  มี CPTK แบบมืออาชีพเนื่องจากท่านดูแลด้านนี้ทั้งคณะ มหาวิทยาลัย (สำนักศึกษาทั่วไป) และรวม

mini-UKM #19 @MSU (๖) รูปแบบการสอนที่เรียกได้ว่า "Change"

รูปภาพ
mini-UKM ครั้งที่ ๑๙ กลุ่มย่อย "การสอนแบบมืออาชีพ" ได้คัดเลือก GP (Good Practice) ของอาจารย์หลายท่านเพื่อนำเสนอบนเวทีสรุปก่อนปิดงาน GP ของ ผศ.ดร.โสภา แคนสี ที่ ดร.สุมลวรรณ ชุ่มชื่อ กระบวนกรประจำกลุ่ม ท่านตั้งชื่อให้ว่า "Change" เป็นอีกรูปแบบการสอนหนึ่งที่น่าสนใจและผมตั้งใจว่าจะนำมาบันทึกไว้เป็นตัวอย่างของความพยายามที่สัมฤทธิ์ผลชัดเจน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อย "การสอนแบบมืออาชีพ" ของเวที mini-UKM-MSU ที่ผ่านมา ทีมงานได้เชิญเจ้าของ GP ทั้งหลายในคราวนั้นมาด้วย ผมจึงมีโอกาสได้ฟัง GP "Change" ด้วยตนเอง จึงขอนำมาเล่าบอกต่อไว้ในบันทึกนี้ ผมนำเอาแนวปฏิบัติมาสังเคราะห์เป็นโมเดลภาพ ได้ดังรูปครับ Changes Model วิธีการ "เปลี่ยน" มี ๗ อย่างที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ Condition  ก่อนการเรียนการสอน ให้สร้างเงื่อนไข กติกา สร้างข้อตกลง แล้วเข้มงวดรักษากติกาและปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด เงื่อนไข โดยเฉพาะเงื่อนไขของการประเมินผลเป็นคะแนน เป้าหมายการเรียนรู้คืออะไร จะประเมินอย่างไร เกณฑ์เป็นอย่างไร เช่น  การเข้าเรียน การมาเรียนสาย  ก

mini-UKM #19 @MSU (๕) วิธีจัดการเรียนรู้ให้เด็ก "มีงานทำ"

รูปภาพ
ในงาน mini-UKM ครั้งที่ ๑๙ ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ผมทำหน้าที่เป็น Facilitator กลุ่ม ๑ ใน ๔ กลุ่ม สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ "การสอนแบบมืออาชีพ" ในวันนั้น ผมวาดภาพสรุปไว้ แต่ลืมนำมาแบ่งปันให้ท่านอ่าน โดยเฉพาะสมาชิกที่ได้แลกเปลี่ยนกันในวันนั้น วันนี้ (๘ ธ.ค. ๒๕๖๑) หลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่อง "ครูมืออาชีพ" เมื่อวานนี้ (อ่าน ที่นี่ ) นึกขึ้นได้จึงนำมาแบ่งปันครับ หลักการสอนแบบมืออาชีพ ชาร์ทนี้ได้จากการสังเคราะห์เอาประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ หรือ วิธีสอน (pedagogy) ของอาจารย์ในกลุ่มย่อยทั้งหมด   วิธีการสอนที่เหมาะสมในยุคที่นิสิตระดับปริญญาตรีตกงานหรือได้ทำงานที่ไม่ตรงสาย ในช่วงตนของศตวรรษที่ ๒๑ นี้ อาจแบ่งได้เป็นวงจร ๔ ขั้นตอน ดังรูปด้านบน ต้องปรับหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มากที่สุด ในที่นี้ยังคงเรียกรวม ๆ ว่า "ผู้ใช้บัณฑิต" (ผมไม่ชอบคำนี้เลยจริง ๆ) ... มหาวิทยาลัยต้องไม่ไปติดร่องของการปรับหลักสูตรทุก ๔-๕ ปี ความจริงต้องปรับปรุงทุก ๆ ปีในรายละเอียด แต่ภาพรวมหรือเป้าหมายหลักต้องไม่เปลี่ยน

mini-UKM-MSU: ครูมืออาชีพ (๑)

รูปภาพ
วันนี้ (๗ ธันวาคม ๒๕๖๑) ผมมีโอกาสได้ไปทำหน้าที่กระบวนกร (Facilitator) จับประเด็น ในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคามจำนวน ๙ ท่าน ที่ทางศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา คัดเลือกมาแบบเจาะจงเฉพาะว่าท่านเป็น "ครูมืออาชีพ" ... การคัดเลือกแบบนี้แม่นยำยิ่ง สิ่งที่ผมได้เรียนรู้วันนี้จากแต่ละท่าน เป็น Good Practice หรือ GP ที่มีคุณค่า สมควรต้องขยายผล ขับเคลื่อนสู่อาจารย์ทั้งมหาวิทยลัยต่อไป ... โดยเฉพาะการการเรียนเชิญ รศ.ดร.ธูปทอง กว้างสวาสดิ์  จากคณะศึกษาศาสตร์ ผมสังเกตว่า ท่านช่วยยกระดับความรู้ด้านการสอนขึ้น ทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นไปด้วยความสุข (สนุก เพลิน เวลาเดินเร็ว) ผมใส่หมายเลข (๑) ต่อท้ายชื่อบันทึกไว้ เพื่อแสดงว่า จะเขียนบันทึกนี้มากกว่า ๑ ตอน โดยเริ่มจาก "ปัญญาปฏิบัติ" (Phonesis) ที่สกัดออกมา ตกผลึกออกมาจนเป็นหลักคิดและหลักการในบันทึกนี้ ก่อนจะนำ GP ของแต่ละท่าน ที่ได้ฟังมาแบ่งปันท่านอาจในบันทึกต่อไปครับ ครูมืออาชีพ การสอนแบบมืออาชีพของอาจารย์นั้น จะเกิดขึ้นจากอาจารย์ที่เป็น "ครูมืออาชีพ"  คุณลักษณะของ "ครูมืออาชีพ" ที่เราสั

ข้อเสนอ การนำ KM-inside มาใช้ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รูปภาพ
ต้นเดือนตุลาคม ผมเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัย ไปร่วมประชุมเตรียมการงาน mini-UKM#20 ที่กำลังจะจัดขึ้นที่ ม.นครพนม ในวันที่ ๒๓-๒๕ มกราคม ๒๕๖๑ นี้  ผมสรุปสิ่งที่เรากำหนดแนวทางร่วมกันไว้ ที่นี่  วันนี้ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๑ ทีมขับเคลื่อน KM มหาวิทยาลัย นัดผมและ อ.ชัยสิทธิ์ ไปทำวง KM เล็กๆ โดยมีหัวปลา (BAR) สั้นๆ ให้เข้าใจถึงสถานการณ์และความต้องการที่งาน KM จะช่วยได้ และคุยกันว่ามหาวิทยาลัยควรจะ (หรือน่าจะ) ขับเคลื่อน KM กันอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้ง "ภายใน" และสามารถเชื่อมโยงเครือข่าย "ภายนอก" (mini-UKM) เพื่อให้เกิดพลังเสริมหนุนกันได้ ผมมีโอกาสนำเสนอความเห็น แต่รู้สึกว่ายังนำเสนอไม่ได้ดีนักกับสิ่งที่ตนเองอยากจะเสนอ จึงขอส่งสื่อสาร แนวคิดในการเอา KM มาใช้ช่วยงานของมหาวิทยาลัยในบันทึกนี้   KM inside ขอเสนอให้เน้น "KM inside"  เท่านั้น  (หากอยากรู้ละเอียด คลิกอ่าน ที่นี่  ... โดยเฉพาะน้องอร ต้องอ่านให้จบ) เหตุที่ต้องใช้ KM-inside เท่านั้น เพราะจากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา ๑๒ ปี KM-inside เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จและทำได้จริงในระบบราชการไทย ระบ