บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2017

LLEN มหาสารคาม : คิดการใหญ่ "สภาพัฒนาการศึกษาจังหวัดมหาสารคาม" (๑)

รูปภาพ
วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ช่วยเย็นหลังจากรับประทานอาหารค่ำ ที่ศูนย์การศีกษาลำปาว ผมมีโอกาสได้ร่วมสนทนากับ ทีมแกนนำของ "สภาพัฒนาการศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์" ฟังท่าน ๆ คุยแลกเปลี่ยนนำเสนอกัน ใจผมก็ได้แต่ฝันไปว่า จังหวัดมหาสารคาม น่าจะมี "สภาพัฒนาการศึกษาจังหวัดมหาสารคาม" บ้าง ท่านประธานสภาฯ บอกว่า ระบบและกลไกของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หรือ กศจ. จะมีภาระเกี่ยวกับงานบุคคล โยก ย้าย แต่งตั้ง จัดหาบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัด หากจะแก้ปัญหาทางการศึกษาได้อย่างเท่าทัน น่าจะมียุทธศาสตร์และการพัฒนาที่แหลมคม และแม่นตรงกับปัญหา  ท่านบอกหลายรอบว่า ท่านบอกว่า เมื่อท่านทราบปัญหาด้านการศึกษาของจังหวัดบ้านเกิดแล้ว ยากยิ่งที่จะน่งดูดาย เท่าที่ผมจับประเด็นได้  หากเปรียบเทียบกับระดับประเทศแล้ว สภาการศึกษาฯ จะแตกต่างกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ตรงที่ ไม่ได้มีแค่ฝ่าย "บุ๋น" ทำวิจัยเสนอยุทธศาสตร์ ประเมินผล และสะท้อนผลการบริหารงานของฝ่ายขับเคลื่อนเท่านั้น แต่สภาการศึกษาฯ ยังจะทำหน้าที่เป็นฝ่าย "บู๊" ด้วย โดยร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งในและนอกระบบ ทั้งภาครัฐ มีศึกษานิเ

CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_23 : ค่ายอาสาพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดี (๒) โครงงานบนฐานปัญหาชุมชน

รูปภาพ
บันทึกนี้เขียนสำหรับนักเรียนที่สนใจจะเข้าร่วม "โครงการเด็กดีมีที่เรียน" ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) โดยเฉพาะนักเรียนที่เข้าร่วมค่ายอาสาพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดี (อ่าน ที่นี่ ) โครงการเด็กดีมีที่เรียนก่อเกิดขึ้นด้วยนโยบายระดับประเทศ มีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU, Memorandum of Understanding) ระหว่าง สพฐ. สกอ. และมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ  มีเจตนารมณ์ที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เป็นคนดี มีคุณธรรม และบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียน "นักกิจกรรม" หรือ "ผู้นำ" ได้โควต้าเข้าเรียนในสาขาวิชาหรือคณะที่เหมาะสมกับตนเอง โดยไม่ต้องสอบข้อเขียนแข่งขันกับนักเรียนในลู่วิ่งโรงเรียนติวทั่วไป การรับนิสิตนักศึกษาในโครงการเด็กดีมีที่เรียนของแต่ละมหาวิทยาลัยอาจแตกต่างกันไปตามแต่นโยบาย ส่วนใหญ่จะรับในลักษณะโควต้าพิเศษสำหรับนักเรียนทั่วประเทศ แต่สำหรับ มมส. จะรับเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามเพื่อส่งเสริมให้คนในพื้นที่ได้เรียนในมหาวิทยาลัยในบ้านเกิด และโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคอีสานเพื่อสรรหาและส่งเสริมให้มีนิสิตแกนนำขับเคลื

CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_22 : ค่ายอาสาพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดี (๑)

รูปภาพ
วันที่ ๑๘-๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ สำนักศึกษาทั่วไป จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ในชื่อโครงการค่ายอาสาพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดี ครั้งที่ ๑ มีนักเรียนที่กำลังจะขึ้นชั้น ม.๖ จำนวน ๙๖ คน จาก ๖๘ โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ๕๘ โรงเรียน และโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๐ โรงเรียน หลักคิดและวัตถุประสงค์ของค่ายฯ นี้ อยู่ในร่างคำกล่าวรายงานละคำกล่าวเปิดด้านล่างนี้ครับ   ขอขอบพระคุณ ผอ.ไพทูล พรมมาลา ผู้อำนวยการโรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงาน  รวมถึงคณะครูผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทุกประการในงานค่ายครั้งนี้ คำกล่าวรายงาน โครงการค่ายอาสาพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดี ครั้งที่ ๑ วันอังคารที่ 18-20 พฤษภาคม 2560 ณ ค่ายลูกเสือดงใหญ่ ร.ร.ดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อ.วาปี จ.มหาสารคาม -------------------------------------- โดย   ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก           กระผมในนามของผู้จัดโครงการขอขอบค