ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป. กาฬสินธุ์ เขต 1_27 : ร่วมด้วยช่วย ดร.นุชรัตน์ (๑)

วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ CADL มีโอกาสได้ร่วมวง PLC ในฐานะ "คุณอำนวย" (Facilitator) ที่มี ดร.นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย อาจารย์กชกร ตุณสุวรรณ และอาจารย์สุริยา ผ่องเสียง ศึกษานิเทศก์ สพป.กาฬสินธุ์ เขต ๑ เป็น "คุณเอื้อ"  โดยมี "คุณกิจ" เป็นครูเพื่อศิษย์ที่เราต้องการนำแนวปฏิบัติที่ดี (BP) ของท่านไปขยายสู่เพื่อนครู ได้แก่  ครูเพ็ญศรี ใจกล้า ครูสุกัญญา มะลิวัลย์ เจ้าของโมเดล 3PBL ครูมนัสวรรณ ผาลาโห คุณครูที่สอนด้วยโครงงานข้าวกล้องงอกและโมเดล TEACH ซึ่งผมเคยได้รับจดหมายเรื่องเล่าจากท่าน (ผมนำมาแบ่งปันไว้ที่นี่) และคุณครูกัญญาภัทร์ ศรีสะอาด ซึ่งมี BP ด้านการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลมากมาย นอกจากนี้ ยังมี ศน.ศิวพร นิลสุข  ศน.นุชนาถ ภูแช่มโชติ คุณครู ปราชญ์บรรหาร ศรีชู จากกาฬสินธุ์ ครูศิริลักษณ์ ชมภูคำ ครูขวัญศิษย์จากเครือข่ายครูเจ้าฟ้ามหาจักรี ครูเพ็ญศรีใจ กานุมาร ครูรางวัลโรงเรียน SEAMEO และคุณมานะ ภูพันนา หรือคุณเสือ มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย

ดร.นุชรัตน์ เล่าว่า ผู้สนับสนุนโครงการพัฒนาครูและการเรียนรู้นี้ ไม่ได้มาจากสำนักงานเขตพื้นที่ แต่เป็นการสนับสนุนจากจังหวัดกาฬสินธุ์  นี่หมายถึงความสำเร็จของท่าน ที่สามารถทำให้เกิด LLEN (Local Learning Enrichment Network) ขึ้นในจังหวัดกาฬสินธุ์


เรา BAR (Before Action Review) ว่า วันนี้จะได้หลักสูตรอบรมหรือพัฒนาครูให้สามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้แบบเอาปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) ด้วยกระบวนการฝึกทักษะโดยใช้โมเดล 3PBL และเข้าใจร่วมกันถึงกระบวนการอบรมฯ ในวันที่ ๔-๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ สำหรับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นตัวแทนครูจาก ๒๕ โรงเรียนที่จะถูกกำหนดแนวทางคัดเลือกในการ PLC วันนี้ด้วย

ผมเข้าใจว่า ดร.นุชรัตน์ กับคุณครูเพ็ญศรี ได้ร่วมกันยกร่างหลักสูตรมาก่อนแล้ว และวันนี้น่าจะเป็นการวิพากษ์ลงรายละเอียดในแต่ละกิจกรรม ที่ได้ร่างเป็นตุ๊กกามาแล้ว ดังภาพด้านล่าง (ดาวน์โหลดไฟล์ pdf ได้ที่นี่)

วันเวลา
สาระ
จุดประสงค์

4 พ.ค.2560
08.00-09.00
ลงทะเบียน
ประธานเปิดงาน


4 พ.ค.2560
09.00-10.00
ละลายพฤติกรรม,
ขั้นที่ ๑ เปิดใจ สร้างเสริมคุณค่าของตนเอง
- แนะนำตนเองด้วยท่าประกอบ ที่ไม่มีในโลก
- ดอกไม้ 5 กลีบ
- สัตว์สี่ทิศ
Reflection


4 พ.ค.2560
10.00-11.00
กิจกรรมแปลงร่าง
ความหมายความสำคัญความคิดสร้างสรรค์
กิจกรรมของสองสิ่ง
นำเสนอ
Reflection


11.00-12.00
สร้างแรงบันดาลใจ ชมภาพยนตร์หิ่งห้อย


12.00-13.00
พักรับประทานอาหาร


13.00-13.10
ผ่อนคลาย


      13.10-14.10
ขั้นที่ ๒ ฝึกคิดด้วยประเด็นคำถาม จากภาพยนตร์หิ่งห้อย
1. นักเรียนเข้ากลุ่มอภิปรายคลิปหิ่งห้อยของริซาโกะด้วยวิธีปัญญาสนทนาและการจับประเด็นด้วย Mind mappingภายใต้ประเด็นคำถาม
1. นักเรียนควรตั้งชื่อเรื่องนี้อย่างไร(อภิปราย)
2. วาดภาพสภาพพื้นที่ทั่วไปของชุมชนเป็นอย่างไร
3. ปัญหาในเรื่องคืออะไร เกิดที่ไหน เกิดเมื่อไหร่(อภิปราย)
4. สาเหตุของปัญหาคืออะไร
5. ผลกระทบจากปัญหาคืออะไร
6. สิ่งที่พวกเขาต้องการให้เกิดขึ้นคืออะไร
7. พวกเขาแก้ปัญหานั้นอย่างไร
8. ถ้าเป็นเราจะแก้ปัญหาอย่างไร
2. ส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอ
- เทคนิคการหาต้นตอของปัญหาด้วยแผนภาพต้นไม้


      14.10-14.20
เบรค


       14.20-15’30
ฝึกเขียนโครงงานจากปัญหาของหมู่บ้านหิ่งห้อย


     15.30-16.30
นำเสนอเค้าโครงงานปัญหาของหมู่บ้านหิ่งห้อย
AAR



5 พ.ค.2560
08.30-09.00

เชคอิน


5 พ.ค.2560
09.00-10.00
สร้างแรงบันดาลใจด้วยคลิป “หัวใจของพี่ใหญ่มาก

ขั้นที่ ๓ ขั้นลงพื้นที่สำรวจชุมชน

      - ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล
- ทบทวนปัญหาด้วยแผนที่เดินดิน


10.00-12.00
- วิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนที่เดินดิน
- นำเสนอภาพฝัน

ขั้นที่ 4 เขียนเค้าโครงร่างโครงงาน

ขั้นที่ 5 นำเสนอเค้าโครงร่างโครงงาน

ขั้นที่ 6 เรียนรู้ปัญหา(ทำโครงงาน)

ขั้นที่ 7 เสนอความก้าวหน้า
ขั้นที่ 8 เปิดโลกโครงงาน
ขั้นที่ 9 ถอดองค์ความรู้
ขั้นที่10 จิตอาสาขยายผลสู่ชุมชน


12.00-13.00
พักรับประทานอาหาร


13.00-13.10
ผ่อนคลาย


    13.10-16.30
หน่วยบูรณาการ




Cr. ภาพโดย ดร.นุชรัตน์ (จากเฟสบุ๊คของคุณครูมนัสวรรณ)

การสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่วนใหญ่ เน้นไปที่การอธิบายวัตถุประสงค์และกระบวนการของแต่ละกิจกรรม ไม่มีการแก้ไขตุ๊กตาที่นำมาเสนอ มีปรับรายละเอียดเพียงอย่างเดียวคือ กำหนดให้คุณครูได้ลงพื้นที่ไปดูของจริง เพื่อให้นำเอาสิ่งที่สำรวจได้จริง ๆ มาเขียนโครงร่างโครงงาน อย่างไรก็ดี เพื่อทุกคนเข้าใจร่วมกัน ถึงขั้นตอนและวิธี ขอสรุปหลักสูตรฯ เป็นแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ดังภาพด้านล่าง



๑) ชื่อหลักสูตร : การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยกระบวนการ 3PBL

๒) วัตถุประสงค์ :

  • มีความรู้ความเข้าใจรูปแบบการพัฒนานักเรียนด้วยกระบวนการ 3PBL
  • สามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ 3PBL ได้ 
  • ได้ระบบและกลไกเพื่อให้เกิดการจัดการเรียนรู้ 3PBL อย่างต่อเนื่อง 
  • ส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานแบบ PLC 
  • เสริมแรงใจครูเพื่อศิษย์ 
๓) เนื้อหา 



๔) กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ 

กระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยกระบวนการ 3PBL ครั้งนี้แบ่งเป็น ๕ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) BAR (Before Action Review) หรือการตั้งความคาดหวัง ๒) เรียนรู้ 3PBL แบบตื่นตัว (Active Learning) ๓) การออกแบบแผนการเรียนรู้หน่วยบูรณาการ ๔) นำเสนอแผนฯ และ ๕) AAR (After Action Review) หรือ ถอดบทเรียน  การสร้างหลักสูตรฯ ในการประชุมวันนี้ จะเน้นที่ขั้นตอนที่ ๒) การเรียนรู้ 3PBL แบบ Active Learning ได้ข้อสรุปดังแผนภาพด้านล่างนี้ (ดาวน์โหลดเวอร์ชั่น word ได้ที่นี่)


หากเคยติดตามการพัฒนาการเรียนรู้ของครูเพ็ญศรี ใจกล้า หรือบันทึกเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ ๕ กลีบ สัตว์สี่ทิศ กิจกรรมแปลงร่าง ฯลฯ การดูเพียงแผนผังความคิดได้บน คงไม่สามารถจะเข้าใจได้  และผมเองคงไม่สามารถเขียนเล่าให้ฟังอีกเพราะเคยเขียนไว้พอสมควรแล้ว (ส่วนหนึ่งอยู่ที่นี่) ... อย่างไรก็ดี ผมขอให้คุณครูผู้สนใจ ติดต่อคุณครูเพ็ญศรี ใจกล้า จะได้รับคำแนะนำที่คุ้มค่าแน่นอนครับ 

๕) การประเมินและการติดตามผล 
การประเมินและติดตามควรต้องเป็นการประเมินเชิงพัฒนา (Formative Evaluation) และการประเมินการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง (Transformative Evaluation) การประเมินเชิงพัฒนาควรบูรณาการกับการนิเทศแบบกัลยาณมิตร (ผมเคยเสนอไว้ที่นี่) ส่วนการประเมินการเปลี่ยนแปลงซึ่งเน้นเรื่องพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย น่าจะนำกระบวนการ "จิตตปัญญา" มาประยุกต์ใช้ 
อย่างไรก็ดี ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญคือความต่อเนื่อง ดังนั้น การอบรมฯ ต้องมีการสร้าง PLC ครูขึ้นด้วย และกำหนดข้อตกลงร่วมกัน  ให้มีกิจกรรมดังต่อไปนี้ได้แก่ กลไกการสอนอย่างต่อเนื่องยาวนานอย่างน้อย ๑ ภาคเรียน  เช่น กำหนดให้เป็นกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้   ฯลฯ  กลไกให้นักเรียนมีเวทีนำเสนอผลงานทุกคน กิจกรรมการค้นหา BP  เช่น การจัดให้มีเวที Show & Share ระดับเขต เป็นต้น 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"