ปรัชญาเบื้องต้น กับ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีคนถามว่า ถ้าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา แล้วทำไมไม่มีบรรจุไว้ในวิชา "ปรัชญาและศาสนา" ?
ผมตอบด้วยการตั้งคำถามว่า ปรัชญาที่เราเรียนอยู่ในวิชา "ปรัชญาและศาสนา" นั้น มีมาแล้วกี่ปี? ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ่ทรงพระราชทานอย่างเป็นทางการประมาณ ๑๗ ปีที่ผ่านมานี้เอง อาจารย์ผู้สอนและผู้เขียนหนังสือวิชาปรัชญาเอง ก็ยังไม่ได้ศึกษาและศรัทธา จึงไม่แปลกที่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงยังไม่ได้บรรจุในรายวิชาปรัชญาและศาสนา
ความแตกต่างระหว่าง "ปรัชญา" กับ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"
๑) วัตถุประสงค์ต่างกัน
จากการศึกษาสืบค้น รายวิชาปรัชญาเบื้องต้น สอนกันว่า เราศึกษาปรัชญาเพื่อตอบสนองความอยากรู้ของมนุษย์ (ดังสไลด์ด้านล่าง) แต่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน โดยมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
ที่มา:https://philosophychicchic.com/philosophy-101/ Cr. ครูพี่แนน
๒) บ่อเกิดหรือที่มาต่างกัน
ปรัชญาที่ในรายวิชาปรัชญาเบื้องต้น สอนกันว่า ความสงสัยและความแปลกใจคือบ่อเกิดของปรัชญา หรือก็คือปรัชญาเกิดมาจากการคิดล้วนๆ ดังสไลด์ด้านล่าง แต่ปรัชญาของเศรษฐกิจตกผลึกจากที่ทรงคิดและปฏิบัติบำบัดทุกข์บำรุงสุขของปวงประชา
ที่มา:https://philosophychicchic.com/philosophy-101/ Cr. ครูพี่แนน
๓) ปศพพ. สามารถแยกออกมาเป็นอีกประเภทหนึ่งของปรัชญา
จากการศึกษาสืบค้น รายวิชาปรัชญามีขอบเขตที่กว้างขวางและประวัติความเป็นมายาวนาน เช่น พุทธปรัชญา เต๋า ทาลีส ๒,๕๐๐ ปี -> โซเครติส ๒,๔๐๐ ปี -> ซึ่งเป็นอาจารย์ของ เพลโต ๒,๓๐๐ ปี -> ซึ่งเป็นอาจารย์ของอริสโตเติล ๒,๒๐๐ ปี ->พระเยซู คริสต์ ๒,๐๐๐ ปี -> พระอัลเลาะห์ ๑,๕๐๐ ปี -> และนักปรัชญาต่างๆ ตามยุคสมัย ไล่ตามลำดับมาจนถึงนักปรัชญารุ่นใหม่ๆ (ที่นี่) ดูไทม์ไลน์ได้ที่นี่หรือที่นี่
มีการแบ่งประเภทของปรัชญาออกแบบต่าง ๆ เช่น
ที่มา:https://philosophychicchic.com/philosophy-101/ Cr. ครูพี่แนน
ผมเข้าใจว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาประยุกต์ประเภทที่เน้นเอา "ปัจจุบันขณะ" และ "ทางสายกลาง" หรือก็คือพุทธปรัชญาเป็นฐาน เป็นปรัชญาแบบบูรณาการหลักปรัชญาต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นองค์รวมเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมและผู้นำน้อมนำไปใช้ กล่าวคือ รวมเอาปรัชญาแบบเหตุผลนิยม ญาณวิทยา นิรนัย เข้ากับปรัชญาที่เน้นประสบการณ์นิยม (ปฏิบัติ) อุปนัย ซึ่งทรงได้นำมาทดลองใช้ด้วยพระองค์เองจนประจักษ์ชัดในผลลัพธ์ ก่อนจะพระราชทานให้คนไทยในปี ๒๕๔๒
๔) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นยิ่งกว่าปรัชญาที่แปลมาจากคำว่า Philosophy
คำว่า "ปรัชญา" ถูกบัญญัติขึ้น โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ และกำหนดให้แปลว่าง Philosophy ในภาษาฝรั่ง (ภาษาฝรั่งเศสโบราณ ภาษากรีก คลิกที่นี่) ทั้ง ๆ เมื่อแปลตามตัวจะได้ความหมายไม่ตรงกัน "ปรัชญา" แปลว่า ความรู้อันประเสริฐ ความรอบรู้ หรือความรู้ขั้นสูง ส่วน Philosophy แปลว่า ความรักในความรู้ หรือความรักในปัญญา ดังสไลด์ด้านล่าง
ที่มา:https://philosophychicchic.com/philosophy-101/ Cr. ครูพี่แนน
ที่มา:https://philosophychicchic.com/philosophy-101/ Cr. ครูพี่แนน
ผมเห็นแย้งกับเจ้าของสไลด์ คุณครูพี่แนน (อาจารย์ประจำภาคปรัชญาและศาสนา) ที่บอกว่า การนิยามทรัพย์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นความหมายเชิงอวดตัว ผมมีความเห็นว่า ท่านน่าจะจงใจ ที่จะใช้คำว่า "ปรัชญา" ซึ่งมีตรงกับภาษาบาลีว่า "ปัญญา" ซึ่งกินความหมายไกลเกินกว่า "การคิด" ไปถึงการ "รู้แจ้ง" "เห็นแจ้ง" สรุปคือ ท่านคงไม่อยากให้เราเรียนรู้ตาม(ก้น) แต่ฝรั่งมังค่า แต่หันมาศึกษาแนวทางแห่งพุทธปัญญาของเราเอง
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๐ (เมื่อวานนี้) ผมไปส่งงานการบ้านการปฏิบัติธรรมของตนเอง กับคุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ ปรากฎว่า โดนตีกลับมาซะเละว่า โมหะครอบจม เพ่งนิ่ง .... ดังนั้น สิ่งที่เขียนที่คิดนี่มัน ทฤษฏีล้วน ๆ จริง ๆ .... ขากลับ ผมตั้งสัจจะต่อหน้าน้ำและแสนที่ไปด้วยกันว่า จะทำรูปแบบทุกวัน วันไหนทำไม่ได้ จะมาปลงอาบัติต่อเธอทั้งสอง ... มาลองดู ทำมันทุกวิถีทางล่ะ
ความแตกต่างระหว่าง "ปรัชญา" กับ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"
๑) วัตถุประสงค์ต่างกัน
จากการศึกษาสืบค้น รายวิชาปรัชญาเบื้องต้น สอนกันว่า เราศึกษาปรัชญาเพื่อตอบสนองความอยากรู้ของมนุษย์ (ดังสไลด์ด้านล่าง) แต่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน โดยมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
ที่มา:https://philosophychicchic.com/philosophy-101/ Cr. ครูพี่แนน
๒) บ่อเกิดหรือที่มาต่างกัน
ปรัชญาที่ในรายวิชาปรัชญาเบื้องต้น สอนกันว่า ความสงสัยและความแปลกใจคือบ่อเกิดของปรัชญา หรือก็คือปรัชญาเกิดมาจากการคิดล้วนๆ ดังสไลด์ด้านล่าง แต่ปรัชญาของเศรษฐกิจตกผลึกจากที่ทรงคิดและปฏิบัติบำบัดทุกข์บำรุงสุขของปวงประชา
ที่มา:https://philosophychicchic.com/philosophy-101/ Cr. ครูพี่แนน
๓) ปศพพ. สามารถแยกออกมาเป็นอีกประเภทหนึ่งของปรัชญา
จากการศึกษาสืบค้น รายวิชาปรัชญามีขอบเขตที่กว้างขวางและประวัติความเป็นมายาวนาน เช่น พุทธปรัชญา เต๋า ทาลีส ๒,๕๐๐ ปี -> โซเครติส ๒,๔๐๐ ปี -> ซึ่งเป็นอาจารย์ของ เพลโต ๒,๓๐๐ ปี -> ซึ่งเป็นอาจารย์ของอริสโตเติล ๒,๒๐๐ ปี ->พระเยซู คริสต์ ๒,๐๐๐ ปี -> พระอัลเลาะห์ ๑,๕๐๐ ปี -> และนักปรัชญาต่างๆ ตามยุคสมัย ไล่ตามลำดับมาจนถึงนักปรัชญารุ่นใหม่ๆ (ที่นี่) ดูไทม์ไลน์ได้ที่นี่หรือที่นี่
มีการแบ่งประเภทของปรัชญาออกแบบต่าง ๆ เช่น
- แบ่งตามพื้นที่โลกหรือประเทศหรือแหล่งอารยธรรม เช่น ปรัชญาตะวันตก ปรัชญากรีก ปรัชญาโรมัน ปรัชญายุโรป ปรัชญาตะวันออก ปรัชญาจีน ปรัชญาอินเดีย ฯลฯ
- แบ่งตามยุคเวลา ได้แก่ ปรัชญาดึกดำบรรพ์ ปรัชญาโบราณ ปรัชญายุคกลาง ปรัชญาสมัยใหม่หรือนวยุค (modern paradigm) และปรัชญาหลังยุคนวนิคม (postmodern paradigm) (ศึกษาต่อได้ที่นี่ หรือสืบค้นได้ทั่วไป)
- แบ่งตามลักษณะของปรัชญา ได้แก่ ปรัชญาบริสุทธิ์ ที่อภิปรายถึงความจริงของสรรพสิ่งกับการรับรู้ของมนุษย์ เช่น อภิปรัชญา (Metaphysics) ญาณวิทยา (Epistemology) คุณวิทยา (Axiology) และปรัชญาประยุกต์ที่เกี่ยวกับการคิดด้านการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น ปรัชญาสังคม ศาสนา การเมือง การปกครอง กฎหมาย และวิทยาศาสตร์ (อ่านได้ที่นี่)
- แบ่งตามหลักยึด ได้แก่ ปรัชญาแบบจิตนิยม ปรัชญาแบบเหตุผลนิยม และปรัชญาแบบประสบการณ์นิยม
- ฯลฯ
ที่มา:https://philosophychicchic.com/philosophy-101/ Cr. ครูพี่แนน
ผมเข้าใจว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาประยุกต์ประเภทที่เน้นเอา "ปัจจุบันขณะ" และ "ทางสายกลาง" หรือก็คือพุทธปรัชญาเป็นฐาน เป็นปรัชญาแบบบูรณาการหลักปรัชญาต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นองค์รวมเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมและผู้นำน้อมนำไปใช้ กล่าวคือ รวมเอาปรัชญาแบบเหตุผลนิยม ญาณวิทยา นิรนัย เข้ากับปรัชญาที่เน้นประสบการณ์นิยม (ปฏิบัติ) อุปนัย ซึ่งทรงได้นำมาทดลองใช้ด้วยพระองค์เองจนประจักษ์ชัดในผลลัพธ์ ก่อนจะพระราชทานให้คนไทยในปี ๒๕๔๒
๔) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นยิ่งกว่าปรัชญาที่แปลมาจากคำว่า Philosophy
คำว่า "ปรัชญา" ถูกบัญญัติขึ้น โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ และกำหนดให้แปลว่าง Philosophy ในภาษาฝรั่ง (ภาษาฝรั่งเศสโบราณ ภาษากรีก คลิกที่นี่) ทั้ง ๆ เมื่อแปลตามตัวจะได้ความหมายไม่ตรงกัน "ปรัชญา" แปลว่า ความรู้อันประเสริฐ ความรอบรู้ หรือความรู้ขั้นสูง ส่วน Philosophy แปลว่า ความรักในความรู้ หรือความรักในปัญญา ดังสไลด์ด้านล่าง
ที่มา:https://philosophychicchic.com/philosophy-101/ Cr. ครูพี่แนน
ที่มา:https://philosophychicchic.com/philosophy-101/ Cr. ครูพี่แนน
ผมเห็นแย้งกับเจ้าของสไลด์ คุณครูพี่แนน (อาจารย์ประจำภาคปรัชญาและศาสนา) ที่บอกว่า การนิยามทรัพย์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นความหมายเชิงอวดตัว ผมมีความเห็นว่า ท่านน่าจะจงใจ ที่จะใช้คำว่า "ปรัชญา" ซึ่งมีตรงกับภาษาบาลีว่า "ปัญญา" ซึ่งกินความหมายไกลเกินกว่า "การคิด" ไปถึงการ "รู้แจ้ง" "เห็นแจ้ง" สรุปคือ ท่านคงไม่อยากให้เราเรียนรู้ตาม(ก้น) แต่ฝรั่งมังค่า แต่หันมาศึกษาแนวทางแห่งพุทธปัญญาของเราเอง
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๐ (เมื่อวานนี้) ผมไปส่งงานการบ้านการปฏิบัติธรรมของตนเอง กับคุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ ปรากฎว่า โดนตีกลับมาซะเละว่า โมหะครอบจม เพ่งนิ่ง .... ดังนั้น สิ่งที่เขียนที่คิดนี่มัน ทฤษฏีล้วน ๆ จริง ๆ .... ขากลับ ผมตั้งสัจจะต่อหน้าน้ำและแสนที่ไปด้วยกันว่า จะทำรูปแบบทุกวัน วันไหนทำไม่ได้ จะมาปลงอาบัติต่อเธอทั้งสอง ... มาลองดู ทำมันทุกวิถีทางล่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น