รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๒-๒๕๕๙ (๑๒) : ๕๑ วิธีคิดของผู้นำอย่าง อิวะตะ มัตสึโอะ อดีตซีอีโอสตาร์บัคญี่ปุ่น
มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "๕๑ วิธีคิดของหัวหน้าที่ลูกน้องอยากทำงานด้วย" ที่เขียนโดยอิวะตะ มัตสึโอะ อดีตซีดีโอของ Starbucks Coffee Japan ที่ทำยอดขายได้สูงที่สุดในโลก สามารถพาบริษัททำยอดขายได้ทะลุแสนล้านเยนได้เป็นครั้งแรก หน้าปกดังรูปนี้ครับ
มีผู้เขียนบันทึกสรุปสาระสำคัญของทั้ง ๕๑ ข้อ (ที่นี่) การเขียนตีความของผมต่อไปนี้ เจ้าของหนังสือ ผู้แปลหรือผู้จัดจำหน่ายคงจะได้ดประโยชน์ เปรียบเหมือนการส่งเสริมให้มีการแปลหนังสือที่มีคุณค่าต่อผู้ศึกษาตัดปัญหาเรื่องภาษาไป อีกมุมหนึ่งราคาหนังสืออาจจะลดลงได้อีก
ในรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ มีนิสิตกลุ่มหนึ่งอยากจะทำโครงงานแบ่งปันสร้างสรรค์สังคมแห่งการอ่าน โดยจะเป็นผู้ประสานผ่านหนังสือดี ๆ จากผู้มีจิตจาคะสละให้ผู้รักการอ่านและขาดแคลน เป็นไอเดียที่น่าสนใจมาก ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืนพอสมควร วิธีหนึ่งที่เสนอนิสิตคือ เขียนถอดบทเรียนจากหนังสือที่ตนเองประทับใจ ดังที่จะลองเขียนไว้เป็นตัวอย่างต่อไปนี้
การอ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผมรู้ว่า การจะเป็นผู้นำที่มีคนอยากทำงานด้วยนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไม่ใช่เรื่องที่สามารถเสแสร้งแกล้งสร้างขึ้นมาได้ แต่เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนและเป็นนิสัยมากกว่าจะเป็นความสามารถหรือทักษะ ได้รู้ว่าตนเองยังไม่ใช่ และหลายข้อยังห่างไกลด้วยซ้ำไป ... แต่แปลกอย่างหนึ่งคือ ใจยังคิดว่าสิ่งที่ได้อ่านมานี้ไม่ไกลเกินแก่ สิ่งที่น่าสนใจ และบันทึกไว้แบ่งปัน มีดังนี้
๑) แนวคิดแบบตัวแม่น
คุณอิวะตะ มัตสึโอะ บอกว่า เราควรคำนึงอยู่เนือง ๆ ให้ภารกิจหรือเรื่องสำคัญในชีวิตของเราอยู่ในพื้นที่ซ้อนทำระหว่าง "สิ่งที่รัก" "สิ่งที่ถนัด" และ "สิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อื่น" เช่น เมื่อเราทำงานให้กับองค์กร เป็นบุคลากรขององค์กรใด ก็ควรคำนึงถึง "สิ่งที่เราเองมุ่งมั่นและใฝ่ฝันอยากทำที่สุด" "สิ่งที่องค์กรของเราทำได้ดีที่สุด" และ "สิ่งที่จะสามารถสร้างประโยชน์ เช่น กำไร หรือความสำเร็จให้กับองค์กร" โดยเรียกแนวความคิดแบบนี้ว่า "แนวความคิดแบบตัวเม่น" (Hedgehog concept) ดังรูป
๒) ผู้นำระดับ ๕
การพูดถึง "ผู้นำระดับ ๕" ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับอาจารย์ผู้สอนวิชาบริหารการศึกษา ครั้งหนึ่งผู้บริหารที่สุดยอดท่านหนึ่ง ระหว่างคุยกับท่านเกี่ยวกับงานที่สำนักศึกษาทั่วไป อยู่ดี ๆ ท่านก็บอกขึ้นมาว่า "...นั่นเขาเรียกผู้นำระดับ ๕..." ผมกลับมาสืบค้นจึงพบว่า การแบ่งประเภทผู้นำเป็น ๕ ระดับ ของ Jonh C. Maxwell ได้รับการยอมรับมาสอนกันทั่วไป และเมื่อได้มาอ่านหนังสือเล่มนี้ ที่คุณอิวะตะ พูดถึงอีก ผมขอนำมาแสดงเป็นรูปเพื่อความเข้าใจง่าย ๆ
คุณอิวะตะ คือ ตัวอย่างของผู้นำระดับ ๕ ที่สุดยอด (Pinnacle) เป็นผู้นำที่ได้รับความเคารพด้วยใจจากผู้ติดตามหรือสมาชิก
ผมตีความว่า วิธีก้าวสู่ผู้นำระดับ ๕ ของคุณอิวะตะ ใช้บันได ๓ ขั้น หรืออาจเรียกว่า เป็นผู้นำระดับ ๕ ด้วยการทำเหตุ ๓ ประการ ได้แก่
มีผู้เขียนบันทึกสรุปสาระสำคัญของทั้ง ๕๑ ข้อ (ที่นี่) การเขียนตีความของผมต่อไปนี้ เจ้าของหนังสือ ผู้แปลหรือผู้จัดจำหน่ายคงจะได้ดประโยชน์ เปรียบเหมือนการส่งเสริมให้มีการแปลหนังสือที่มีคุณค่าต่อผู้ศึกษาตัดปัญหาเรื่องภาษาไป อีกมุมหนึ่งราคาหนังสืออาจจะลดลงได้อีก
ในรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ มีนิสิตกลุ่มหนึ่งอยากจะทำโครงงานแบ่งปันสร้างสรรค์สังคมแห่งการอ่าน โดยจะเป็นผู้ประสานผ่านหนังสือดี ๆ จากผู้มีจิตจาคะสละให้ผู้รักการอ่านและขาดแคลน เป็นไอเดียที่น่าสนใจมาก ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืนพอสมควร วิธีหนึ่งที่เสนอนิสิตคือ เขียนถอดบทเรียนจากหนังสือที่ตนเองประทับใจ ดังที่จะลองเขียนไว้เป็นตัวอย่างต่อไปนี้
การอ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผมรู้ว่า การจะเป็นผู้นำที่มีคนอยากทำงานด้วยนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไม่ใช่เรื่องที่สามารถเสแสร้งแกล้งสร้างขึ้นมาได้ แต่เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนและเป็นนิสัยมากกว่าจะเป็นความสามารถหรือทักษะ ได้รู้ว่าตนเองยังไม่ใช่ และหลายข้อยังห่างไกลด้วยซ้ำไป ... แต่แปลกอย่างหนึ่งคือ ใจยังคิดว่าสิ่งที่ได้อ่านมานี้ไม่ไกลเกินแก่ สิ่งที่น่าสนใจ และบันทึกไว้แบ่งปัน มีดังนี้
๑) แนวคิดแบบตัวแม่น
คุณอิวะตะ มัตสึโอะ บอกว่า เราควรคำนึงอยู่เนือง ๆ ให้ภารกิจหรือเรื่องสำคัญในชีวิตของเราอยู่ในพื้นที่ซ้อนทำระหว่าง "สิ่งที่รัก" "สิ่งที่ถนัด" และ "สิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อื่น" เช่น เมื่อเราทำงานให้กับองค์กร เป็นบุคลากรขององค์กรใด ก็ควรคำนึงถึง "สิ่งที่เราเองมุ่งมั่นและใฝ่ฝันอยากทำที่สุด" "สิ่งที่องค์กรของเราทำได้ดีที่สุด" และ "สิ่งที่จะสามารถสร้างประโยชน์ เช่น กำไร หรือความสำเร็จให้กับองค์กร" โดยเรียกแนวความคิดแบบนี้ว่า "แนวความคิดแบบตัวเม่น" (Hedgehog concept) ดังรูป
๒) ผู้นำระดับ ๕
การพูดถึง "ผู้นำระดับ ๕" ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับอาจารย์ผู้สอนวิชาบริหารการศึกษา ครั้งหนึ่งผู้บริหารที่สุดยอดท่านหนึ่ง ระหว่างคุยกับท่านเกี่ยวกับงานที่สำนักศึกษาทั่วไป อยู่ดี ๆ ท่านก็บอกขึ้นมาว่า "...นั่นเขาเรียกผู้นำระดับ ๕..." ผมกลับมาสืบค้นจึงพบว่า การแบ่งประเภทผู้นำเป็น ๕ ระดับ ของ Jonh C. Maxwell ได้รับการยอมรับมาสอนกันทั่วไป และเมื่อได้มาอ่านหนังสือเล่มนี้ ที่คุณอิวะตะ พูดถึงอีก ผมขอนำมาแสดงเป็นรูปเพื่อความเข้าใจง่าย ๆ
คุณอิวะตะ คือ ตัวอย่างของผู้นำระดับ ๕ ที่สุดยอด (Pinnacle) เป็นผู้นำที่ได้รับความเคารพด้วยใจจากผู้ติดตามหรือสมาชิก
ผมตีความว่า วิธีก้าวสู่ผู้นำระดับ ๕ ของคุณอิวะตะ ใช้บันได ๓ ขั้น หรืออาจเรียกว่า เป็นผู้นำระดับ ๕ ด้วยการทำเหตุ ๓ ประการ ได้แก่
- บันไดขั้นที่ ๑ การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนสมาชิกหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่หวังผลตอบแทน ตอนที่เป็นนักเรียนมัธยม คุณอิวะตะเตรียมสนามซ้อมเบสบอลตลอดระยะเวลาหลายปีแม้ไม่ได้มีโอกาสเป็นผู้เล่นตัวจริงเลย ทำให้ถึงวันหนึ่ง ทุกคนพร้อมใจกันเลือกให้เป็นกัปตันทีม นี่เรียกว่า เป็นผู้นำระดับ ๒
- บันไดขั้นที่ ๒ สร้างผลงานให้องค์กรจนประจักษ์ ตอนที่คุณอิวะตะถูกส่งไปอยู่ฝ่ายขายปลีกรถยนต์นิสัน ซึ่งต้องให้พนักงานเดินไปเคาะประตูบ้านเพื่อขายรถ และเป็นช่วงที่ขายรถไม่ค่อยได้ แต่สุดท้ายก็สามารถทำลายสถิติการขายได้ด้วยความพยายาม เขาแจกนามบัตรให้กับลูกค้าไปมากกว่า ๒๐,๐๐๐ แผ่น มากกว่าพนักงานคนอื่นถึง ๑๐๐ เท่า ได้รับการยอมรับจากทุกคน นี่เรียกว่า เป็นผู้นำระดับ ๓
- บันไดขั้นที่ ๓ คือการพัฒนาคนและทำเพื่อผู้อื่น เมื่อก้าวมาถึงผู้นำระดับ ๒ แล้ว ย่อมมีผู้ตามที่ยอมรับและศรัทธา สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ การพัฒนาบุคลากรหรือสมาชิกเหล่านั้นให้ได้เจริญก้าวหน้าไปตามลำดับ เป็นผู้นำที่สร้างผู้นำ เมื่อทำสำเร็จก็จะกลายเป็น ผู้นำระดับ ๕ นั่นเอง
๓) เทคนิคในการเป็นผู้นำที่ทำให้เป็นผู้นำที่ใคร ๆ ก็อยากทำงานด้วย
- หัวหน้าต้องหมั่นถามความเห็นของลูกน้อง
- ควรจะตำหนิด้วยคำว่า "ไม่สมกับเป็นคุณเลยนะ" หรือ "แม้แต่คุณก็ยังทำไม่ได้เหรอ"
- ใช้ความรู้สึกที่อยากให้ทุกคนมีความสุขเป็นพลังในการขับเคลื่อน
- จงเลือก "เป็นคนดี" มากกว่า "ทำได้ดี"
- ไม่ต้องตัดสินใจให้ฉับไวเสมอ ... ต้องรู้ว่า จะรอได้ถึงเมื่อไหร่?
- อย่ากลัวการกลับคำ
- ถ้ามีเรื่องลังเลว่าจะทำหรือไม่ทำ คำตอบคือ จงลองทำดู
- จงพัฒนาความสามารถด้านการตัดสินใจของลูกน้อง
- ห้ามพูดว่า "เพราะเบื้องบนสั่งมา" เด็ดขาด
- เริ่มจากการลงมือทำให้คนอื่นดูเป็นแบบอย่างเสียก่อน
- จงถามลูกน้องว่า "มีปัญหาอะไรบ้างหรือเปล่า" เป็นประจำ
- เหลืออะไรทิ้งไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ แล้วจะทำงานได้ง่ายขึ้น
- คิดให้ใหญ่ ตั้งเป้าหมายให้สูง (แล้วจะมีผู้ร่วมเดินทางมาก)
- อย่าทำอะไรให้คนอื่นสงสัย "ในคุณธรรม" ของตนเด็ดขาด
- หัวหน้าที่ยอดเยี่ยมย่อมมาคู่กับคุณธรรม
- จงเตรียมตัวที่จะถูกเกลียด
- จงเชื่อมั่นในตนเอง
- ทำให้ทุกวันเป็นวันพัฒนาตนเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น