PLC_CADL_013 : KM อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาศึกษาทั่วไป ครั้งที่ 2/2556 (เรียนรู้จากผู้ประสานงานรายวิชา)

วันที่ 7-8 กันยายน 2556  สำนักศึกษาทั่วไป จัดประชุมสัมมนาเพื่อ ระดมความคิดหาแนวทางการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาศึกษาทั่วไป (ต่อเนื่องจากการแลกเปลี่ยนครั้งแรก (อ่านได้ที่นี่)) บันทึกนี้ต่อจากบันทึกแรกที่นี่ และบันทึกที่สองที่นี่

หลังจาก "คิดเดี่ยว" ในกระดาษ A4 และเรียนรู้จากการ "ดูความคิดคนอื่น" บนฟลิปชาร์ทแล้ว เราอำนวยสู่การแลกเปลี่ยนกลุ่มใหญ่ ให้อิสระในการเสนอความเห็นในประเด็นว่า "จัดการเรียนการสอนอย่างไรให้ได้นิสิตตามลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์".... โดยมีข้อจำกัดเรื่องนิสิตกลุ่มใหญ่ที่ไม่สามารถลดจำนวนลงได้ในขณะนี้ (....เราพยายามพูดถึงเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ ไอซีที ที่นิสิตเกือบทั้งหมดสามารถเข้าถึงได้...) แล้วจึง "เปิดวง" ....


  • อาจารย์ฉันทนา (อ.ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา)  จากคณะเทคโนโลนีสารสนเทศ  (หรือ  ป้าเป็ด)  เล่าว่า  โดยส่วนตัวจะนิยมใช้ google doc เพราะสะดวกในการแชร์ไฟล์ (เอกสารต่างๆ มคอ. แบบฝึกหัด  เอกสารประกอบการสอน)  นิสิตสามารถดาวน์โหลดเอกสารเหล่านี้ได้เลย  และให้งานนิสิตไปสร้าง  Blog ของตัวเองเพื่อใช้ในการส่งงานหรือให้งานนิสิตผ่าน Blog และนิสิตก็ยังสามารถดึงข้อมูลที่อาจารย์สอนนั้นได้จาก Blog อีกด้วย  ท่านแนะนำเว็บไซต์  www.wbi.msu.ac.th (ระบบฝากไฟล์ของ ICT) สำหรับใครที่มีปัญหาในการพกพา flash drive อาจจะลืมบ้าง  ระแวงเรื่องไวรัสบ้าง  หากเปลี่ยนมาฝากไฟล์ไว้  wbi – ถ้าไม่อยากแชร์เอกสารให้นิสิต  ก็สามารถเลือกอนุญาตให้เฉพาะนิสิตคนไหนเข้ามาก็ได้  แต่ข้อเสีย คือ  การคัดลอกจะง่ายขึ้น

  • อาจารย์ฤทธิไกร กล่าวถึงทฤษฎีเอาอ่าว  GULF : Google Youtube Learning by Facebook เปลี่ยนเป็น google youtube line (line twitter what’s apps) และ Facebook พร้อมทั้งได้แนะนำเว็บไซต์นี้ด้วย  www.classstart.org ตามที่ อาจารย์ธวัช (อ.ธวัช ชินราศรี) ได้นำเสนอก่อนหน้านั้น เพื่อให้ง่ายในการจัดการเรียนการสอน  โดยไม่ต้องติดตั้งระบบเอง  สามารถเข้าได้ทุกที่ทุกเวลา  สามารถสร้างชั้นเรียน  อัพโหลดเอกสารการสอน  ให้การบ้าน  ให้คะแนนงานเดี่ยวงานกลุ่ม  พูดคุยผ่านเว็บบอร์ดของชั้นเรียน ฯลฯ
  • อาจารย์อุดมศักดิ์ (รศ.อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์)  เสนอว่า สิ่งที่เราต้องคุยกันให้ชัดเจนคือ เป้าหมายในการจัดการเรียนรู้รายวิชาศึกษาทั่วไป  เมื่อพูดถึงเป้าหมายในการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ คือ "เก่ง ดี มีสุข" คำถามคือ แล้ว "เก่ง ดี มีสุข" ที่ได้จากการลงทะเบียนเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยนี้คืออะไร? อะไรที่จะทำให้เด็ก เก่ง  ดี  มีสุข ได้?  ท่านเสนอว่า 
    • เก่ง ดี มีสุข ในรายวิชาศึกษาทั่วไป ควรเป็นทักษะชีวิต ตัวอย่างเช่น ในสาขาวิชาการบริโภคฯ  มีหน้าที่กำหนดอาหารให้ตรงตามความต้องการของแพทย์  ฯลฯ 
    • คุณธรรม มโนธรรม จริยธรรม เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้นิสิต ดี ซึ่งจะทำให้เก่ง และมีความสุขต่อไป
    • อีกประการสำคัญคือ ความสามารถในการนำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างเหมาะสม 
    และสรุปว่าอย่าให้เป็นว่า “อาจารย์สอนดีแต่นิสิตไม่สามารถจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง” 
    ป้าเป็ดเสริมว่า ผู้ประกอบการออกมาพูดตรงกันว่า  นิสิตที่จบไปไม่สามารถทำงานได้ทันที  ต้องกลับมาฝึกอย่างน้อยหนึ่งปี สอนทฤษฎีมากเกินไป
  • อาจารย์ชุน (ผศ.ชุน เทียมทินกฤต) ขอเพิ่มเติมขอเสริมประเด็นสอนทฤษฎีมากเกินไปนี้ว่า ...ข้อหานี้เจอมาแล้วมากกว่า 10 ปี  อุตสาหกรรมเริ่มไม่ไว้ใจมหาวิทยาลัย  จนออกมาทำโรงเรียนเอง  เช่น  โรงเรียนปัญญาภิวัฒน์  ฯลฯ ส่วนประเด็นคุณธรรมของเด็กทุกวันนี้ มีแม้กระทั่ง “รับจ้างไปนั่งเรียนแทน” ในรายวิชาศึกษาทั่วไป GE (รายวิชาศึกษาทั่วไป) ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนอย่างไร  ให้เด็กมี  เก่ง  ดี  มีสุข ต้องเริ่มตั้งแต่ในห้องเรียน
    • ท่านจัดกระบวนการเรียนการสอนในห้องอย่างไร
    • GE ควรจะฝึกทักษะชีวิต  ความรับผิดชอบ
    • ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม มโนธรรม (ระดับพึ่งตัวเองได้)
    • วิชาที่ท่าน "จับอยู่ในมือ"  ท่านจะทำได้อย่างไร
     
  • อาจารย์อรรคพงษ์ (อ.อรรคพงษ์ ภูลายยาว) เล่าถึง การจะทำให้คนมีความสุขในการดำเนินชีวิตนั้น จำเป็นจะต้องรู้จักสุนทรียะ การเลือกฟังดนตรี การรู้จักและเข้าใจในดนตรีจะสามารถทำให้เราเข้าถึงสุนทรียภาพของชีวิตได้ 
  • อาจารย์วรเชษฐ์ (อ.วรเชษฐ์ วรพุทธินันท์) ผู้ประสานงานรายวิชาศิลปะกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ก็อธิบายความสวยงามและสุนทรียภาพของชีวิตที่ทุกคนจำเป็นต้องมีในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
  • อาจารย์ชุนเสนอเพิ่มเติม เพื่อย้ำประเด็นสำคัญเรื่องอยู่อย่างมีความสุข
    • ด้านทักษะชีวิต  ควรจะเน้นคุณภาพชีวิต  ไม่ให้ความสุขมันหายไป
    • ด้านดนตรี  /  ฝึกให้รู้จักตัวเองก่อน  ว่าชอบอะไร  แนวไหน (รสนิยม)  ธุรกิจดนตรี  ยกตัวอย่างของ  AF/ The Star (จะมีการค่าใช้จ่ายในการส่ง sms) หรือ ชี้จุดเลยว่า ถ้าหน้าตาดี ไป AF ถ้าไม่...ไป the Voice ถ้าความสามารถ Thailand got talent
    • งานศิลปะทำให้คนเป็นคนมากขึ้น ถ้ามีศิลปะ จริยธรรม อยู่ด้วย คนจะเต็มคนมากยิ่งขึ้น  ถ้าไม่มีก็เหมือนหุ่นยนต์ ทุกคนมีทางในการเลือก “เสพดนตรี” 








   
  • ตอนท้ายของการแลกเปลี่ยน อาจารย์ชุนเสนอว่า สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ แล้ว แนวทางการพัฒนาสามารถแบ่งเป็นสี่นั้นตอนคือ   1) จัดการให้มีที่เก็บ 2) จัดให้มีที่ฝาก 3) จัดให้สามารถเรียนรู้และนำไปใช้งานได้ และ 4) จัดให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้
  • อาจารย์ต๋อย สรุปเป็นโมเดลของทานอาจารย์ชุนว่าเป็น  Best Practice  ที่ดี  โดยแบ่งออกเป็น  4  มิติ 
    • มีที่จัดเก็บ หมายถึง มีองความรู้
    • มีที่ฝาก หมายถึง  มีคลังความรู้ที่สามารถเผยแพร่ไปไปสู่ทุกคนได้ 
    • มีการจัดให้สามารถเรียนรู้และนำไปใช้ได้จริง ก็คือการ Learning by doing
    • นิสิตสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องสอนหรือสอนน้อย ก็คือ Teach Less Learn More 
ก่อนแยกกลุ่มย่อยเพื่ออภิปรายรายกลุ่มวิชา เพื่อระดมหาแนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาศึกษาทั่วไป เราคุยกันเรื่อง I We It  เพื่อเป็นเครื่องมือนำทางในการคิด อ่านได้ที่นี่ครับ 
 

  • ขั้นแรก ให้พิจารณาก่อนว่า "ฉัน" ทำอะไร ทำไมจึงทำ ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร ... หากคุณค่าในตนเองให้เจอก่อน  (I-Value)
  • ขั้นต่อมา ให้พิจารณาว่า "ฉัน" ทำกับใคร ใครเกี่ยวข้องกับเป้าหมายนั้นบ้าง ใครแต่ละคนเกี่ยว ข้องอย่างไร  เราคือใคร และใครควรจะเป็น "เรา" (มีเป้าหมายร่วมกัน) คือหาค่านิยมร่วม (Share-Value)
  • ขั้นสุดท้าย ให้ร่วมกันคิดพิจารณาหา โครงสร้าง/กระบวนการ/วิธีการ และองค์ความรู้ต่างๆ ที่เรามี ก่อนจะร่วมกันระดมยุทธวิธี หรือ รูปแบบหรือโมเดลของ "เรา" เพื่อให้ร่วมกันมุ่งสู่เป้าหมายผลลัพธ์ร่วมกัน 
จากนั้นก็แบ่งเป็น 3 กลุ่มวิชา และตกลงว่าพรุ่งนี้เช้าเราจะกลับมานำเสนอกัน





ดูรูปทั้งหมดที่นี่ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"