PLC_CADL_012 : KM อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาศึกษาทั่วไป ครั้งที่ 2/2556 (คุณลักษณะที่ถึงประสงค์ กับ คนที่สมบูรณ์)
วันที่ 7-8 กันยายน 2556 สำนักศึกษาทั่วไป จัดประชุมสัมมนาเพื่อ
ระดมความคิดหาแนวทางการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาศึกษาทั่วไป
(ต่อเนื่องจากการแลกเปลี่ยนครั้งแรก (อ่านได้ที่นี่)) บันทึกนี้ต่อจากบันทึกแรกที่นี่
ประเด็นที่เรานำมาคุยกันเป็นประเด็นแรกสุดคือ "คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิต" หลังจากเรียนจบครบ 30 หน่วยกิตของรายวิชาศึกษาทั่วไป จุดเริ่มคุยที่ดีที่สุดคือ มาตรฐานคุณวุฒิ มคอ. 2 สำหรับภาพรวม แต่วันนี้ ผู้คุยอย่างเราคือตัวแทนอาจารย์ผู้สอน หรือเราเรียกว่า "ผู้ประสานงานรายวิชา" ดังนั้น จุดเริ่มคุยที่ตรงประเด็นมากกว่าคือ คุณลักษณะของนิสิตตาม มคอ.3 (ม. มาจาก "มาตรฐาน" ค. มาจากคำว่า คุณวุฒิ และ อ. มาจากคำว่าอุดมศึกษา) ซึ่งเป็นแบบฟอร์มอันหนึ่งของ "กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ" (TQF: Thailand Qualification Framework)
ใน มคอ. 3 สกอ. กำหนดไว้ให้พิจารณาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของแต่ละรายวิชาไว้ 5 ด้าน คือ
ข้อสังเกต
เราทีม CADL ผู้จัดเวที ออกแบบจะนำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเพื่อมุ่งไปสู่ประเด็นหลักข้างต้นคือ "ลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของรายวิชาศึกษาทั่วไป"โดยให้เขียนลงในกระดาษ A4 สองแผ่น แล้วนำมาติดไว้บนฟลิปชาร์ทข้างผนังที่แบ่งไว้ตาม กลุ่มวิชาของรายวิชาศึกษาทั่วไป
ดูรูปทั้งหมดได้ที่นี่ครับ
ข้อสังเกต
บันทึกต่อไปจะมาสรุปผลการแยกกลุ่มย่อย "ถก" เรื่องวิธีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษใหม่ครับ
ประเด็นที่เรานำมาคุยกันเป็นประเด็นแรกสุดคือ "คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิต" หลังจากเรียนจบครบ 30 หน่วยกิตของรายวิชาศึกษาทั่วไป จุดเริ่มคุยที่ดีที่สุดคือ มาตรฐานคุณวุฒิ มคอ. 2 สำหรับภาพรวม แต่วันนี้ ผู้คุยอย่างเราคือตัวแทนอาจารย์ผู้สอน หรือเราเรียกว่า "ผู้ประสานงานรายวิชา" ดังนั้น จุดเริ่มคุยที่ตรงประเด็นมากกว่าคือ คุณลักษณะของนิสิตตาม มคอ.3 (ม. มาจาก "มาตรฐาน" ค. มาจากคำว่า คุณวุฒิ และ อ. มาจากคำว่าอุดมศึกษา) ซึ่งเป็นแบบฟอร์มอันหนึ่งของ "กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ" (TQF: Thailand Qualification Framework)
ใน มคอ. 3 สกอ. กำหนดไว้ให้พิจารณาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของแต่ละรายวิชาไว้ 5 ด้าน คือ
- คุณธรรมจริยธรรม
- ด้านความรู้
- ด้านปัญญา
- ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- ด้านคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยี
ข้อสังเกต
- ไม่มีส่วนใด "เน้นเนื้อหา" เลย นอกจากทักษะความรู้ที่บอกว่าต้องรู้เนื้อหาสาขาของตนและเกี่ยวข้อง นอกนั้นทั้งหมดเป็น คุณธรรม ทักษะ ซึ่งปลูกฝังหรือฝึกฝนได้ด้วยการ "เน้นกระบวนการ" รายวิชาศึกษาทั่วไป มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนานิสิตให้มี "คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์" โดยไม่ได้ "เน้นเนื้อหา" หรือ "ทักษะเฉพาะ" ตามสาขาวิชาใดๆ สังเกตจากคำว่า "ทั่วไป" ดังนั้นสรุปได้ว่า รายวิชาศึกษาทั่วไปควรจัดการเรียนการสอนแบบ "เน้นกระบวนการเรียนรู้"
- ทักษะทางปัญญา เน้นเรื่อง "ความสามารถ" ทั้งความสามารถในการคิด คิดวิเคราะห์ คิดวางแผน คิดบูรณาการ คิดประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ และทักษะการลงมือปฏิบัติ หรือการลงมือทำ หรือก็คือทักษะการทำงาน เมื่อรวมกับด้านการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสือสาร ที่เน้ให้ อ่าน ฟัง พูด เขียนได้ดีนั้น สามารถเรียกรวมสั้นๆ ว่า รายวิชาศึกษาทั่วไปควร "เน้นทักษะการเรียนรู้"
- ด้านคุณธรรม จริยธรรม ชัดเจนว่าไม่ใช่เรื่อง "เฉพาะวิชา" หรือคือไม่ใช่ "วิชา" แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีในการดำเนิน "ชีวิต" ซึ่งตรงกับเจตนารมณ์ของการจัดการศึกษารายวิชาศึกษาทั่วไป ที่ต้องทำให้นิสิตเป็น "คนที่สมบูรณ์" หากตีความว่าคนที่สมบูรณ์คือคนที่มีคุณธรรมตามที่กำหนดใน Mind Map สังเกตว่า เราต้องปลูกฝังนิสิตให้ไม่เฉพาะรู้จักหน้าที่และเคารพสิทธิ์ผู้อื่น แต่รวมไปถึงต้องมีจิตอาสาและเสียสละเพื่อส่วน .... ข้อนี้สอดคล้องกับ ปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เรากำหนดมุ่งร่วมกันคือเราต้องผลิตบัณฑิตที่มี "ปัญญา" และ "เป็นอยู่เพื่อมหาชน" ให้จงได้
เราทีม CADL ผู้จัดเวที ออกแบบจะนำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเพื่อมุ่งไปสู่ประเด็นหลักข้างต้นคือ "ลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของรายวิชาศึกษาทั่วไป"โดยให้เขียนลงในกระดาษ A4 สองแผ่น แล้วนำมาติดไว้บนฟลิปชาร์ทข้างผนังที่แบ่งไว้ตาม กลุ่มวิชาของรายวิชาศึกษาทั่วไป
- แผ่นที่ 1 (ทีมงานใช้สัญลักษณ์เป็นเลข 1) ให้ผู้ประสานงานรายวิชาทุกท่าน เขียนคำตอบของคำถามว่า "คุณลักษณะของนิสิตใดที่ได้จากรายวิชาที่ท่านรับผิดชอบ"
- ขั้นที่สอง (ทีมงานใช้สัญลักษณ์เป็นเลข 2) ให้ผู้ประสานงานรายวิชาทุกท่าน เขียนคำตอบของอีกคำถามว่า "คุณลักษณะของนิสิตใด ที่ท่านอยากให้เพิ่มและอยากให้นิสิตมี ในศตวรรษนี้ ศตวรรษที่ 21"
ดูรูปทั้งหมดได้ที่นี่ครับ
ข้อสังเกต
- แผนที่ 2 พบข้อความว่า "...นำไปใช้ในชีวิต.." หรือ "...นำสู่ชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง" หรือ "ไม่ใชเพียงแต่รู้ แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้" แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ขาดอยู่ในตัวนิสิต ที่อาจารย์คิดว่ายังไม่มี และอยากให้มีคือ ... การนำไปใช้ในชีวิตได้จริง .... ก็คือ อยากให้ "เรียนชีวิต" ไม่ใช่ "เรียนวิชา" เหมือนๆ กับที่ "ว่า" กัน
- แผ่นที่ 2 เขียนคุณลัษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ไว้ถึงระดับ "คุณค่าแท้" ไม่ตกอยู่ใน "คุณค่าเทียม" ทั่วไป เช่น เขียนว่า อยากให้รักท้องถิ่น เทิดทูนภูมิปัญญา รู้รักษาสิ่งแวดล้อม ตระหนักมีจิตสำนึก ไม่คอรัปชั่น ฯลฯ
- ไม่มีแผ่นใดเน้นเรื่อง "เนื้อหาเฉพาะวิชา" แม้แต่กลุ่มวิทย์-เทคโนฯ
บันทึกต่อไปจะมาสรุปผลการแยกกลุ่มย่อย "ถก" เรื่องวิธีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษใหม่ครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น