PLC_CADL_009 : สัมนานอกสถานที่บุคลากรสำนักศึกษาทั่วไป (แลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ชัดไหมที่จะกลับไปทำ")

วันที่ 2-3-4 กันยายน 2556 บุคลากรสำนักศึกษาทั่วไป (GE) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดสัมมนาเพื่อพัฒนาตนเองนอกสถานที่ ต้องบอกว่า "ประจำปี" ปีนี้ไปที่พัทยา โรงแรมแอมบัสเดอร์ พัทยา จ.ชลบุรี

วันที่ 3 ตอนเช้า เราจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้แผนการทำงานที่เตรียมมาติดไว้ข้างฝาผนัง
ดังรูป








ด้วยเวลาเพียง 3 ชั่วโมง เราใช้เวลา 3 ชั่วโมงนำเสนอและแลกเปลี่ยนอภิปรายกันได้ 3 กลุ่ม ร่างแผนทั้งหมดสามารถสรุปได้ดังรูป Mind Map ด้านล่าง




จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แม้จะไม่ครบทุกทุกคน  แต่ก็มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ครับ

  • จากการถามที่ประชุมว่า แต่ละคนมีระดับความเข้าใจและมั่นใจ ในภารกิจ บทบาทหน้าที่ของตนเองสำหรับการทำงานปี 2557 มากน้อยเท่าใด  คำตอบมีค่าเฉลี่ย 3.09 จากคะแนนเต็ม 5 ..... ผมคิดว่าเป็นงานของฝ่ายบริหารที่ต้องทำความเข้าใจให้ได้อย่างน้อยระดับ 4 ก่อนที่จะเริ่มงาน ...
  • จากการแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า  ที่ต้องทำงานตามที่ได้ร่างไว้นั้น เพราะเป็นโยบาย ทำตามนโยบาย รวมทั้งฝ่ายที่รับผิดชอบเรื่องแผนเอง ก็เข้าใจว่า ที่ต้องทำแบบนั้นๆ  เพราะ สกอ. เป็นคนกำหนด ....  ตรงนี้ผมคิดว่า เราต้องคุยกันเรื่องทำอะไรเพื่อเป้าหมายที่แท้จริงมากขึ้น แน่นอน นั่นคือเป้าหมายที่แท้จริงของ สกอ. ด้วย   เราควรมาถกกันเรื่อง ลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตเมื่อเรียนจบ 30 หน่วยกิตของ GE 
  • ตัวแทนจากสำนักพิมพ์อยากทำ 3 งาน ในขณะที่ในแผนไม่ได้กล่าวชัดเจนตามที่พวกเขาอยากทำ ... ความจริงฝ่ายแผนเองก็เปิดโอกาสให้แก้ไขและเพิ่มเติมโครงการ ... ดังนั้น หากฝ่ายแผนที่อยากทำทั้งงานประจำคือผลิตตำราเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป งานที่อยากทำคืองานผลิตหนังสือหรือตำราที่มีคุณค่าต่อสังคม  และงานสร้างสื่อวิชาการและประชาสัมพันธ์จากคณะหรือ BP ของมหาวิทยาลัย ก็สามารถที่จะเพิ่มเติมเข้าไปในแผนฯ ได้ 
  • ปัญหาเรื้อรังของ GE คือ ปัญหาการลงทะเบียนเรียน ฝ่ายลงทะเบียนเล่าว่า  ได้รับนโยบายจาก ผอ.ว่า "เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะไม่มีนิสิต มายืนรอต่อแถว..."  หมายถึง ทำอย่างไร นิสิตจะลงทะเบียนได้ครบตามที่ต้องการ และลงได้ครบตามหลักสูตร  "อยากเรียนได้เรียน" .... การสนทนาใช้เวลาไม่น้อย แต่ไม่มีข้อสรุปว่าจะทำอย่างไรต่อ..... 
    • เคยมีการทำโครงการ "จองลงทะเบียน" แต่ประสบปัญหา เลยต้องระงับไป
    • ด้วยจำนวนการลงทเบียนต่อเทอมสูง 30,000 ที่นั่งต่อเทอม และรายวิชาส่วนใหญ่เปิดให้เลือกด้วย และห้องเรียนอาคารเรียนที่มีจำกัด ทำให้ปัญหานี้แก้ได้อยากแน่นอน 
บันทึกต่อไป จะนำข้อความเห็นของบุคลากร GE  มาวิเคราะห์กันครับ








ดูรุปทั้งหมดได้ที่นี่ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"