อาจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (๑๐) : ตัวอย่างการออกแบบ "คำถาม" ในการสอนแบบ Problem-based Learning (๔)

กลุ่มที่ ๔ รายวิชา การบริโภคเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

คำถามของกลุ่มนี้ มี ๓ ข้อ ดังนี้

๑) นิสิตรับประทานอาหารเช้าหรือไม่?  สุ่มนิสิตที่ยกมือและไม่ยกมือให้แสดงข้อดีข้อเสีย คล้ายโต้วาทีสักครู่ ... คาดว่าส่วนใหญ่นิสิตจะไม่รับประทานอาหารเช้า

๒) ถ้านิสิตจะรับประทานอาหารเช้า จะซื้อที่ไหน ถึงจะสามารถมาเรียนทันเวลา ๘.๐๐ น. ... นิสิตส่วนใหญ่จะบอกว่า ซื้ออาหารที่ร้านค้าสะดวกซื้อ

๓) อาหารที่เพื่อนเลือกซื้อนั้น ถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด? 

เมื่อถามผู้ฟังว่า "ผลลัพธ์" ที่กลุ่มนี้ตั้งไว้คืออะไร ได้คำตอบว่า
  • ความสำคัญของอาหารเช้า
  • การเลือกรับประทานอาหารเช้า
  • คุณค่าทางโภชนาการของอาหาร 
เฉลย : ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ คือ  อยากให้นิสิตสามารถแยกแยะและเลือกบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้อง  ไม่ใช่ junk food

วิพากษ์ :  สังเกตว่า การตั้งโจทย์เยอะเกินไป ทำให้ผู้ฟังเขวไปในประเด็นอื่น ๆ  ได้ง่าย  เข้าใจว่า ผู้ตั้งคำถามต้องการผนวกการสอนแบบ Active Learning กับ Problem-based Learning







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"