อาจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (๙) : ตัวอย่างการออกแบบ "คำถาม" ในการสอนแบบ Problem-based Learning (๓)

ผมได้ยินบ่อย ๆ จากเวทีครูเพื่อศิษย์ว่า "ถามคือสอน สะท้อนคือเรียน"  คำพูดนี้ดีมาก เพราะเน้นย้ำถึงสิ่งที่ครูอาจารย์ขาดมากที่สุด ๒ ประการ ๑ คือ ครูอาจารย์ส่วนใหญ่เรามักจะ "บอก" มากกว่า "ถาม" ผู้เรียนได้คิดน้อยกว่าเมื่อเรา "บอกความรู้" และถ้าใจของเขาไม่ได้อยู่เขาจะไม่ได้ฟัง จึงไม่เกิดการเรียนรู้ใด ๆ อีกประการซึ่งทำกันน้อยมาก คือ การให้ผู้เรียนสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองหลังเรียน  ถ้าเราปรับมาใช้การ "ถาม" และให้ "สะท้อน" ความมุ่งหวังที่จะ "ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน" จะสำเร็จแน่

ตัวอย่างคำถามของกลุ่มที่ ๓

รายวิชา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์

คำถาม : มนุษย์จะเดินบนเพดานเหมือนตุ๊กแกได้อย่างไร?

ที่มา คลิกที่นี่
 อ.ปริญญา เน้นว่า สิ่งที่เราควรให้ผู้เรียนสืบค้นค้นหา ควรมีทั้ง ๒ องค์ประกอบ  ๑ คือ ความรู้อะไรที่ต้องใช้ และ ๒ จะใช้ความรู้นั้นอย่างไร? มีอาจารย์กลุ่มอื่น ๆ ตอบดังนี้ครับ

  • ต้องรู้ว่าตีนตุ๊กแกทำงานอย่างไร ยึดเกาะได้อย่างไร 
  • อาจเกี่ยวกับระบบประสาทของการมองเห็นของตุ๊กแก  เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ตุ๊กแกเดินแบบนั้น ... คือ ทำไมตุ๊กแกต้องเดินแบบนั้น?
  • รู้วิธีสร้างเครื่องมือโดยใช้หลักการจากตีนตุ๊กแก เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ 
เฉลย : ผลลัพธ์ที่ต้องการคือ หลักการทำงานของตีนตุ๊กแก  และนำหลักการทำงานนั้นไปใช้

ที่มา: คลิกที่นี่

ท่านผู้อ่านคิดว่า การออกแบบคำถามนี้เป็นอย่างไรครับ?  ถ้าเต็ม ๑๐ คะแนน จะให้กี่คะแนนครับ  อ.ปริญญาท่านบอกว่า ให้ ๗ คะแนน ถ้าจะได้ ๙ คะแนน อาจเปลี่ยนเป็น

คำถาม : ถ้านาย ก. จะออกแบบถุงมือ ให้สามารถเกาะไปตามเพดานได้เหมือนตีนตุ๊กแก เขาจะทำอย่างไร

หลังจากผมฟังการนำเสนอแล้ว มีประเด็นผุดในใจเกี่ยวกับ ความรู้ความเข้าใจของเราว่า อะไรคือขอบเขตเนื้อหาของรายวิชาศึกษาทั่วไป (GE) ที่เรากำลังสอนหรือไม่ ?

หากกลุ่มที่ ๓ ตั้งเป้าหมาย "ผลลัพธ์" ว่า ผู้เรียนจะได้รับแรงบันดาลใจและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความรู้และเทคโนโลยีจากการเรียนรู้และเลียนแบบธรรมชาติ  ....  แบบนี้ผมว่าใช่ GE เรามาถูกทาง

แต่ถ้ากลุ่มที่ ๓ เน้นไปที่ "ความรู้" ว่า ตีนตุ๊กแกเกาะเพดานได้อย่างไร แล้วไปทดสอบว่าผู้เรียนรู้หรือไม่รู้เรื่องนี้ในการทดสอบ ... แบบนี้ ผมว่าไม่ใช่ GE เป็นการมุ่งความรู้เฉพาะเกินไป ความรู้แบบนี้มีมากมายมหาศาล ไม่สามารถเรียนได้หมด ....

ท่านผู้อ่านว่าไงครับ


 ดูคลิปการอบรมได้ที่นี่ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"