อาจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (๖) : คำถามฝากจากอาจารย์ผู้สอน
สิ่งที่เกิดขึ้นกับครูอาจารย์ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การแย่งครูอาจารย์จากการสอนศิษย์ การอบรมพัฒนาไปเบียดเวลาสอนหรือเตรียมการสอน จนเป็นที่มาของวลี "คืนครูให้นักเรียน" ดังที่ทุกท่านต้องเคยได้ยิน
ผมในฐานะตัวแทนสำนักศึกษาทั่วไป ที่รับผิดชอบเรื่องการจัดหลักสูตรพัฒนาอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ตั้งใจว่าจะระวังอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยปัญหาเดิม ยกเว้นแต่กรณีที่ไม่มีทางเลือกวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง ไม่สามารถเลี่ยงเวลาได้ ดังเช่น ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล เป็นต้น
การอบรมอาจารย์ผู้สอนในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๘ (ดีคลิปเฟสที่นี่ และ ที่นี่) มีอาจารย์จำนวนมากที่ติดภาระงานสอน และจำเป็นต้องออกไปสอนในช่วงบ่าย อาจารย์บางท่าน ทั้งประทับใจและเกรงใจวิทยากรถึงขั้นที่ท่านจัดการงดสอนและนัดชดเชยในภายหลัง เพื่ออาจารย์ท่านหนึ่งฝากคำถามไว้ ถาม อ.ปริญญา ในช่วงบ่าย
ผมเห็นว่าคำถามของท่านอาจารย์ที่ฝากไว้น่าสนใจ และ ยิ่งคำตอบของ อ.ปริญญา ยิ่งน่าสนใจ จึงขอนำมาบันทึกไว้ตรงนี้
คำถามคือ ในระดับมหาวิทยาลัย Input-based Education ที่ใช้วิธีการ Lecture (บรรยาย) ควรจะเลิกใช้ แล้วหันมาใช้ Outcome-based Education เช่น ใช้การสอนแบบ Active Learning (รวม Problem-based Learning หรือ Project-based Learning) ใช่หรือไม่?
อ.ปริญญา ท่านตอบแบบแทบจะทันที ด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น ว่า "ใช่ครับ" .... "อาจารย์อย่าไปเสียดาย ... แล้วเปลี่ยนจาก Lecture ก่อน เป็น Lecture หลัง ... ให้คิดก่อน ... เราต้องฝึกให้เขาค้นหาและใช้ความรู้อย่างชาญฉลาด ... หลักการคือ Lecture นั้น ให้มีได้ แต่มีให้น้อยลง...."
"... ต่อให้ Lecture ดีแค่ไหน สุดท้ายก็ยังอยู่แค่ชีทส์เลคเชอร์ ... ดังนั้น เราก็ไปเขียนให้ดีเลย... เปิดเทอมมาก็แจกไฟล์ไปเลย... แล้วให้มาสอบ .... แต่นั่นไม่ใช่เป้าหมายของการศึกษา ... เราต้องการพัฒนาทักษะการคิด การค้นหา การเข้าหาความรู้ และการใช้ความรู้ ต่างหาก..."
ผมในฐานะตัวแทนสำนักศึกษาทั่วไป ที่รับผิดชอบเรื่องการจัดหลักสูตรพัฒนาอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ตั้งใจว่าจะระวังอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยปัญหาเดิม ยกเว้นแต่กรณีที่ไม่มีทางเลือกวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง ไม่สามารถเลี่ยงเวลาได้ ดังเช่น ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล เป็นต้น
การอบรมอาจารย์ผู้สอนในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๘ (ดีคลิปเฟสที่นี่ และ ที่นี่) มีอาจารย์จำนวนมากที่ติดภาระงานสอน และจำเป็นต้องออกไปสอนในช่วงบ่าย อาจารย์บางท่าน ทั้งประทับใจและเกรงใจวิทยากรถึงขั้นที่ท่านจัดการงดสอนและนัดชดเชยในภายหลัง เพื่ออาจารย์ท่านหนึ่งฝากคำถามไว้ ถาม อ.ปริญญา ในช่วงบ่าย
ผมเห็นว่าคำถามของท่านอาจารย์ที่ฝากไว้น่าสนใจ และ ยิ่งคำตอบของ อ.ปริญญา ยิ่งน่าสนใจ จึงขอนำมาบันทึกไว้ตรงนี้
คำถามคือ ในระดับมหาวิทยาลัย Input-based Education ที่ใช้วิธีการ Lecture (บรรยาย) ควรจะเลิกใช้ แล้วหันมาใช้ Outcome-based Education เช่น ใช้การสอนแบบ Active Learning (รวม Problem-based Learning หรือ Project-based Learning) ใช่หรือไม่?
อ.ปริญญา ท่านตอบแบบแทบจะทันที ด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น ว่า "ใช่ครับ" .... "อาจารย์อย่าไปเสียดาย ... แล้วเปลี่ยนจาก Lecture ก่อน เป็น Lecture หลัง ... ให้คิดก่อน ... เราต้องฝึกให้เขาค้นหาและใช้ความรู้อย่างชาญฉลาด ... หลักการคือ Lecture นั้น ให้มีได้ แต่มีให้น้อยลง...."
"... ต่อให้ Lecture ดีแค่ไหน สุดท้ายก็ยังอยู่แค่ชีทส์เลคเชอร์ ... ดังนั้น เราก็ไปเขียนให้ดีเลย... เปิดเทอมมาก็แจกไฟล์ไปเลย... แล้วให้มาสอบ .... แต่นั่นไม่ใช่เป้าหมายของการศึกษา ... เราต้องการพัฒนาทักษะการคิด การค้นหา การเข้าหาความรู้ และการใช้ความรู้ ต่างหาก..."
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น