อาจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (๕) : การสอนในมหาวิทยาลัยมีปัญหาอย่างไรไหม?


เทคนิคการ "กระตุกให้คิด" แบบที่อาจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ทำกับอาจารย์ผู้เข้าร่วมการอบรมฯ ในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๐ (อ่านได้ที่นี่) น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการ "เปลี่ยนวิธีสอน" ของอาจารย์หลายท่านได้ และวิธีเดียวกันนี้ น่าจะถูกนำไปใช้ในการ "เปลี่ยนวิธีเรียน" ของนิสิตได้เช่นกัน 

ท่านให้ดูภาพนี้ครับ




แล้วตั้งคำถามว่า การศึกษาแบบเดิมที่เราทำอยู่ ครูในโรงเรียนแห่งหนึ่งให้นักเรียนกางร่มในห้องเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียนลอกกัน และข่าวมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ใช้กระดาษทำหมวกครอบตา (เหมือนม้าลำปาง) ด้วยเหตุผลเดียวกัน แบบนี้เป็นปัญหาไหม? ... ถ้าคิดว่าเป็นปัญหา อะไรคือปัญหา? ... การทดสอบเป็นปัญหาไหม?

ผมเข้าใจว่า ปราชญ์ ผู้รู้ หรือครูที่เก่ง ๆ มากมาย จะคล้ายกันตรงที่ ท่านเหล่านั้นจะสามารถแยกแยะ "เหตุ" ออกจาก "ผล" ได้ชัดเจนมากกว่าคนทั่วไป

การประเมินผลด้วยการทดสอบแบบไม่ให้ลอกกันนั้น ถามว่า คะแนนคือ "เป้าหมาย" หรือ "เครื่องมือ"  "การสอบ" เป็นส่วนหนึ่งของ "การเรียน" หรือไม่?  การเรียนแต่ละวิชาของอาจารย์นั้นสิ้นสุดเมื่อใด เมื่อปิดคลาส หรือเมื่อ สอบปลายภาคเสร็จ?  ถ้า "การสอบ" เป็นส่วนหนึ่งของการเรียน ผู้เรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เขาตอบในการสอบนั้นถูกหรือผิด ตรงไหนได้คะแนน ตรงไหนไม่ได้คะแนน? ... เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว ท่านคิดว่า เราควรจะสอบ "วัดความรู้" หรือ "วัดการใช้ความรู้" ?่

การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนโดยเร็ว ... น้อง ๆ หลายคนที่ผมรู้จัก ต่างกำลังค้นหาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับ "ลูกศิษย์" พวกเขาก้าวไปไกลว่า การเอาผลลัพธ์เป็นฐาน ใช่ครับครูอาจารย์ต้องเอา "ลูกศิษย์เป็นฐาน"

...ผมเรียกพวกเขาว่า "ครูเพื่อศิษย์"  ขอบูชาถึงความห่วงใยต่อลูกศิษย์ของ "ครูเพื่อศิษย์" ครับ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"