PLC_CADL_018 : AAR กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์รายวิชาศึกษาทั่วไป ครั้งที่ 1/2557

วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๗ ศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ (CADL) สำนักศึกษาทั้่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับโอกาสสำคัญจาก อาจารย์ ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ มาร่วมเสวนาในหัวเรื่อง "วิถีสู่การรู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข" โดยมี ผศ.ดร.อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน เป็นวิทยากรร่วม และมี ผศ.ธีระพงษ์ มีไธสง เป็นผู้ดำเนินรายการ กลุ่มเป้าหมายเป็นนิสิตที่ลงทะเบียนรายวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ และผู้สนใจ เราใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ ๓ ชั่วโมงในบ่ายของวันสุดท้ายของเดือนแรกนี้ เพื่อการบ่มเพาะความดีในใจนิสิต


วันนี้ (จันทร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗) เราทำ AAR ในทีมของเรา เพื่อเก็บไว้ใช้ในการทำกิจกรรมคล้ายกันนี้ครั้งที่ ๒/๒๕๕๗ ต่อไป


สิ่งที่บรรลุตามความคาดหวัง
  • ทีมเราเองแต่ละคนได้เรียนรู้จากภายในครับ 
    • คุณอ้อประทับใจอาจารย์ประมวลมากๆๆ  "...อ้อไม่เคยคิดว่า จะมีคนที่มองโลกในแง่บวกขนาดนี้อยู่จริงๆ..." 
    • คุณเสือบอกว่า ได้ข้อคิดที่ว่า คนเรานี่ไม่ควรใส่ใจอะไรหรือจริงจังอะไรมากเสียจนลืม ตัวตน เป้าหมาย หรือความหมายที่แท้จริงๆ ของชีวิต  คุณเสือคิดถึงตอนที่ อ.ประมวลตื่นขึ้นมาแล้วพบว่ามีหมายไม่มีขนมานอนเป็นเพื่อนๆ แทนที่จะตกใจขยะแขยง แต่ อ.ประมวลกลับรู้สึกขอบคุณหมาที่รับตนเป็นเพื่อน..... 
    • อีกตอนหนึ่งที่คุณเสือประทับใจคือตอนที่ อ.ประมวลได้ยินเสียงบ่นของคนเก็บขยะคนหนึ่งที่ถูกขโมยขวดพลาสติกที่เขาสะสมไว้ขายว่า "...ทำไมต้องขโมยถุงใส่ขวดพลาสติกไปด้วย...แล้วขวดที่ได้มาวันนี้จะเอาไว้ที่ไหน.." 
    • ส่วนผมเองประทับใจ และได้เรียนรู้มากมายครับ  อ่านได้ที่นี่
  • ผมคิดว่า อ.อภิญวัฒน์ อ.ธีระพงษ์ และอีกท่านคือ ผศ.ดร.ฉลอง พันธ์จันทร์ อาจารย์ประจำสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคามของเราเอง น่าจะได้ประโยชน์มากจาก อ.ประมวล โดยเฉพาะได้ฝากท่านช่วยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิดูหลักสูตร ป.ไท-เอก ให้ด้วย เราได้จัดให้ท่านทั้งหมดนี้ได้สนทนากันอย่างผ่อนคลายกันที่ร้านกาแฟรื่นรม (หน้าคณะวิศวะ) ดังรูป 



  • นิสิตจากสาขาสังคมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ ชื่อ นายธีรธรรม วงศ์สา ผมรู้ตอนหลังว่าเขาเป็ฯศิลปินมืออาชีพจากวง "ผ้าขาวม้า" (ดูที่นี่ครับ) ติดต่อเรามาบอกว่าขออาสามาแสดงก่อนเริ่มงาน ซึ่งทำให้ผมทึ่งเอามากที่เดียว หลังแสดงเสร็จเรามานั่งฟัง อ.ประมวล ด้วยกัน ... ผมว่าเขาได้ประโยชน์จาก Role Model ในใจ ไม่มากก็ไม่น้อยแน่นอน

  • นิสิตที่เข้าฟังแม้ไม่มากตามเป้า แต่ผมว่าเขาก็จะได้ประโยชน์ได้เรียนรู้ข้อคิดที่จะนำไปปรับใช้ในชีวิตแน่นอน... เมื่อสรุปแบบสอบถามเสร็จ จะมาอัปเดท ความเห็นของพวกเขานะครับ




  • ผมคิดว่าเราน่าจะได้ทั้งเครือข่ายภายในและภายนอก ได้ทั้งระดับนิสิตและอาจารย์ ... ภายนอกหมายถึง ท่าน อ.ประมวล และ อ.สมปอง ภายในหมายถึงคณาจารย์ ที่เราเชิญมาเป็นวิทยากร เราได้ทำกิจกรรมร่วมกัน นิสิตกลุ่มสุดท้ายที่อยู่จนจบงาน เราขออีเมล์ของนิสิตเหล่านั้นทุกคนเพื่อประสานให้เป็นเครือข่ายคนดีศรี มมส. ต่อไป 

สิ่งที่ไม่บรรลุความคาดหวังและสาเหตุของปัญหา
  • จำนวนนิสิตที่เข้าฟังรวมทั้งสิ้น ๔๘๗ คน ต่ำกว่าเป้าหมาย ๑,๒๐๐ คน ทั้งที่เรามีวิธีการสำรวจขอรายชื่อนิสิตมาไว้ก่อน แล้วให้ลงทะเบียนโดยการเซ็นชื่อเข้าร่วมงาน รายชื่อผู้ที่มาร่วมกิจกรรมจะถูกส่งไปยังอาจารย์ผู้สอนวิชาศึกษาทั่วไปนั้นๆ เพื่อเป็นคะแนนเก็บส่วนหนึ่งในการประเมินผลกิจกรรมของรายวิชา  ปัญหาที่เราพบได้แก่ 
    • นิสิตมาเซ็นต์ชื่อลงทะเบียน แต่ไม่เข้าร่วมงาน หนีไปทั้งๆ ที่เป็นเวลาเดียวกับเวลาเรียน แสดงถึงการไม่เห็นความสำคัญ ไม่เป็นนักเรียนรู้ 
    • การประชาสัมพันธ์น้อยเกินไป และใช้ระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์สั้นเกินไป 
    • การทำหนังสือบันทึกข้อความแจ้งอาจารย์ นั้นไม่ได้ผล เมื่อโทรศัพท์ติดตาม อาจารย์หลายท่านบอกว่า ไม่ทราบเรื่อง 
    • ขาดเครือข่ายเดิม การดำเนินการครั้งนี้ใช้การประชาสัมพันธ์แบบเป็นทางการ ยังไม่มีเครือข่ายภายใน 
  • สถานที่ประชุมยังขาดที่รับรองวิทยากร ทำให้ท่านต้องไปนั่งในเก้าอี้แถวหน้าสุดก่อน ....แม้ อ.ประมวล ท่านจะไม่มีประสงค์ใดๆ ที่จะทำให้ใครลำบาก แต่เราก็ควรจัดที่รับรองก่อนขึ้นเสวนา
  • เรื่องงบประมาณ เราตั้งงบประมาณไว้ไม่ยืดหยุ่นเท่าที่ควร หรือไม่ได้เตรียมแผนป้องกันมากพอ จึงไม่สามารถปรับค่าเดินทางให้ยืดหยุ่นสอดคล้องกับแผนการเดินทางของวิทยากร
  • การกล่าวรายงานของผมต้องปรับปรุง อ่านตามคลิปที่ตนเองร่างอย่างดีแล้วก็พอ ไม่ต้องพูดเสริม...ฮา)
  • เวลาที่จัดเสวนาตรงกับเวลาเรียนวิชาอื่น (สำหรับนิสิตทั่วไปที่สนใจ) อยู่ในช่วงปลายของเทอม แม้จะเหลือเวลาอีก ๓ อาทิตย์ แต่เป็นช่วงที่อาจารย์เร่งสอนให้ครบตามเนื้อหา จึงไม่อนุญาตให้นิสิตมาร่วมกิจกรรม
ในการจัดกิจกรรมลักษณะนี้ครั้งถัดไป จะต้อง
  •  ขยายขอบเขตของกลุ่มเป้าหมายเป็นทุกคนที่สนใจในเขตจังหวัดมหาสารคาม และโรงเรียนต่างๆ ในเครือข่าย 
  • จัดให้มีการยืนยันด้วยตนเอง (สมัครใจ) ด้วยทางตรง (ด้วยอีเมล์ ฯลฯ) หรือทางอ้อม (ผ่านอาจารย์ผู้สอน) 
  • ตรวจสอบวิธีการและเส้นทางการเดินทาง ๕ ก่อนวันงานอีกครั้ง เพื่อจัดทำงบประมาณเพิ่มเติม


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"