CADL กับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓ : บทสรุปผู้บริหาร
บทสรุปผู้บริหาร
การสร้างเครือข่ายหนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ในเขตพื้นที่
๑ ปัญหาและความสำคัญ
มีข้อเท็จจริงอย่างน้อย ๓ ประการ
เกี่ยวกับลักษณะของระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ที่ทุกท่านจะต้องให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างเร่งด่วน
ได้แก่ ๑) เป็นแบบกระบวนการแยกส่วน ๒) เป็นระบบเน้นการแข่งขันมากกว่าความร่วมมือ
และ ๓) เป็นแบบเรียนวิชามากกว่าเรียนชีวิต
หน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาแยกส่วนจากกันค่อนข้างชัดเจน
มหาวิทยาลัยมีระบบการคัดเลือกนักศึกษาของตนเองด้วยการทดสอบที่ตนเองจัดทำขึ้น
(ระบบสอบโควต้า) มีส่วนในการพัฒนาการเรียนรู้ในโรงเรียนน้อยมาก แม้จะเป็นผู้ผลิตบุคลากรทางการศึกษาสู่สังคม
แต่เมื่อไม่ได้ติดตามพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาคุณภาพการศึกษาตกต่ำ
เกิดการกล่าวโทษกันไปมา ดังที่ทราบกันทั่วไป....อาจารย์มหาวิทยาลัยโทษอาจารย์มัธยม
อาจารย์มัธยมโทษครูประถม
ครูประถมโทษอาจารย์มหาวิทยาลัย
ความเหลื่อมล้ำของสังคมทั้งทางด้านฐานะและรายได้
ทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันหรือคณะวิชาที่มีเกียรติในสังคมหรือที่สร้างรายได้ให้กับตนเอง
ระบบการรับนักศึกษาแบบ “รอรับ รอคัดเลือก”
ด้วยข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
ทำให้ผู้ปกครองและโรงเรียนต้องดิ้นรนสนับสนุนให้ลูกหลานเตรียมตัวสอบตามโรงเรียนกวดวิชา
เรียนพิเศษนอกเวลามากขึ้น หรือแม้แต่จัดโครงการติวในโรงเรียนอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้โรงเรียนหรือรวมถึงนักเรียน
ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนในห้องเรียน
การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนที่ไม่ได้มุ่งเป้าเพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลาง
๒๕๕๑ ส่งผลให้ผลการทดสอบ O-Net ต่ำลง ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มุ่งเพิ่มคะแนน
O-Net อย่างเร่งรีบ ทำให้หลายโรงเรียนยิ่งสนับสนุนให้มีการ
“ติว O-Net” ซึ่งไม่ได้พัฒนาคุณภาพของนักเรียนอย่างแท้จริง
ในขณะที่การแข่งขันระหว่างแต่ละสถาบันที่เพิ่มจำนวนรับนักศึกษามากขึ้น
ส่งผลให้คุณภาพของนิสิตใหม่ที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมหาสารคามต่ำลง การพัฒนานิสิตให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยจึงเป็นเรื่องลำบากยิ่งขึ้น
๒ แนวคิดในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ในเขตพื้นที่
แนวทางการแก้ปัญหาคุณภาพของนักเรียนที่ศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้
(Center of Academic Development for Learning) หรือ CADL สำนักศึกษาทั่วไปดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ คือ
การสร้างเครือข่ายหนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ในเขตพื้นที่ (Local
Learning Enrichment Network) หรือ LLEN เพื่อระดมสรรพกำลังในเขตพื้นที่
จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
ช่วยสนับสนุนหรือส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้แบบ “รู้จริง” (Mastery
Learning) ขึ้นในโรงเรียน
แนวคิดคือการเชื่อมโยงเครือข่ายการพัฒนาการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษาคือมหาวิทยาลัย
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สพป. สพม. อบจ. และเทศบาลเมืองมหาสารคาม
และระดับชุมชนและสังคม ให้เกิดความร่วมมือกันหลากหลายแบบเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่
๒๑ ให้เกิดกับผู้เรียน โดยการดำเนินการ ๔ ด้าน ได้แก่ ๑)
ด้านการพัฒนาระบบมาตรฐานการประเมินผลสัมฤทธิ์ ๒) ด้านการพัฒนาหลักสูตร ๓) ด้านการพัฒนาครู และ
๔) ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา
ตามแนวคิดนี้
มหาวิทยาลัยจะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม โดยการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาการศึกษาและมีเป้าหมายที่จะพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
เป็นที่พึ่งของสังคมด้านความรู้ วิทยาการ หรือเป็นที่พึ่งด้าน “ปัญญา” ดังคำปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่มุ่งผลิตให้บัณฑิต
“ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน”
๓ ศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ สำนักศึกษาทั่วไป
ศูนย์พัฒนาวิชการเพื่อการเรียนรู้ (Center of
Academic Development for Learning: CADL) ที่เป็นส่วนงานหนึ่งของสำนักศึกษาทั่วไป
มีภารกิจสำคัญคือการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
โดยใช้การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) เป็นเครื่องมือในดำเนินการใน
๓ แนวทางหลัก ได้แก่ ๑) นักสร้างเครือข่าย ๒) นักขับเคลื่อน และ ๓) นักวิชาการ
การสร้างเครือข่ายวิชาการเพื่อการเรียนรู้
เป้าหมายสำคัญของศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ (CADL)
คือ การสร้างเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ในเขตพื้นที่ที่เรียกว่า
เครือข่าย LLEN (Local Learning Enrichment Network) เพื่อทำหน้าที่ประสานสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของชุมชนและสังคม
ได้แก่ มหาวิทยาลัย ชุมชน ผู้ปกครอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมือง ฯลฯ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา
และส่งเสริมการสร้างความร่วมมือของครู หรือ ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional
Learning Community: PLC) ทั้งแบบ PLC ชั้นนอก
ที่เป็นกิจกรรมความร่วมมือระหว่างครูต่างโรงเรียน
ในกลุ่มสาระเดียวกันหรือช่วงชั้นเดียวกัน และทั้งแบบ PLC ชั้นใน
ที่เป็นหัวใจหลักของการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เป้าหมายสำคัญของ PLC
คือ การร่วมมือกันพัฒนาการเรียนรู้ การออกแบบการเรียน การสอน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑
หรือทักษะอนาคตในบริบทของตนเอง โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติ
การขับเคลื่อนทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ในบริบทไทย
เป้าหมายสำคัญของ PLC คือ การร่วมมือกันออกแบบและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ในบริบทของตนเอง
แนวคิดในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายนี้คือ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิด
และหลักปฏิบัติ ในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ หรือเรียกว่า
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (ปศพพ.ด้านการศึกษา)
ปัญหาของการเรียนรู้ในปัจจุบันคือ ไม่เน้นคิดแต่เน้นจำ
ไม่เน้นทำแต่เน้นท่อง ไม่เน้นทดลองผิดถูก เน้นแต่ปลูกฝังเชื่อไว ไม่เน้นนำไปใช้
"เรียนชีวิต" แต่หลงติดแยกส่วน "เรียนวิชา"
"เน้นเนื้อหาไม่เน้นกระบวนการเรียนรู้" เป็นการเรียนเดี่ยวไม่ร่วมมือ
หลักสำคัญที่เราต้องยึดถือปฏิบัติ ในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เหล่านี้คือ
ปศพพ.ด้านการศึกษา ที่ต้อง เข้าใจ เข้าถึง แล้วจึงพัฒนา
วิธีการคือส่งเสริมให้เรียนอย่างเป็นองค์รวม
เชื่อมโยงห้องเรียน (Classroom) กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ (Activities) และ ชีวิตจริง (Life) เข้าด้วยกัน
ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้น กระบวนการเรียนรู้แบบรู้จริง เน้นการลงมือทำ ลงมือปฏิบัติจริง (Action) และจัดกิจกรรมให้มีทดลองใช้หรือนำไปปรับใช้ในชีวิตจริง
และได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม มีการสื่อสารเกิดเป็นชุมชนนักปฏิบัติ (Community
of Practice)
สำหรับบทบาทนักขับเคลื่อนฯ ทีม CADL เป็น"คุณอำนวย" ที่มีบทบาทในลักษณะวิทยากรกระบวนการ หรือเรียกว่า
"กระบวนกร" เป็น "คุณกิจ"
ทำหน้าที่ออกแบบกิจกรรมและกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้รู้และเข้าใจ ปศพพ.
ด้านการศึกษา สร้างแรงบันดาลใจในการนำไปปฏิบัติกับตนเอง
และนำผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจไปเผยแพร่ขยายผลสู่ผู้อื่น
โดยมุ่งเป้าไปยังโรงเรียนในโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิสยามกัมมาจล
และนิสิตในโครงการเด็กดีมีที่เรียนเป็นอันดับแรก
ส่วนบทบาทนักวิชาการ CADL เน้นการรายงานผ่านบันทึกการทำงาน
การสะท้อนผล และเขียนบทสังเคราะห์ชี้นำแนวทางขับเคลื่อนฯ ผ่านสื่อในสังคมออนไลน์ Facebook
กลุ่ม "SEEN อีสาน" และ เว็บไซต์ของมูลนิธิสยามกัมมาจล
http://www.scbfoundation.com/ และ http://www.gotoknow.org/blog/porpieng
๑ การดำเนินงานที่ผ่านมา
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานด้านการศึกษาต่างๆ
แล้ว ๖ แห่ง ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๖ มหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม
เขต ๑, ๒, ๓ องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(อบจ.) มหาสารคาม และเทศบาลเมืองมหาสารคาม นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับหน่วยงานเอกชนอีก
๒ แห่ง คือ มูลนิธิสยามกัมมาจล ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาเขตพื้นที่อีสานตอนบน
และบริษัทโตโยต้ามหาสารคาม (๑๙๙๒)ฯ เข้ามาร่วมสนับสนุนการแข่งขันทักษะทางวิชการ
เป็นต้น โดย CADL ทำหน้าที่เป็นทั้ง
"คุณเอื้อ" และ "คุณอำนวย"
อำนวยให้เกิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายหนุนเสริมการขับเคลื่อนฯ
ขึ้นในพื้นที่ ดำเนินโครงการต่างๆ โดยมีคณะกรรมการ LLEN และคณะกรรมการ
CADL (ดังรายละเอียดในเอกสารแนบ)
มีโรงเรียนในเครือข่ายจำนวน ๙๒ โรงเรียน
เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังมหาสารคามจำนวน ๕๖แห่ง สังกัด สพม. ๓๕ โรงเรียน
สังกัด อบจ. ๒๐ โรงเรียน และสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม ๑ โรงเรียน โรงเรียนประถมศึกษาจำนวน
๑๔ โรงเรียน และโรงเรียนจังหวัดอื่นๆ อีก ๓๖
แห่ง เป็นโรงเรียนสังกัด สพป. เขต ๑ กาฬสินธุ์ ๑๒ โรงเรียน
และโรงเรียนในโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา จำนวน ๒๔
แห่ง
มีโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้วและที่กำลังดำเนินการอยู่จำนวน
๔ โครงการ ตลอดระยะเวลา ๔ ปี ที่ผ่านมา ดังตาราง ได้แก่
๑)
โครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้
ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม (LLEN MSU)
๒)
โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถาบันการศึกษา
พื้นที่อีสานตอนบน
๓)
โครงการพัฒนาครูทั้งระบบร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม
เขต ๓
๔)
โครงการพัฒนาครูทั้งระบบร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์
เขต ๑
๕)
โครงการสืบสานพระราชดำริ ประจำปี
๒๕๕๖ พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์
หมายเหตุ โครงการที่ ๒
อยู่ระหว่างการสรุปและเขียนรายงานโครงการ โครงการ ๑, ๓-๕ ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
ลำดับที่
|
ระยะเวลาดำเนินงาน
|
ชื่อโครงการ
|
จำนวนงบประมาณ
ที่ดำเนินโครงการ
|
หน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ
|
งบประมาณ
ที่จัดสรร
ให้มหาวิทยาลัย (๑๐%)
|
๑
|
๑ เมษายน ๒๕๕๓ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔
|
โครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้
ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม (LLEN MSU)
|
๓,๐๙๒,๘๐๐ บาท
(สามล้านเก้าหมื่นสองพันแปดร้อย
บาทถ้วน)
|
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(สกว.)
|
๑๓๙,๘๐๐ บาท
(หนึ่งแสนสามหมื่นเก้าพันแปดร้อยบาทถ้วน)
|
๒
|
พฤษภาคม ๒๕๕๕
- ตุลาคม ๒๕๕๖
|
โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถาบันการศึกษา
พื้นที่อีสานตอนบน
|
๒,๑๔๙,๐๗๒.๒๐ บาท
(สองล้านหนึ่งแสน
สี่หมื่นเก้าพันเจ็ดสิบสองบาทยี่สิบสตางค์)
|
|
๑๓๐,๑๗๐.๒๐ บาท
(หนึ่งแสนสามหมื่น
หนึ่งร้อยเจ็ดสิบบาทยี่สิบสตางค์)
|
๓
|
๑ เมษยน – ๑๕ กันยายน ๒๕๕๖
|
โครงการพัฒนาครูทั้งระบบร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต
๓
|
๕๐๐,๐๐๐ บาท
(ห้าแสนบาทถ้วน)
|
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระถมศึกษามหาสารคาม เขต
๓
|
๕๐,๐๐๐ บาท
(ห้าหมื่นบาทถ้วน) |
๔
|
๑ เมษยน – ๑๕ กันยายน ๒๕๕๖
|
โครงการพัฒนาครูทั้งระบบร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต
๑
|
๕๐๐,๐๐๐ บาท
(ห้าแสนบาทถ้วน)
|
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต
๑
|
๕๐,๐๐๐ บาท
(ห้าหมื่นบาทถ้วน) |
๕
|
๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ -
๓๐ นยายน ๒๕๕๖
|
โครงการสืบสานพระราชดำริ (๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
ร.ร.เขวาใหญ่พิทยาสรรค์
|
๑๐๐,๐๐๐ บาท
|
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
|
-
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น