บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2017

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๒-๒๕๕๙ (๑๔) : เรียนรู้แต่ละก้าวย่างสู่เส้นทางผู้นำ จาก นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม

รูปภาพ
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐  วันเดียวกับที่สำนักศึกษาทั่วไปเรียนเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามมาบรรยายพิเศษ หัวเรื่อง "แต่ละก้าวย่างสู่เส้นทางผู้นำสังคม" (ผมถอดบทเรียนจากการฟังท่านไว้ ที่นี่ ) ท่านนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม นพ.กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ก็ให้เกียรติและเมตตามาบรรยายในหัวข้อดังกล่าวเช่นกัน ... ท่านทั้งสองสวนทางกันตอนเราไปส่งท่านผู้ว่าที่หน้าลิฟท์ ผมตีความจากสิ่งที่ท่านเล่าให้ฟังว่า สิ่งที่ทำให้ท่านประสบความสำเร็จในชีวิตและสามารถช่วยเหลือสังคมและชุมชนได้มาก คือประสบการณ์จากการเป็นผู้นำนักศึกษา ท่านเป็นประธานสโมสรนิสิตแพทย์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นตอนสมัยเรียนหมอ ท่านเล่าว่า เรียนจบหมอใหม่ ๆ  เขาแต่งตั้งให้เป็นหมอใหญ่ประจำโรงพยาบาลเลย การทำงานอย่างเต็มที่ ปรับตัวให้เข้ากับคนในชุมชน พูดภาษาอีสานกับคนไข้ ประสบการณ์ตอนทำกิจกรรมนักศึกษา ทำให้ท่านสามารถเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาได้ราบรื่น เป็นที่ประทับใจของคนในชุมชน การช่วยเหลือชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตอนที่ท่านมาเป็นหมอที่โรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคาม คนที่เกิดในจังหวัดมหาสารคามส่วนใหญ่ ท่านเป็นหมอทำคลอดให้เกือบทุกคน ..

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๒-๒๕๕๙ (๑๓) : เรียนรู้ภาวะผู้นำจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัด

รูปภาพ
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ ท่าน เสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม (ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙) ให้เกียรติและความเมตตากับ นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ประจำภาคการศึกษา ๒-๒๕๕๙ มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเรื่อง "แต่ละก้าวย่างสู่การเป็นผู้นำสังคม" ในงานโครงการนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้ของรายวิชาฯ  ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีแรก ท่านใช้วิธีการบรรยายเชิง "ตกผลึก" ถอดเอาประสบการณ์เชิงลึกในการปฏิบัติของท่านมาเล่าให้นิสิตฟัง แม้เวลาจะเพียงชั่วโมงเศษ แต่การเตรียมตัวที่ดีมาก ทำให้เราได้องค์ความรู้ที่เป็น "บทเรียน" สำหรับการเรียนการสอนวิชาภาวะผู้นำในภาคเรียนต่อ ๆ ไป หัวเรื่องที่เรารบกวนท่านมาบรรยายคือ "แต่ละก้าวย่างสู่เส้นทางผู้นำสังคม" โดยแบ่งออกเป็น ๓ หัวข้อย่อย ได้แก่ เส้นทางสู่การเป็นผู้นำสังคมและชุมชน บทบาทหน้าที่ของผู้นำ และผู้นำแบบไหนที่สังคมไทยต้องการ ท่านผู้ว่าฯ ท่านบรรยายไปทีละประเด็นอย่างเป็นขั้นตอน ผู้ใฝ่เรียนสามารถฟังจากคลิปวีดีโอได้เองโดยคลิก ที่นี่ และ ที่นี่   สิ่งที่ประทับใจและจะนำไปบรรจุในเนื้อหาบทเรียนสำหรับนิสิตรุ่นต่อไป มีดังนี้ครับ

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๒-๒๕๕๙ (๑๒) : ๕๑ วิธีคิดของผู้นำอย่าง อิวะตะ มัตสึโอะ อดีตซีอีโอสตาร์บัคญี่ปุ่น

รูปภาพ
มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "๕๑ วิธีคิดของหัวหน้าที่ลูกน้องอยากทำงานด้วย" ที่เขียนโดยอิวะตะ มัตสึโอะ อดีตซีดีโอของ Starbucks Coffee Japan ที่ทำยอดขายได้สูงที่สุดในโลก สามารถพาบริษัททำยอดขายได้ทะลุแสนล้านเยนได้เป็นครั้งแรก  หน้าปกดังรูปนี้ครับ มีผู้เขียนบันทึกสรุปสาระสำคัญของทั้ง ๕๑ ข้อ ( ที่นี่ ) การเขียนตีความของผมต่อไปนี้ เจ้าของหนังสือ ผู้แปลหรือผู้จัดจำหน่ายคงจะได้ดประโยชน์ เปรียบเหมือนการส่งเสริมให้มีการแปลหนังสือที่มีคุณค่าต่อผู้ศึกษาตัดปัญหาเรื่องภาษาไป อีกมุมหนึ่งราคาหนังสืออาจจะลดลงได้อีก ในรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ มีนิสิตกลุ่มหนึ่งอยากจะทำโครงงานแบ่งปันสร้างสรรค์สังคมแห่งการอ่าน โดยจะเป็นผู้ประสานผ่านหนังสือดี ๆ จากผู้มีจิตจาคะสละให้ผู้รักการอ่านและขาดแคลน  เป็นไอเดียที่น่าสนใจมาก ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืนพอสมควร วิธีหนึ่งที่เสนอนิสิตคือ เขียนถอดบทเรียนจากหนังสือที่ตนเองประทับใจ ดังที่จะลองเขียนไว้เป็นตัวอย่างต่อไปนี้ การอ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผมรู้ว่า การจะเป็นผู้นำที่มีคนอยากทำงานด้วยนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไม่ใช่เรื่องที่สามารถเสแสร้งแกล้งสร้าง

CADL ขับเคลื่อน ปศพพ. ใน มมส. _๑๖: รายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง "งานมหกรรมนำเสนอ "ธุรกิจพอเพียง" (๒)

รูปภาพ
อีก ๔ วัน จะถึงวันมหกรรมนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนการสอน รายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ (วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐) คณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในมหาวิทยาลัย (ผมเขียนแนะนำไว้ ที่นี่ ) ประชุมกันอีกครั้งหนึ่งเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะซักซ้อมกันอีกทีเย็นวันที่ ๒๔ ตอน ๑๘.๐๐ น. ซึ่งได้นัดหมายกัน บันทึกนี้นำเอากำหนดการของงาน (ดาวน์โหลดได้ ที่นี่ ) ที่ปรับล่าสุดโดยวินัย ตาเมือง ผู้ประสานงานหลัก มาสรุปย่อให้อ่าน สื่อสารให้กระชับ เพื่อให้เข้าใจร่วมกัน  เผื่อจะมีประโยชน์ต่อผู้จะจัดงานต่อไปในภายหน้า กำหนดการ โครงการ : มหกรรมนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้รายวิชาส่งเสริมการเรียนรู้ปรัชญา     ของเศรษฐกิจพอเพียง: “ ธุรกิจพอเพียง ” วันที่ 25 เมษายน 2560 ณ ห้อง PH 504 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ. กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ****************************************** วันอังคารที่ 25 เมษายน 2560 เวลา 12.00 น.   กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการเดินทางถึง ห้องประชุม ห้อง PH 504 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ·       ลงทะเบียนร

CADL ขับเคลื่อน ปศพพ. ใน มมส. _๑๕: รายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง "งานมหกรรมนำเสนอ "ธุรกิจพอเพียง" (๑)

วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐ ที่กำลังจะถึงนี้ สำนักศึกษาทั่วไปร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดโครงการมหกรรมนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนการสอน ในหัวเรื่อง "ธุรกิจพอเพียง" และ "ผลงานการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต" โดยจะจัดขึ้น ณ ห้องประชุมใหญ่ (PH-504) อาคารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วัตถุประสงค์สำคัญคือ การเปิดโอกาสให้นิสิตได้ Show & Share ผลงานและผลการเรียนรู้ของตน หลังจากที่ได้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว และได้รับฟังและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เป็นผู้รวบรวมองค์ความรู้และผลงานของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ไว้มากที่สุด  รวมถึงเปิดโอกาสให้นิสิตได้ร่วมกันร้องของพ่อ ชมการแสดงบนเวทีจากศิลปินจิตอาสา และร่วมตั้งปณิธานสืบสานงานอันเนื่องมาจาก

CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_19: ค่ายพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ปี ๒๕๖๐ "รับน้องสร้างสรรค์" (๒)

รูปภาพ
บันทึกที่ ๑) หลังจากการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับความมุ่งหมายของโครงการเด็กดีมีที่เรียน มมส. และแนวทางการเรียนรู้ ปศพพ. และน้อมนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต คุณภาณุพงศ์ (พี่อุ้ม) ยังได้เชิญ นางสาวสัจจาพร พิลึก นิสิตทุนเศรษฐกิจพอเพียง ของมูลนิธิยุวสถิรคุณ และประธานรุ่นของสาขาการบัญชีและการตลาด มาเล่าประสบการณ์การน้อมนำ ปศพพ. ไปใช้ในการดำเนินชีวิตนิสิต พี่พิมบอกว่า พ่อแม่ของเรามักคาดหวังให้เราตั้งใจเรียน เรียนให้สูงที่สุด เรียนจบได้ใบปริญญาในสาขาที่มีหน้ามีตา มีเกียรติในสังคม ได้รับราชการเป็นเจ้าคนนายคน หรือสาขาที่ทำรายได้มาก ๆ หลายคนจึงอาจจะมาเรียนเพื่อพ่อแม่  แม้กระนั้นทุกคนต้องมีสิ่งที่คาดหวังของตนเอง ต้องมีเป้าหมายในชีวิตของตนเอง เพราะคนที่มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนจะประสบความสำเร็จมากกว่า หากคนเราไม่มีเป้าหมาย ไม่รู้ว่ามาเรียนเพื่ออะไร ชีวิตก็มักจะเรื่อยเปื่อย เที่ยวบ้างเรียนบ้าง แต่ถ้าเราชัดเจนในเป้าหมายชีวิตของตน จะทำให้รู้ว่าเราควรจะแบ่งเวลาอย่างไร  อยากให้ดูคลิปด้านล่าง มีเว็บไซต์ที่เขียนเรื่องราวในคลิปนี้ออกมาประกอบภาพวาดอย่างละเอียด อ่านได้ ที่นี่  ชมรมต้นกล้าพันธุ์น่าจะเอาวิธ

CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_18: ค่ายพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ปี ๒๕๖๐ "รับน้องสร้างสรรค์" (๑)

รูปภาพ
วันที่ ๗ - ๙ เมษายน ๒๕๖๐ ชมรมต้นกล้าพันธุ์ดี ร่วมกับ CADL สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดค่าย "รับน้องสร้างสรรค์" ณ ค่ายลูกเสือ โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ต.ดงใหญ่ อ.วาปี (ผมบันทึกการไป ร.ร.ดงใหญ่ฯ ครั้งแรกไว้ ที่นี่ ) ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ "ป่าดงใหญ่" ป่าชุมชนในพื้นที่ที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม  มีน้องจากโครงการเด็กดีมีที่เรียน ประจำปี ๒๕๖๐ ว่าที่นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน ๘๔ คน รุ่นพี่ในโครงการเด็กดีฯ ซึ่งตอนนี้รวมตัวกันเป็นชมรมต้นกล้าฯ ๓๐ คน และบุคลากรสำนักศึกษาทั่วไป ๕ คน รวมเกือบ ๑๒๐ คน ผม AAR ว่า ค่ายนี้ประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม กิจกรรมที่ชมรมต้นกล้าฯ ออกแบบขึ้น น่าจะถูก "ถอดบทเรียน" เป็น "หลักสูตรการทำค่ายรับน้องสร้างสรรค์" และแบ่งปันออกไป ขอขอบพระคุณผู้บริหารและบุคลากรของโรงเรียน โดยเฉพาะคุณครูสายใจ ปินะกาพัง คุณครูนุชรา โพธิ์ไทย และคุณครูทองใบ ปะวะเส ที่ให้การช่วยเหลือดูแลตลอดค่าย ๓ วัน ๒ คืน และพ่อปราชญ์ ก่อนจะถึงวันค่าย ผมกับคุณภาณุพงศ์ น้องเบล และพี่ริน ได้ไปตรวจดูพื้นที่มาก่อนแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒