KM ผู้ประสานงานรายวิชาศึกษาทั่วไป (๓) "ระดมปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ปีการศึกษา ๒๕๕๘" (ต่อ)
บันทึกที่ (๑)
บันทึกที่ (๒)
การจัดการเรียนการสอน
๑) การจัดสอบย้อนหลัง
ปัญหา ๑) : เป็นความยากลำบากของนิสิตในการตามหาอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้เซ็นชื่อใบแบบฟอร์มการขอสอบย้อนหลัง อาจารย์ก็ไม่สะดวกที่จะตัดสินใจให้สอบย้อนหลังหรือไม่ เนื่องจากระเบียบการอนุญาตนั้นไม่ชัดเจน และเหตุผลและหลักฐานของนิสิต โดยเฉพาะใบรับรองแพทย์นั้น ยากจะตรวจสอบ และบางแห่งได้มาโดยง่าย ... โดยภาพรวมคือ กระบวนการอนุมัติให้นิสิตสอบย้อนหลังนั้นซับซ้อนเกินไป สำนักศึกษาทั่วไปควรให้นิสิตส่งเรื่องถึงศึกษาทั่วไปโดยตรง แล้วแจ้งให้อาจารย์สอนของกลุ่มการเรียนนั้นทราบ เพื่อให้กรอกคะแนนสอบปลายภาคย้อนหลังต่อไป
คำชี้แจง : กระบวนการสอบย้อนหลัง เริ่มที่นิสิตมาติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักศึกษาทั่วไป เพื่อขอรับแบบฟอร์มขอสอบย้อนหลัง (เจ้าที่จะเข้าระบบสอบย้อนหลัง) โดยจะยื่นได้ใน ๒ กรณี ตามระเบียบมหาวิทยาลัย คือ ๑) ป่วย ให้ยื่นภายใน ๓ วันหลังสอบ ต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ระบุสาเหตุและอาการไว้อย่างชัดเจน และ ๒) กรณีต้องไปราชการสำคัญ ให้ยื่นล่วงหน้าอย่างน้อย ๓ วัน -> แล้วสั่งพิมพ์บันทึกข้อความที่เรียนถึงผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป เพราะตามระเบียบการวัดผลประเมินผลของมหาวิทยาลัย ผู้มีสิทธิ์อนุมัติให้สอบย้อนหลังได้คือคณบดีเท่านั้น ในกรณีรายวิชาศึกษาทั่วไป จึงต้องให้ผู้อำนวยการสำนักฯ อนุมัติเท่านั้น -> ในแบบฟอร์มบันทึกข้อความ จะกำหนดให้นิสิต แนบหลักฐาน แล้วนำไปยื่นให้อาจารย์ผู้สอนเซ็นรับรอง -> ก่อนจะนำกลับมายื่นให้สำนักฯ และรอการประกาศผลต่อไป
แนวทางแก้ไข : สำนักศึกษาทั่วไปจะตัดขั้นตอนที่นิสิตต้องนำบันทึกข้อความไปให้อาจารย์ผู้สอนเซ็นรับรองออกไป เพื่อความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะใช้วิธีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบย้อนหลังไปยังอาจารย์ เพื่อให้ทราบว่า ในกลุ่มการเรียนที่สอนนั้น มีนิสิตยื่นสอบย้อนหลังหรือไม่ เพื่อความรอบคอบในการตัดเกรดนิสิตต่อไป และจะดำเนินการปรับปรุงระเบียบของการขอสอบย้อนหลังให้เข้มงวดขึ้น อนุญาตเฉพาะนิสิตที่มีความจำเป็นเท่านั้น
๒) วิธีสอนและเทคนิคการสอน
ปัญหา ๑) : วิชาเดียวกันแต่สอนแตกต่างกัน
สรุปผลการแลกเปลี่ยน : ๑) สำนักศึกษาทั่วไปควรจัดเวทีพัฒนาอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนรู้และเข้าใจจุดมุ่งหมาย แผนการสอน วิธีประเมินผลร่วมกัน เช่น จัดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียน มคอ. ๓ ของรายวิชา ฯลฯ ๒) ควรพัฒนาเอกสารประกอบการสอนให้ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับแผนการสอนตาม มคอ.๓ และกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนยึดเป็นแนวทางร่วมกัน
ปัญหา ๒) : หนึ่งรายวิชามีอาจาารย์ผู้สอนหลายท่าน นิสิตสะท้อนว่า การเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง
ชี้แจง : รายวิชาศึกษาทั่วไปตามหลักสูตรใหม่ (พ.ศ. ๒๕๕๘) มีธรรมชาติของรายวิชาแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของแต่ละรายวิชา
ข้อตกลง : ให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปทุกท่าน เริ่มเช็คการเข้าเรียนตั้งแต่สัปดาห์แรกของการเรียนการสอน
๓) เอกสารประกอบการสอน
ปัญหา ๑) : รูปแบบของการเขียนยังไม่อยู่ในแบบฟอร์ม (องค์ประกอบ) และมาตรฐานเดียวกัน และบางวิชามีเนื้อหาเฉพาะสาขามากเกินไป บางวิชามีเนื้อหามากเกินไป
ข้อเสนอแนะ : สำนักศึกษาทั่วไป ควรดำเนินการร่วมกับอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการสอนให้อยู่รูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของรายวิชาศึกษาทั่วไป โดยด่วน
นัดหมาย : สำนักศึกษาทั่วไป นัดหมายประชุมร่วมกับอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา เพื่อร่วมกันพัฒนาเอกสารประกอบสอนให้ทันปีการศึกษา ๑/๒๕๕๙ ในวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙
ปัญหา ๒) กระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายเอกสารประกอบการสอนยังไม่ชัดเจน
คำชี้แจง : ในปีการศึกษา ๒๕๕๘- ๑/๒๕๕๙ นี้ สำนักศึกษาทั่วไป ขอยกเลิกกระบวนการผลิตเอกสารประกอบการสอนและจัดจำหน่ายซึ่งเคยปฏิบัติมา เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้ระงับการดำเนินของสำนักพิมพ์ไป และอยู่ในช่วงของการปรับปรุงเอกสารประกอบการสอนตามหลักสูตรปรับปรุงใหม่ อย่างไรก็ตาม เอกสารประกอบการสอนที่อาจารย์ผู้สอนจะผลิตขึ้นจำหน่ายเองนั้น ยังต้องให้สำนักศึกษาทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการกำหนดราคาขาย เพื่อไม่ให้ราคาสูงเกินไปซึ่งไม่เป็นธรรมต่อนิสิต โดยต้นฉบับต้องผ่านความเห็นชอบของสำนักศึกษาทั่วไป
ในกรณีที่อาจารย์ผู้สอนประสงค์จะให้ สำนักศึกษาทั่วไป ช่วยเหลือในการผลิต สามารถทำได้โดยการส่งต้นฉบับเอกสารประกอบการสอนมายังสำนักฯ สำนักศึกษาทั่วไปจะดำเนินการจัดรูปเล่มและส่งกลับให้ผู้ประสานงานรายวิชา เพื่อทำการแก้ไขจนได้ต้นฉบับที่พอใจ (ในเวลาที่กำหนด) แล้วสำนักฯ จะประสานไปยังโรงพิมพ์เพื่อต่อรองให้ได้ราคาต่ำที่สุดโดยใช้จำนวนจากประมาณการจากแนวโน้มการลงทะเบียนของนิสิต แล้วเชิญอาจารย์ผู้สอนมากำหนดราคาขายร่วมกัน ก่อนการจัดพิมพ์
ในการจำหน่ายเอกสารประกอบการสอนนั้น ในปีการศึกษา ๑/๒๕๕๙ นี้ สำนักศึกษาทั่วไปยังไม่สามารถดำเนินการขายได้ จึงมี ๒ ทางเลือก ได้แก่ ๑) นำไปฝากศูนย์หนังสือขาย ซึ่งต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการขาย (เคยจ่ายที่ ๗%) และ ๒) นำไปขายเอง ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น ให้นิสิต LA นำไปขายในชั้นเรียนคาบการเรียนแรก หรือให้นิสิตส่งตัวแทนมาซื้อที่ละมากๆ ซึ่งทั้งสองกรณีอาจให้ค่าตอบแทนในการขายกับผู้ขายตามสมควร ฯลฯ
บันทึกที่ (๒)
การจัดการเรียนการสอน
๑) การจัดสอบย้อนหลัง
ปัญหา ๑) : เป็นความยากลำบากของนิสิตในการตามหาอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้เซ็นชื่อใบแบบฟอร์มการขอสอบย้อนหลัง อาจารย์ก็ไม่สะดวกที่จะตัดสินใจให้สอบย้อนหลังหรือไม่ เนื่องจากระเบียบการอนุญาตนั้นไม่ชัดเจน และเหตุผลและหลักฐานของนิสิต โดยเฉพาะใบรับรองแพทย์นั้น ยากจะตรวจสอบ และบางแห่งได้มาโดยง่าย ... โดยภาพรวมคือ กระบวนการอนุมัติให้นิสิตสอบย้อนหลังนั้นซับซ้อนเกินไป สำนักศึกษาทั่วไปควรให้นิสิตส่งเรื่องถึงศึกษาทั่วไปโดยตรง แล้วแจ้งให้อาจารย์สอนของกลุ่มการเรียนนั้นทราบ เพื่อให้กรอกคะแนนสอบปลายภาคย้อนหลังต่อไป
คำชี้แจง : กระบวนการสอบย้อนหลัง เริ่มที่นิสิตมาติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักศึกษาทั่วไป เพื่อขอรับแบบฟอร์มขอสอบย้อนหลัง (เจ้าที่จะเข้าระบบสอบย้อนหลัง) โดยจะยื่นได้ใน ๒ กรณี ตามระเบียบมหาวิทยาลัย คือ ๑) ป่วย ให้ยื่นภายใน ๓ วันหลังสอบ ต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ระบุสาเหตุและอาการไว้อย่างชัดเจน และ ๒) กรณีต้องไปราชการสำคัญ ให้ยื่นล่วงหน้าอย่างน้อย ๓ วัน -> แล้วสั่งพิมพ์บันทึกข้อความที่เรียนถึงผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป เพราะตามระเบียบการวัดผลประเมินผลของมหาวิทยาลัย ผู้มีสิทธิ์อนุมัติให้สอบย้อนหลังได้คือคณบดีเท่านั้น ในกรณีรายวิชาศึกษาทั่วไป จึงต้องให้ผู้อำนวยการสำนักฯ อนุมัติเท่านั้น -> ในแบบฟอร์มบันทึกข้อความ จะกำหนดให้นิสิต แนบหลักฐาน แล้วนำไปยื่นให้อาจารย์ผู้สอนเซ็นรับรอง -> ก่อนจะนำกลับมายื่นให้สำนักฯ และรอการประกาศผลต่อไป
แนวทางแก้ไข : สำนักศึกษาทั่วไปจะตัดขั้นตอนที่นิสิตต้องนำบันทึกข้อความไปให้อาจารย์ผู้สอนเซ็นรับรองออกไป เพื่อความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะใช้วิธีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบย้อนหลังไปยังอาจารย์ เพื่อให้ทราบว่า ในกลุ่มการเรียนที่สอนนั้น มีนิสิตยื่นสอบย้อนหลังหรือไม่ เพื่อความรอบคอบในการตัดเกรดนิสิตต่อไป และจะดำเนินการปรับปรุงระเบียบของการขอสอบย้อนหลังให้เข้มงวดขึ้น อนุญาตเฉพาะนิสิตที่มีความจำเป็นเท่านั้น
๒) วิธีสอนและเทคนิคการสอน
ปัญหา ๑) : วิชาเดียวกันแต่สอนแตกต่างกัน
สรุปผลการแลกเปลี่ยน : ๑) สำนักศึกษาทั่วไปควรจัดเวทีพัฒนาอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนรู้และเข้าใจจุดมุ่งหมาย แผนการสอน วิธีประเมินผลร่วมกัน เช่น จัดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียน มคอ. ๓ ของรายวิชา ฯลฯ ๒) ควรพัฒนาเอกสารประกอบการสอนให้ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับแผนการสอนตาม มคอ.๓ และกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนยึดเป็นแนวทางร่วมกัน
ปัญหา ๒) : หนึ่งรายวิชามีอาจาารย์ผู้สอนหลายท่าน นิสิตสะท้อนว่า การเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง
ชี้แจง : รายวิชาศึกษาทั่วไปตามหลักสูตรใหม่ (พ.ศ. ๒๕๕๘) มีธรรมชาติของรายวิชาแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของแต่ละรายวิชา
- บางรายวิชาเน้นเรื่องความรู้รอบ รู้กว้างขวาง รู้ทันการเปลี่ยนแปลง รู้ไกล เข้าใจธรรมชาติ จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ หลาย ๆ ท่าน เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนเหล่านั้น เวียนกันเข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สรุปภาพรวมและเชื่อมโยงสิ่งเหล่านั้นกับชีวิตนิสิต เรียกว่านำสิ่งที่ท่านเชี่ยวชาญและคลุกคลีมาตลอดชีวิต มาเล่าให้นิสิตฟังภายในเวลา ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที อาจารย์ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญและทำวิจัยเรื่องนั้นๆ มาอย่างต่อเนื่องหรือเป็นอาจารย์ผู้ใหญ่ ที่จะสามารถย่อนสิ่งที่ยากให้ง่ายและถ่ายทอดได้ภายในเวลาจำกัด กรณีนี้ อาจารย์ผู้สอนจำเป็นต้องมีหลายท่าน สอนจบเป็นเรื่อง ๆ เป็นกรณีศึกษา ๆ ไป ... ผมเสนอว่าวิชาเหล่านี้ได้แก่ วิชา ๐๐๓๒๐๐๑ มนุษย์กับอารยธรรมและศาสนา วิชา ๐๐๓๒๐๐๓ ศิลปะวิจักษ์ ฯลฯ
- บางรายวิชาเน้นทักษะกระบวนการ โดยเฉพาะทักษะด้านการเรียนรู้ เช่น ทักษะทางภาษา ทักษะชีวิตและความเข้าใจตนเอง ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการทำงานเป็นทีม ฯลฯ ซึ่งจำเป็นต้องฝึกอย่างต่อเนื่อง และเน้นการสอนผ่านกิจกรรมและการทำงานร่วมกัน กรณีนี้ควรมีอาจารย์ผู้สอนเพียงท่านเดียวต่อกลุ่มการเรียน เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนอย่างต่อเนื่อง อาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่เป็นกระบวนกรการเรียนรู้ (Learning Facilitator) และเป็น "ครู" มากขึ้น ... ผมเสนอว่ารายวิชาเหล่านี้ ได้แก่ รายวิชา ๐๐๓๒๐๐๒ กฎหมายและจริยธรรม รายวิชา ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์กับการเรียนรู้ ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ
ส่วนเรื่องสะท้อนของนิสิต เกี่ยวกับจำนวนอาจารย์ผู้สอนมากแล้วไม่ต่อเนื่อง น่าจะแก้ไขได้ด้วยการทำความเข้าใจให้ชัดเจนถึงจุดประสงค์และลักษณะของรายวิชา และรวมถึงวิธีการประเมินของรายวิชานั้นด้วย
ปัญหา ๒) : ช่วงเวลาของการเพิ่มถอนล่วงเวลาเรียนถึง ๓ สัปดาห์กว่ารายชื่อนิสิตจะนิ่ง ทำให้นิสิตที่มาเพิ่มทีหลังขาดเวลาเรียนไปถึง ๑๕ %
คำชี้แจง : การกำหนดปฏิทินการลงทะเบียนเรียนรับผิดชอบโดยกองทะเบียน แต่ฝ่ายวิชาการสำนักฯ ได้นำแจ้งเรื่องนี้กับกองทะเบียนในการประชุม KM ร่วมกันในวันที่ ๙ มิถุนายน ที่ผ่านมา
ข้อตกลง : ให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปทุกท่าน เริ่มเช็คการเข้าเรียนตั้งแต่สัปดาห์แรกของการเรียนการสอน
๓) เอกสารประกอบการสอน
ปัญหา ๑) : รูปแบบของการเขียนยังไม่อยู่ในแบบฟอร์ม (องค์ประกอบ) และมาตรฐานเดียวกัน และบางวิชามีเนื้อหาเฉพาะสาขามากเกินไป บางวิชามีเนื้อหามากเกินไป
ข้อเสนอแนะ : สำนักศึกษาทั่วไป ควรดำเนินการร่วมกับอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการสอนให้อยู่รูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของรายวิชาศึกษาทั่วไป โดยด่วน
นัดหมาย : สำนักศึกษาทั่วไป นัดหมายประชุมร่วมกับอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา เพื่อร่วมกันพัฒนาเอกสารประกอบสอนให้ทันปีการศึกษา ๑/๒๕๕๙ ในวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙
ปัญหา ๒) กระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายเอกสารประกอบการสอนยังไม่ชัดเจน
คำชี้แจง : ในปีการศึกษา ๒๕๕๘- ๑/๒๕๕๙ นี้ สำนักศึกษาทั่วไป ขอยกเลิกกระบวนการผลิตเอกสารประกอบการสอนและจัดจำหน่ายซึ่งเคยปฏิบัติมา เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้ระงับการดำเนินของสำนักพิมพ์ไป และอยู่ในช่วงของการปรับปรุงเอกสารประกอบการสอนตามหลักสูตรปรับปรุงใหม่ อย่างไรก็ตาม เอกสารประกอบการสอนที่อาจารย์ผู้สอนจะผลิตขึ้นจำหน่ายเองนั้น ยังต้องให้สำนักศึกษาทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการกำหนดราคาขาย เพื่อไม่ให้ราคาสูงเกินไปซึ่งไม่เป็นธรรมต่อนิสิต โดยต้นฉบับต้องผ่านความเห็นชอบของสำนักศึกษาทั่วไป
ในกรณีที่อาจารย์ผู้สอนประสงค์จะให้ สำนักศึกษาทั่วไป ช่วยเหลือในการผลิต สามารถทำได้โดยการส่งต้นฉบับเอกสารประกอบการสอนมายังสำนักฯ สำนักศึกษาทั่วไปจะดำเนินการจัดรูปเล่มและส่งกลับให้ผู้ประสานงานรายวิชา เพื่อทำการแก้ไขจนได้ต้นฉบับที่พอใจ (ในเวลาที่กำหนด) แล้วสำนักฯ จะประสานไปยังโรงพิมพ์เพื่อต่อรองให้ได้ราคาต่ำที่สุดโดยใช้จำนวนจากประมาณการจากแนวโน้มการลงทะเบียนของนิสิต แล้วเชิญอาจารย์ผู้สอนมากำหนดราคาขายร่วมกัน ก่อนการจัดพิมพ์
ในการจำหน่ายเอกสารประกอบการสอนนั้น ในปีการศึกษา ๑/๒๕๕๙ นี้ สำนักศึกษาทั่วไปยังไม่สามารถดำเนินการขายได้ จึงมี ๒ ทางเลือก ได้แก่ ๑) นำไปฝากศูนย์หนังสือขาย ซึ่งต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการขาย (เคยจ่ายที่ ๗%) และ ๒) นำไปขายเอง ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น ให้นิสิต LA นำไปขายในชั้นเรียนคาบการเรียนแรก หรือให้นิสิตส่งตัวแทนมาซื้อที่ละมากๆ ซึ่งทั้งสองกรณีอาจให้ค่าตอบแทนในการขายกับผู้ขายตามสมควร ฯลฯ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น