KM ผู้ประสานงานรายวิชาศึกษาทั่วไป (๖) : รูปแบบการเขียนเอกสารประกอบการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปปี ๑/๒๕๕๙ (๒)
บันทึกที่ (๑)
บันทึกนี้สรุปข้อตกลงหรือแนวทางในการจัดทำเอกสารประกอบการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ที่จะใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาที่ ๑/๒๕๕๙ นี้ ขอให้ทุกรายวิชาได้ยึดถือเป็นแนวปฎิบัติในการจัดทำ "ร่าง" เอกสารประกอบการสอน เพื่อให้ง่ายในการอภิปรายหรือวิพากษ์ต้นฉบับในการประชุมเชิงปฏิบัติการของอาจารย์ผู้สอนต่อไป
ประเด็น : รูปแบบการเขียนเอกสารประกอบการสอน รายวิชาศึกษาทั่วไป
จุดมุ่งหมาย : สำนักศึกษาทั่วไป มีเอกสารประกอบการสอน/หนังสือ/ตำรา ที่มีคุณภาพ มีรูปลักษณ์สวยงามเป็นเอกลักษณ์ และเป็นที่ภาคภูมิใจของอาจารย์ผู้สอน นิสิต และมหาวิทยาลัย
แนวทาง : เอกสารประกอบการสอน/หนังสือ/ตำรา ของรายวิชาศึกษาทั่วไป ควรมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันทุกรายวิชา เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานแห่งชาติ (มคอ.๓ มคอ.๕)
องค์ประกอบของเอกสารประกอบการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป:
คำถาม : ควรจะมีกี่บทเรียน ควรจะมีกี่หน้า ควรจะยึดอะไรเป็นหลักในการพิจารณาปริมาณเนื้อหา
สรุปข้อตกลง : จำนวนบทเรียนให้เป็นไปตามสมควรแก่จุดมุ่งหมายของรายวิชา และเป็นไปตามแต่ที่คณะอาจารย์ผู้สอนเห็นสมควรร่วมกัน โดยมีตัวอย่างข้อเสนอดังนี้
คำถาม : ควรจะใช้แบบอักษรแบบใด กั้นหน้าหลังอย่างไร ใช้การอ้างอิงแบบใด
ข้อกำหนด : ใช้อักษร Thai Sarabun PSK ขนาด 16 pt กั้นหน้าหลังตาม template นี้ คลิกดาวน์โหลด การอ้างอิงให้ใช้การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา โดยใช้ระบบ นาม-ปี ที่ใช้กันทั่วไป (มีอธิบายอย่างละเอียดในคู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์ ดาวน์โหลดได้ที่นี่) โดยแยกหนังสืออ้างอิงไว้ท้ายบทเรียนแต่ละบท
แจ้งให้อาจารย์สบายใจ : อาจารย์อย่าได้กังวลเกี่ยวกับรูปแบบอักษรหรือรูปแบบการจัดหน้ามากเกินไป เพราะ สำนักศึกษาทั่วไป จะดำเนินการจัดรูปเล่มอีกครั้งอยู่แล้ว ท่านสามารถกำหนดหัวข้อ หัวข้อย่อย โดยใช้เลขกำกับตามแต่เห็นสมควร
ข้อตกลง : ทุกรายวิชาส่งต้นฉบับ draft 1st ภายในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ จากนั้น สำนักศึกษาทั่วไปจัดรูปเล่มพร้อมกับประสานโรงพิมพ์ เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดจำนวนพิมพ์ จำนวนเล่ม และแนวทางการจัดจำหน่าย ฯลฯ ร่วมกับ อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙
(บันทึกต่อไป มาว่ากันถึงกระบวนการและขั้นตอนการผลิตสำหรับ ปีการศึกษา ๑/๒๕๕๙ ครับ)
บันทึกนี้สรุปข้อตกลงหรือแนวทางในการจัดทำเอกสารประกอบการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ที่จะใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาที่ ๑/๒๕๕๙ นี้ ขอให้ทุกรายวิชาได้ยึดถือเป็นแนวปฎิบัติในการจัดทำ "ร่าง" เอกสารประกอบการสอน เพื่อให้ง่ายในการอภิปรายหรือวิพากษ์ต้นฉบับในการประชุมเชิงปฏิบัติการของอาจารย์ผู้สอนต่อไป
ประเด็น : รูปแบบการเขียนเอกสารประกอบการสอน รายวิชาศึกษาทั่วไป
จุดมุ่งหมาย : สำนักศึกษาทั่วไป มีเอกสารประกอบการสอน/หนังสือ/ตำรา ที่มีคุณภาพ มีรูปลักษณ์สวยงามเป็นเอกลักษณ์ และเป็นที่ภาคภูมิใจของอาจารย์ผู้สอน นิสิต และมหาวิทยาลัย
แนวทาง : เอกสารประกอบการสอน/หนังสือ/ตำรา ของรายวิชาศึกษาทั่วไป ควรมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันทุกรายวิชา เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานแห่งชาติ (มคอ.๓ มคอ.๕)
องค์ประกอบของเอกสารประกอบการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป:
- ปกนอก : มีรูปลักษณ์คล้ายกันในภาพรวมทุกรายวิชา แตกต่างกันเพียงสีและรายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชา แต่ละกลุ่มวิชามีโทนสีเดียวกัน แต่ละวิชาในกลุ่มวิชามีสีแตกต่างกันเล็กน้อย โดยให้สำนักศึกษาทั่วไปเป็นผู้รับผิดชอบ ดำเนินการออกแบบแล้วเสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ผู้ประสานงานต่อไป
- ปกใน : มีรายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชา กลุ่มวิชา ฯลฯ โดยให้สำนักศึกษาทั่วไป เป็นผู้รับผิดชอบออกแบบและกำหนดรายละเอียด
- รายละเอียดผู้แต่ง (เรียบเรียง หรือ รวบรวม) ประกอบด้วยชื่อผู้แต่งในแต่ละบทเรียน พร้อมระบุตำแหน่งทางวิชาการและต้นสังกัด โดยให้อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาส่งพร้อมต้นฉบับ และให้สำนักศึกษาทั่วไป เป็นผู้ออกแบบให้สวยงาม
- คำนำ
- สารบัญ : มอบให้สำนักศึกษาทั่วไป ดำเนินการจัดทำ (อาจารย์ไม่ต้องเขียน)
- บทเรียน : ประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้
- ชื่อบทเรียน
- จุดมุ่งหมายของบทเรียน (วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม, Unit Learning Outcome)
- กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีการสอน)
- วิธีการประเมินผล
- บทนำ (อ่านแล้วเห็นถึงแนวคิด หลักการ เหตุผล และภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดในบทเรียน)
- เนื้อหา
- เอกสารอ้างอิง
- ใบงาน/ใบกิจกรรม/แบบฝึกหัดท้ายบท/ คำถามท้ายบท (ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของรายวิชา)
- บทส่งท้าย (ถ้ามี)
คำถาม : ควรจะมีกี่บทเรียน ควรจะมีกี่หน้า ควรจะยึดอะไรเป็นหลักในการพิจารณาปริมาณเนื้อหา
สรุปข้อตกลง : จำนวนบทเรียนให้เป็นไปตามสมควรแก่จุดมุ่งหมายของรายวิชา และเป็นไปตามแต่ที่คณะอาจารย์ผู้สอนเห็นสมควรร่วมกัน โดยมีตัวอย่างข้อเสนอดังนี้
- ไม่ควรเกิน ๑๐ บทเรียน และเนื้อหาแต่ละบทเรียนควรมีขอบเขตเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรายวิชาศึกษาทั่วไป คือ ไม่ใช่เนื้อหาหรือทักษะเฉพาะเพื่อความเชี่ยวชาญ ไม่ใช่เนื้อหาที่ต้อง
- แบ่งเนื้อหาตามคำอธิบายรายวิชาเป็นบทเรียน ๆ ให้สอดคล้องกับจำนวนเวลาเรียนตามหน่วยกิตที่กำหนด เช่น แบ่งเนื้อหาเป็น ๗-๘ บทเรียน และกำหนดในแผนการเรียน บทเรียนละ ๒ สัปดาห์ (๑ สัปดาห์ในบางบทเรียน) รวมเป็น ๑๔ สัปดาห์ เมื่อรวมกับ คาบเรียนแรกในการแนะนำรายละเอียดรายวิชา จะได้เวลาเรียน ๑๕ สัปดาห์ และเมื่อรวมเวลาทดสอบกลางภาค ปลายภาคอีกสองสัปดาห์ จะรวมเป็น ๑๗ สัปดาห์
- แบ่งเนื้อหาโดยยึดหัวเรื่องตามคำอธิบายรายวิชา แล้วจัดลงในแผนการสอนตามสมควรตามปริมาณเนื้อหาหรือความสำคัญโดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ (วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม) แต่ละบทเรียนอาจใช้เวลาเรียนแตกต่างกัน เป็น ๑ ๒ หรือ ๓ สัปดาห์ โดยมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์
- ฯลฯ
คำถาม : ควรจะใช้แบบอักษรแบบใด กั้นหน้าหลังอย่างไร ใช้การอ้างอิงแบบใด
ข้อกำหนด : ใช้อักษร Thai Sarabun PSK ขนาด 16 pt กั้นหน้าหลังตาม template นี้ คลิกดาวน์โหลด การอ้างอิงให้ใช้การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา โดยใช้ระบบ นาม-ปี ที่ใช้กันทั่วไป (มีอธิบายอย่างละเอียดในคู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์ ดาวน์โหลดได้ที่นี่) โดยแยกหนังสืออ้างอิงไว้ท้ายบทเรียนแต่ละบท
แจ้งให้อาจารย์สบายใจ : อาจารย์อย่าได้กังวลเกี่ยวกับรูปแบบอักษรหรือรูปแบบการจัดหน้ามากเกินไป เพราะ สำนักศึกษาทั่วไป จะดำเนินการจัดรูปเล่มอีกครั้งอยู่แล้ว ท่านสามารถกำหนดหัวข้อ หัวข้อย่อย โดยใช้เลขกำกับตามแต่เห็นสมควร
ข้อตกลง : ทุกรายวิชาส่งต้นฉบับ draft 1st ภายในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ จากนั้น สำนักศึกษาทั่วไปจัดรูปเล่มพร้อมกับประสานโรงพิมพ์ เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดจำนวนพิมพ์ จำนวนเล่ม และแนวทางการจัดจำหน่าย ฯลฯ ร่วมกับ อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙
(บันทึกต่อไป มาว่ากันถึงกระบวนการและขั้นตอนการผลิตสำหรับ ปีการศึกษา ๑/๒๕๕๙ ครับ)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น