"ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน" จากมุมมอง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บรรยายในงาน มมส.วิจัย ครั้งที่ ๑๔

วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ ๑๔ ผมไม่มีโอกาสได้ฟังบรรยายพิเศษในฐานะองค์ปาฐก เรื่อง "๕๐ ปี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้มีปัญญาควรเป็นอยู่เพื่อมหาชน" เพราะขณะนั้นอยู่ในเวทีประจำปีของครูเพื่อศิษย์อีสานประจำปี (อ่านได้ที่นี่และที่นี่)  วันนี้ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ ท่านได้เผยแพร่สไลด์และเสียงบรรยายใน G2K  (ที่นี่)  เพื่อจะได้เรียนรู้และนำเอาคำแนะนำไปขับเคลือน Social Engagement University  จึงจะจับประเด็นไว้ในบันทึกนี้ ... เผื่อจะมีประโยชน์กับผู้สนใจต่อไป

 เกริ่นนำ

  • ท่านเกริ่นนำด้วยการเล่าถึงหนังสือชื่อ Tailspin ที่ท่านเคยแนะนำไว้ในบันทึกที่นี่  หนังสือนี้บอกว่า ตอนนี้อเมริกากำลัง "ควงสว่าน" หรือถดถอยลงตามลำดับในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา เนื่องเพราะระบบใหม่ที่ยกย่องความสามารถเป็นใหญ่ (meritocracy) ที่สร้างขึ้นแทนระบบเดิมที่ยกกลุ่มคนรวยเป็นใหญ่ (aristocracy) กลายเป็น new aristocracy ที่ทำให้เกิดการสั่งสมอำนาจของกลุ่มคน จนทำให้
    • อัตราความยากจนสูงเป็นอันอับ ๓ ของ รองจากตุรกีและอิสรเอล (ในกลุ่มประเทศไออีซีดี)
    • ๑ ใน ๕ ของเด็กอเมริกัน อยู่ในสภาพที่ "ไม่มีความมั่นคงทางอาหาร"
    • ระบบการเมืองที่ออกแบบดี แต่กลับทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น ไม่ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ... (เพราะคนไม่ดี) 
    • ท่านตั้งคำถามว่า นั่นคือการ คอรัปชั่นเชิงระบบหรือไม่??????  
  • ปัญหาคือ ประเทศไทยกำลังทำตามอเมริกา  สิ่งที่เรากำลังพัฒนาอยู่ตอนนี้คือ meritocracy  และการเมืองที่เรียกกันว่า "ประชาธิปไตย" ใช่มั่งไปเหมือนอเมริกาไหม....  
  • ท่านสรุปช่วงเกริ่นนี้ ทำนองว่า  สิ่งที่สำคัญอันจะทำให้เราแตกต่างไม่เหมือนอเมริกาก็คือ การสร้างคนของมหาวิทยาลัย ที่จะจบไปเป็น "ผู้มีปัญญาที่พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน"  
อุดมศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑

  • อุดมศึกษาในปัจจุบัน ไม่เหมาะสมต่อยุคสมัยแล้ว เพราะ 
    • แพงเกินไปแล้ว 
    • ตอนนี้มี MOOCs เข้ามาแทนที่ (Disruptive) ซึ่งถูกกว่ามาก
    • ที่อเมริกา หลักสูตร ๔ ปี เรียนจบเพียง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ 
    • ในอเมริกา มหาวิทยาลัยเริ่มปิดตัวลงจำนวนมาก 
    • คนอเมริกาตอนนี้ ไม่ค่อยเข้าเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว จะเรียนอย่างอื่นที่สามารถนำไปทำงานได้ 
    • การจบมหาวิทยาลัย ทำให้คนเป็นหนี้สินจำนวนมาก ทำให้ตอนนี้ การเรียนจบมหาวิทยาลัยไม่ใช่สิ่งสำคัญของชีวิตแล้ว 
  • ทางรอดของมหาวิทยาลัย 
    • ต้องไม่อยู่กับโหมดวิชาการแบบเดิมๆ ที่สอนคนเฉพาะความรู้ทางทฤษฎี แล้วให้ออกไปทำเอง  แม้ว่าโหมดวิชาการแบบเดิมจะสร้างพวกเราที่ประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย
    • ต้องไม่อยู่กับาโหมดวิจัยแบบเดิมๆ ที่วิจัยในห้องแลป 
    • ต้องเปลี่ยนไปเป็นความร่วมมือกับสังคม เป็นหุ้นส่วนสังคม  หรือ Engagement ซึ่งขณะนี้เป็นแนวทางของโลก เป็นเทร็นของโลก 
    • มหาวิทยาลัยต้องไม่ใช่แค่ Change แต่ต้อง Transform  
    • มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยน "วิชาการสู่วิชาการ" ไปเป็น "วิชาการสู่การปฏิบัติ" จะต้องสร้าง new platform ของการทำงานวิชาการ 
    • New Platform ของอุดมศึกษาแบบใหม่ จากเดิมที่ มีสี่ด้าน ได้แก่ ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ที่มองที่ตนเองเป็นหลัก เปลี่ยนไปเป็นมองที่ คุณค่าที่มหาวิทยาลัยทำต่อสังคม  ดังนั้น อาจมองใหม่ว่า 
      • ผลิตบัณฑิต -> สร้างพลเมืองคุณภาพสูง
      • วิจัย -> สร้างนวัตกรรม 
      • บริการวิชาการ -> ร่วมพัฒนาบ้านเมือง
      • ทำนุบำรุงฯ -> ธำรงความดีงาม (Inetgrity) 
    • ให้อาจารย์มหาวิทยาลัย หมั่นตีความคุณค่าของมหาวิทยาลัยต่อสังคม 
ยุคประเทศไทย ๔.๐
  • ท่านกล่าวถึงสไลด์ของ ศ.วิจิตร ศรีสะอ้าน ที่นำเสนอถึงสภาพปัจจุบันของประเทศไทย ดังนี้ 
    • รายได้ปานกลาง
    • เหลื่อมล้ำสูง
    • คอรัปชั่นมาก
    • ขัดแย้งรุนแรง
    • ปัญหาสำคัญคือ (... ไม่ขนาดนั้นมั้งครับ)
      • ทุนมนุษย์อ่อนด้อย
      • ทุนสังคมอ่อนแอ
      • ทุนธรรมชาติเสื่อโทรม
      • ทุนคุณธรรมจริยธรรมเสื่อมทราม 
  • ไทยแลนด์ ๔.๐ 
    • ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 
    • ต้องขับเคลื่อนไปสู่ชนบท ลดความเหลื่อมล้ำ 
    • ต้องดูแลธรรมชาติ 
    • ปราบโกงและสร้างความสามัคคี
  • มหาวิทยาลัย ๔.๐
    • ต้องสนองยุทธศาสตร์ชาติ เชื่อมโยงประเทศไทย ๔.๐
      • รัฐบาลต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นหัวรถจักรในการขับเคลื่อนประเทศ
      • ไม่ใช่แค่ทำพันธกิจ ๔ ประการแบบเดิม 
    • เน้นเรื่องสร้างคนดี คนเสียสละ เพื่อสังคม 
    • การจัดการเรียนรู้เปลี่ยน 
      • ต้องจัดการเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ 
      • สร้างความรู้ -> สร้างคุณค่า 
      • เพื่อส่วนรวม 
      • บูรณาการ
มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม (Social Engagement University)
  • มหาวิทยาลัยกับสังคมต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน 
  • วิชาการในยุคนี้ต้อง Engagement กับชีวิตจริง ไม่ใช่วิชาการเพื่อวิชาการ ต้องเป็นวิชาการเพื่อชีวิตจริงๆ ทั้งด้าน การค้า เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ 
  • ขณะนี้ประเทศไทยได้ก่อตั้ง Thailand Engagement เรียบร้อยแล้ว 
  • หลักการสำคัญของ Social Engagement คือ 
    • ร่วมกันทำ  ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเป็นผู้คิดแล้วให้ชาวบ้านทำ 
    • เกิดประโยชน์ร่วมกัน  มหาวิทยาลัยได้เงิน ได้งาน ได้งานวิจัย ได้เพื่อน  ฝั่งชุมชน ธุรกิจ ราชการ ก็ต้องได้รับประโยชน์ด้วย หรือหลายที่มีการร่วมทุนกัน  เช่น มรภ.อุตรดิตถ์ ที่มีหน่วยงานราชการต่างๆ เอางบประมาณมาให้ทำ 
    • ได้เรียนรู้ร่วมกัน มหาวิทยาลัยและสังคมได้เรียนรู้ร่วมกัน 
    • เกิดผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมต่อสังคมและชุมชน 
  • กระบวนทัศน์ต้องเปลี่ยนไป 
    • ไม่ใช่การไปช่วยเหลือสังคม เป็นการไปเป็นร่วมกัน เป็นหุ้นส่วนกัน 
    • ไม่ใช่ความสัมพันธ์แนวดิ่ง แต่เป็นความสัมพันธ์แนวราบ สองทาง 
  • ท่านยกตัวอย่าง Public Engagement  ของอังกฤษ ที่ท่านไปดูงาน 
    • ที่อังกฤษเรียกว่า Public Engagement  บ้านเราเรียก Social Engagement
    • เขามี Framwork ของการทำงาน ดังภาพสไลด์นี้ 
      • ร่วมมือกัน
        • ร่วมมือด้านการวิจัยและการศึกษา
        • มีกิจกรรมร่วมกันที่ทำให้มีการพูดคุย งานเทศกาลทั้งหลายมหาวิทยาลัยไปร่วมด้วย  เกิดการคุยกันแบบเท่าเทียม (Dialouge)
        • มีการประสานงานการจัดประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่ไม่เฉพาะในวงวิชาการ 
        • มีการเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านต่างๆ เพื่อคนทั่วไป 
      • บูรณาการโครงสร้างพื้นฐาน
        • บูรณาการทั้งยุทธศาสตร์และการประเมิน
        • บูรณาการทรัยพยากร ฝ่ายบริหารมีการดูแลอุดหนุนทรัพยากร เพื่อให้เกิดการจัดหาและใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกันอย่างเหมาะสม
        • บูรณาการความคิด ความต้องการ และทุนภายจากภายนอกมหาวิทยาลัย
        • มหาวิทยาลัยสนับสนุนให้คนในมหาวิทยาลัยไปทำวิจัยและวิชาการเพื่อชุมชน
      • บูรณาการแหล่งเรียนรู้หรือกระบวนการสร้างบัณฑิต 
        • หลักสูตรบูรณาการกับสังคม แหล่งเรียนรู้ ฐานการเรียนรู้ เรียนรู้บนฐานปัญหาสังคม ฯลฯ 
        • นิสิตจิตอาสาเพื่อสังคม เรียนรู้ผ่านการบริการสังคม 
        • แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมและชุมชน 
      • เรียนรู้ร่วมกัน 
        • สะท้อนการเรียนรู้ 
        • ร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ 
        • ร่วมกันประเมินผลกระทบต่อสังคม 
นวชาลาอุดมศึกษาไทย
  • นวชาอุดมศึกษาไทย หมายถึง New Platform ของการอุดมศึกษาไทย  
  • พันธกิจ ๔ ประการ ได้แก่ 
    • สร้างพลเมืองคุณภาพสูง
    • สร้างนวัตกรรม
    • ร่วมกันพัฒนาสังคมและชุมชน 
    • ธำรงความดีงาม 
  • ต้องมี 2I 2E 1C ได้แก่
    • Integration 
    • Innovation 
    • Engagement
    • Entrepreneur
    • Callaboratoin 
  • ต้องเคลื่อนจาก "ภายในรั้วมหาวิทยาลัย" ไปสู่ "พื้นที่นวัตกรรม" (Innovative Zone) ต้องมี ๓ หุ้นส่วนมาร่วมกัน ได้แก่ 
    • ภาครัฐ 
    • ภาคเอกชน ชุมชน วิสาหกิจชุมชน ฯลฯ และ
    • ภาควิชาการ 
  • การมีพื้นที่นวัตกรรม หรือ Innovation Zone หมายถึง พื้นที่ๆ สามารถทำมาหากินได้  โดยมหาวิทยาลัยจะต้องออไปสู่พื้นที่ๆ ไม่ใช่ Compfort Zone ของตนเอง  เป็นพื้นที่ๆ ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือชุมชน สังคม คุ้นเคยมากกว่า 
  • ท่านยกตัวอย่างการไปศึกษาดูงานที่จีน แสดงพื้นที่ใหม่ของการทำงานของมหาวิทยาลัย 
    • Open University  เป็นเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ๘ แห่งมาทำงานร่วมกัน
      • ออกทุนร่วมกัน ก่อตั้ง สมาคมออกแบบอุตสาหกรรมแห่งประเทศจีน มีเงินทุนจากรัฐบาลมาสนับสนุน 
      • สร้างเมืองแห่งนักออกแบบ สร้างเมืองแห่งดีไซเนอร์ 
      • สร้างหลักสูตรปริญญาโท เพื่อสร้างนวัตกรรมต่างๆ เช่น 
        • ระบบควบคุมโดรน
        • ผลิตแสงจากสิ่งมีชีวิต กินไฟน้อยมาก
        • พาหนะแบบล้อเลื่อนยืน
    • บริษัทเอกชนและมหาวิทยาลัยและรัฐบาลร่วมกัน สร้างพื้นที่ Innovation Zone ทำงานร่วมกัน 
ปรับโฉมอุดมศึกษาไทย
  • ปรับวิชการไปสู่ วิชาการข้ามแดน 
    • ข้ามพื้นที่ ข้ามรั้วมหาวิทยาลัย 
    • ข้ามแดนตนเอง ไปสู่แดนสังคม 
    • ข้ามอดีต ไปสู่อนาคต
    • ข้ามวิชา ไปสู่สหวิทยาการ
    • ฯลฯ
  • การเรียนรู้และผลิตบัณฑิต
    • Learning science  หรือ ศาสตร์ว่าด้วยการเรียนรู้ บอกว่า 
      • การเรียนรู้ที่แท้จริง ไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอด แต่เกิดจากการปฏิบัติ 
      • การเรียนรู้ที่ดี ต้องได้เรียนจากการปฏิบัติและได้สะท้อน (Reflection) 
        • วงการศึกษาไทย เข้าใจผิดว่า การได้ชิ้นงานและตอบคำถามได้นั้น เป็นความสำเร็จ  แต่ความจริง ผู้เรียนต้องสามารถ อธิบายทฤษฎีได้ คือคิดได้ 
      • Engagement Platform จะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ลึกขึ้น เพราะได้เรียนรู้จากของจริง สถานการณ์จริงๆ 
    • นิสิตมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการศึกษา ว่า ตนเองมารับความรู้ ที่ถูกทั้งอาจารย์และนิสิตจะต้องเป็น Co-Creator คือมาร่วมกันสร้างความรู้  การศึกษาในยุคนี้ต้องมี Co-Creator หลายๆ แบบ ตัวอย่างเช่น 
      • สหกิจศึกษา 
      • การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม (Service Learning) -> เป็นอยู่เพื่อสังคม
      • ฯลฯ
    • สิ่งสำคัญที่สุดคือ Inspiration  คือแรงบันดาลใจ  งานวิจัยพบว่า การกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจด้วยผลประโยชน์ส่วนรวม ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการกระตุ้นผลประโยชน์ตัวเอง
    • นิสิตนักศึกษาต้องได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพราะนิสิตมีไฟ มีแรงบันดาลใจมาก 
  • งานวิจัย  จะต้องเปลี่ยนจากแค่ Impact to peer ไปเป็น 
    • impact to peer
    • impact to student
    • impact to social
  • งานบริการวิชาการ ต้อง 
    • ต้อง Engagement เชิงระบบด้วย ไม่ใช่แค่ไปไม่กี่คน ไปเพียงบางส่วน แต่ควรไปอย่างมีระบบ
      • นิสิตได้ฝึก ได้เรียน 
      • อาจารย์ได้ผลงานวิจัยด้วย 
      • ชุมชนหรือสังคมได้ประโยชน์ 
    • ระดมสรรพกำลังทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ฯลฯ 
    • ร่วมกันทำแผนระยะยาว  มีส่วนที่ร่วมกันมองว่าไม่ได้เกิดขึ้นเร็ว แต่ใช้เวลาหลายปี 
  • การธำรงความดีงาม 
    • เปลี่ยนจากการสั่งสอน ไปเป็นการเรียนรู้คุณธรรม ความดี จากการปฏิบัติ 
    • งานอาสา ทำประโยชน์เพื่อสังคม 
    • ธำรงความดีในทุกกิจกรรมทุกภารกิจ เช่น การช่วยกันทำงาน การเผื่อแผ่ผลงาน ฯลฯ 
  • ปรับระบบ
    • มหาวิทยาลัยต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ มีหน่วยงานรับผิดชอบ มีแผนยุทธศาสตร์ 
    • ต้องทำงานตามความต้องการของประเทศไทย เอาความต้องการของสังคมและชุมชนเป็นหลัก ไม่ใช่ทำงานตามความถนัดของตนเอง 
    • ต้องทำงานร่วมกัน บูรณาการกันอย่างหลายสาขา  หรือบางครั้งต้องร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น  หรือบางทีต้องใช้คนระดับโลก มหาวิทยาลัยระดับโลก 
    • มีฝ่ายบริหารระดับรองอธิการด้าน Engagement 
    • ปรับปรุงระบบให้รางวัล (reward system) เช่น ผลงานวิชาการบริการรับใช้สังคม ต้องปรับให้เอื้อ ฯลฯ
  • ส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจ 
    • ท่านยกตัวอย่าง ศ.ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่สามารถ ทำงานวิจัยร่วมกับภาคเอกชน จนเกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนมากมาย และสามารถได้ผลงานวิจัยจนได้รับตำแหน่งวิชาการ เป็นศาสตราจารย์ด้านการวิจัยอาหารทะเล 

  • ส่งเสริมระบบประเมินเพื่อพัฒนา 
สรุปสิ่งที่ต้องมีสำหรับ Social Engagement University

จะต้องมี/สร้าง
  • Engagement Culture
  • Engagement Structure
  • 2I2E1C Platform หรือ IIEEC Platform
  • Transoformation Management; National & Institution Levels
  • Thailand 4.0 as End, University 4.0 as Means
  • Focust/Directed Scholarship แบบ IIVE คือ
    • Integration
    • Innovation
    • Value creation
    • Entrepreneurship
  • ทั้งหมดที่กล่าวมา ต้องตั้งอยู่บนฐานของสังคมไทย ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยการ "ร่วมมือกันสิบทิศ"

(ขอบคุณภาพจาก เฟสบุ๊คมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คลิกที่นี่)


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"