PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๕ : ชุมชนเรียนรู้ครูพี่เลี้ยงนักเรียนพิการบกพร่องทางการเรียน
วันเสาร์ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๐ CADL ไปเป็นวิทยากรจิตอาสา พัฒนาชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์เพื่อแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนในเขต สพป.มค.๑ มหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายเป็นครูพี่เลี้ยงนักเรียนพิการบกพร่องทางการเรียน (เด็ก LD) จำนวนประมาณ ๖๐ ท่านจากทุกโรงเรียนในสังกัด วิทยกรหลักคือครูตุ๋ม ศิริลักษณ์ ชมภูคำ ครูเพื่อศิษย์อีสาน ปี ๒๕๕๗ ผมไปในลักษณ์วิทยากรกระบวนการโดยมีแสน (ธีระวุฒิ ศรีมังคละ) เป็นวิทยากรกิจกรรมละลายพฤติกรรม ... ผม AAR ว่า เราประสบผลสำเร็จพอสมควร เว้นแต่เวลาน้อยไปทำให้ช่วงการสะท้อนการเรียนรู้ วิพากษ์ และสร้างสัญญาใจไปทำต่อนั้น ไม่ได้ลงละเอียอดมากนัก ... โอกาสหน้าว่ากันต่อครับ
หนึ่งตัวเลขคือหนึ่งโรงเรียน ตัวเลขขนาดใหญ่แสดงว่ามีผู้เติมตัวเลขนั้นหลายคน หากรวมตัวเลขคร่าว ๆ ดู จะรู้เลยครับว่า ปัญหานี้วิกฤตของประเทศในอีก ๑๐ ปีข้างหน้าถ้าไม่หาทางแก้ไขโดยด่วน ตัวเลขที่เผยแพร่กันทั่วไปว่าว่ามีปัญหานี้เพียงหลักหมื่นคน อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องสามหมื่น น่าจะคาดเคลื่อน... ความจริงในหัวอกของคนเป็นพ่อแม่แค่คนเดียวก็กเกินพอแล้ว
ครูพี่เลี้ยงเกือบทั้งหมดอยู่ในวัยหนุ่มสาว มีบ้างที่เป็นอาจารย์ผู้ใหญ่แต่ก็ไม่มาก ผมใช้โปรแกรมสำรวจทันทีทางมือถือ PollEverywhere ด้วยคำถามสำคัญ ๒ ข้อ ๑) คือ "ในการทำหน้าที่ครูพี่เลี้ยงของท่าน มีเด็กที่มีปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้กี่คน" และ ๒) "ปัญหานักเรียนอะไรที่สำคัญที่สุด" โดยก่อนจะถามข้อที่ ๒) เราได้สำรวจโดยการให้เขียนปัญหานักเรียนที่พบลงกระดาษเปล่าหรือส่งเข้าในกลุ่มไลน์กลุ่มก่อนแล้ว แล้วนำ ๕ ปัญหาแรกมาสำรวจอีกที ... ทั้งสองข้อปรากฎผลดังรูปครับ
หนึ่งตัวเลขคือหนึ่งโรงเรียน ตัวเลขขนาดใหญ่แสดงว่ามีผู้เติมตัวเลขนั้นหลายคน หากรวมตัวเลขคร่าว ๆ ดู จะรู้เลยครับว่า ปัญหานี้วิกฤตของประเทศในอีก ๑๐ ปีข้างหน้าถ้าไม่หาทางแก้ไขโดยด่วน ตัวเลขที่เผยแพร่กันทั่วไปว่าว่ามีปัญหานี้เพียงหลักหมื่นคน อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องสามหมื่น น่าจะคาดเคลื่อน... ความจริงในหัวอกของคนเป็นพ่อแม่แค่คนเดียวก็กเกินพอแล้ว
ปัญหา ๕ อันดับแรก ได้แก่ ๑) สมาธิสั้น ๒) ไม่เข้าเรียน ไม่ฟังครู ๓) ปัญหาเรื่องทักษะการอ่าน ๔) ก้าวร้าว รังแกเพื่อน ๕) ปัญหาเรื่องการอ่าน ตามลำดับผลการโหวตของครูพี่เลี้ยงประมาณ ๓๐ ท่าน (จากประมาณ ๖๐)
นอกจากปัญหาจะยังอยู่นับจากที่เราได้อบรมขยายผลไปสู่ครูแล้วตั้งแต่เดือน ๒๐-๒๑ พฤษภาคม คือ ๔ เดือนที่แล้ว (อ่านได้ที่นี่ครับ) ผมลองสำรวจด้วยการประเมินแบบ ๕ ระดับแบบนับนิ้วทันที พบว่า มีเพียงประมาณ ๖ โรงเรียน ที่ครูพี่เลี้ยงสะท้อนว่าที่โรงเรียนได้นำเอากระบวนการจิตอาสาพัฒนาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ๖ ขั้น ของครูตุ๋มไปใช้ ตัวเลขนี้ไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์... อาจจะดูน้อย แต่หากพิจารณาให้ดี ขอแค่มีครูคนเดียวจากโรงเรียนเดียว นำเอาไปใช้อย่างจริงจัง จะทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้กลายเป็นคนดีในอนาคตมากกว่า ๑๐ คน... นั่นหมายถึง...นักเรียน ๖๐ คน ต่อปีทีเดียว
เห็นความทุ่มเทของครูตุ๋ม ผมเคยคิดว่าตนเองทุ่มเทมากแล้ว แต่เมื่อเทียบกันครั้งนี้ กลายเป็นว่าผมมีพลังขึ้นมาได้อีกดีกรีทีเดียว กระบวนการของเราคราวนี้สมบูรณ์สุดเท่าที่เคยทำมา ครูตุ๋มและนักเรียนจิตอาสาเป็น "คุณกิจ" เจ้าขององค์ความรู้ที่จะถ่ายทอดและแบ่งปันประสบการณ์ ผมเป็น "คุณอำนวยการเรียนรู้" และแสนเป็นกระบวนกรละลายพฤติกรรม เรานำเอาคลิปวิดีโอและสไลด์เดิมเหมือนที่อบรมให้ครูเมื่อด ๔ เดือนที่แล้วมาใช้อีกครั้ง (อ่านที่นี่)
ในการเล่าถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ ๗ ประการของครูตุ๋ม (อ่านได้ที่นี่) ผมเน้นว่าสิ่งที่จำเป็นที่สุดรองจากครูและครูพี่เลี้ยงแล้วคือ นักเรียนจิตอาสา เพราะการดูแลกันตัวต่อตัว แก้ไขและสอนทันทีเมื่อน้องทำผิดหรือทำไม่ได้ คือปัจจัยให้น้องมีกำลังใจและค่อย ๆ สะสมความเข้าใจและทักษะจากความกล้าผิดกล้าถูก (กล้าเรียน)
แสนใช้กิจกรรมที่เน้นกิจกรรมทำสนุกให้ครูได้เห็นกิจกรรมที่สามารถนำไปทำกับเด็กได้ เสียดายที่เวลามีไม่มาก จึงไม่ได้แนะนำหรือทำกิจกรรมใหนโมเดล "๓ กำลัง ส." ของแสนมากนัก (ผมเคยเขียนทฤษฎี ๓กำลังส. ไว้ที่นี่) เช่น นับเลขมรณะ กลมและเหลี่ยม สัตว์บกสัตว์น้ำ ปรบมือตามขาสัตว์ ฯลฯ ... ผม สังเกตว่า ครูสนุกและชอบกิจกรรมของแสนมาก ๆ น่าจะมีใครนำไปใช้ต่อแน่
กิจกรรมสุดท้าย ผมออกแบบให้ครูแต่ละกลุ่มย่อย ๆ ละ ๔-๕ ท่าน ช่วยกันระดมสมองเสนอวิธีแก้ปัญหา ๕ ประการที่ได้สำรวจไว้ในช่วงต้น โดยให้เลือกกลุ่มละปัญหาเท่านั้น คุณครูทุกกลุ่มร่วมมือแลกเปลี่ยนร่วมมือกันอย่างกระตือรือร้น ปัญหามีอยู่อย่างเดียวคือ ผมให้เวลาเพียง ๑๕ นาที สำหรับการระดมสมองและเขียนลงในฟลิบชาร์ท ผลปรากฎดังรูปด้านล่างครับ
ขอเก็บชาร์ทเหล่านี้ไว้ในบันทึก ผมมั่นใจว่า โอกาสหน้า หลังจากเวลาผ่านไป เราจะมาทำ PLC ลักษณะนี้อีก และหากมองย้อนกลับมา คุณครูจะเห็นว่าวิธีการและประสบการณ์ในวันนี้ เปลี่ยนแปลงพัฒนาไปหรือไม่เพียงใด
ข้อสังเกตที่พบและสำคัญมากในการแก้ปัญหาที่เหตุ ได้แก่ ๑) ปัญหาส่วนใหญ่ที่ครูพี่เลี้ยงสะท้อนเป็นปัญหาเชิงพฤติกรรม แสดงว่าสิ่งที่ครูต้องทำคือต้องปรับพฤติกรรมของนักเรียนเสียก่อน การใช้ปฏิสัมพันธ์เชิงบวกจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ครูทุกคนต้องให้ใจ ๒) วิธีการแก้ไขที่คุณครูพี่เลี้ยงนำเสนอส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่เน้นเด็กทำตามที่ครูคิด เหมารวม และหลาย ๆ กิจกรรมเป็นลักษณะควบคุมลงโทษ บังคับให้ทำตามที่ครูคิดว่าจะได้ผล แท้จริงแล้วปฏิสัมพันธ์เชิงบวกจะต้องเน้นที่การเปิดใจของเด็กให้ได้เป็นอันดับแรก เน้นที่การให้ความรัก ความใส่ใจ ความเมตตา การฟังและสังเกตพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนเป็นเบื้องต้น แล้วเข้าถึงเด็กแต่ละคนโดยอาจไม่มีรูปแบบหรือกิจกรรมตายตัว ๓) ครูพี่เลี้ยงต้องการความมั่นคงในชีวิตการทำงานครับ ... ประเด็นนี้ฝากบอกต่อไปยังผู้ใหญ่ดูแลให้ด้วยครับ
ผมแสดงสไลด์ "ภูเขาน้ำแข็ง" ให้เห็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ถอดบทเรียนจากความสำเร็จของครูตุ๋มเป็นสไลด์สุดท้าย และอธิบายสร้างแรงบันดาลใจร่วมกันในการกลับไปแก้ปัญหา ดังรูป
สุดท้ายนี้อยากขอบคุณและให้กำลังใจคุรดารุณี ที่เป็นผู้เป็นแม่งานทุกอย่างในครั้งนี้ ขออนุโมทนาบุญกับการทำงานที่ทุ่มเทของท่านครับ
เสียดายที่ผมถ่ายรูปไว้ไม่มาก หากครูผู้อ่านมีรูปที่ถ่ายในวันนั้น เชิญโพสท์แบ่งปันกันได้ท้ายบันทึกนี้ครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น