CADL_SE_01 : โรงเรียนประชารัฐสามัคคี จ.นครราชสีมา
วันที่ 31 ตุลาคม 2556 ทีม CADL ได้รับโอกาสจาก ผอ.ธีรเชษฐ์ ป้องจันมณีสกุล โรงเรียนอนุบาลประชารัฐสามัคคี ให้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูทั้งหมด แบบกึ่ง KM กึ่งจิตตปัญญาวิถีพุทธ ผมนำผลการจัดประเด็นของ Note Taker ของทีมเรา มาให้อ่านครับ แบบตรงไปตรงมาครับ
สะท้อน
จากนั้นแบ่งกลุ่มๆ ละ 4 คน เพื่อมาแลกเปลี่ยนให้เพื่อนฟังว่า ตนเองนั้นเป็นสัตว์ประเภทนั้นเพราะอะไร ให้เวลาในการแลกเปลี่ยน 15 นาที
ก่อนอ่านบันทึกนี้ ควรจะอ่านวิถีและวิธีการขับเคลื่อน ปศพพ. ด้วยโมเดล "มือห้านิ้ว" ของโรงเรียนได้ที่นี่ครับ
กิจกรรมช่วงเช้า
ผอ.ธีรเชษฐ์ ป้องจันมณีสกุล ให้เกียรติกล่าวเปิดงานพร้อมกล่าวต้อนรับคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โดยประเด็นที่ท่านกล่าวเปิดนั้นมีประเด็นสำคัญๆ คือ ธรรมชาติมนุษย์ ที่มีอุปสรรคที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประสบการณ์ สุขภาพกาย
สุขภาพจิต
พร้อมทั้งได้เสนอแนะแนวทางว่าควรจะรู้จักประมาณตน และเข้าใจตนเองว่า จะทำงานอย่างไร จะพัฒนางานได้อย่างไร
กระบวนกรเริ่มเล่าถึงความสามารถหนึ่งที่มนุษย์มีเหนือสัตว์อื่นๆ คือ การนึกย้อนหลัง ว่าแล้วก็โยน
คำถามไปที่ครูว่า เช้านี้ท่านมาโรงเรียน
ท่านจำได้หรือไม่ว่า
ก่อนมาโรงเรียนท่านนึกหรือคิดอะไร
- ครูสมหมายตอบว่า...มาแล้วจะเจอคนหน้าตาอย่างไรบ้าง? วิทยากรที่มาจะสวย หล่อมั้ย ได้ความรู้มั้ย
- ครูอีกคนหนึ่งตอบว่า คิดแต่ว่า...จะมาทันประชุมหรือไม่ เพราะบ้านไกลจึงต้องใช้เวลาเดินทางเกือบ 30 นาที
จากนั้นก็ได้เริ่มกิจกรรมแรกในช่วงเช้าคือ กิจกรรมจับมือ
ตามด้วยกิจกรรมยืนตามลำดับ
สองกิจกรรม
แรกนั้น
เรียกเสียงหัวเราะจากครูที่เข้าร่วมกิจกรรมและทำให้ครูรู้สึกผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี
เมื่อเสร็จกิจกรรมนี้กระบวนกรก็ได้ให้ครูทุกคนเริ่มแสกนบอดี้ ฝึกสมาธิ
ฝึกจิต
และอยู่กับตนเองก่อนจะเริ่มกิจกรรมสัตว์สี่ทิศ
กิจกรรมจับมือ
- ให้ครูจับมือกันเมื่อได้รับสัญญาณคือการจับมือ โดยเริ่มจากคนแรกแล้วเวียนทางซ้าย (ครูนั่งเป็นตัวยู) รอบแรกทุกคนมีสติรู้ตัว ทำให้จับมือกันจนครบทุกคน
- ขั้นที่สอง ให้ทุกคนหลับตา จะจับหรือแตะเมื่ออีกคน (คนที่มีสิทธิ์ได้ส่งสัญญาณคนแรก) ส่งสัญญาณเท่านั้น (เริ่มมีเสียงหัวเราะเพราะหลับตาแล้วคลำไม่เจอ)
รองผอ.วราภรณ์
ปัตตังทานัง เป็นคนแรกที่ส่งสัญญาณมือเป็นคนแรก
กระบวนกรถามว่า สัญญาณคืออะไร คำตอบไม่เหมือนกัน บ้างตอบสะกิดไหล่ สะกิดแขน
สัมผัสหู-ไหล่ จับหู ลูบไล้แก้ม เฉลยสัญญาณคือ เขี่ยแก้ม
3 ครั้ง
สะท้อน
- คุณครูสมหมาย ตอบว่า จะพูดจะทำอะไรให้ตรงไปตรงมา นิ่ง แน่วแน่ มีสมาธิ
- ความซื่อสัตย์ ตอนหลับตา จะต้องทำตามกติกา กระบวนกรถามว่า ถ้าหากนำกิจกรรมนี้ไปใช้กับเด็กจะทำอย่างไร หากเด็กโกงหรือไม่เคารพกติกา
- วิธีแรกคือ การปรามด้วยเสียง (เป็นมาตรฐานเดิมที่คนส่วนใหญ่ใช้แต่ทางที่ดีคือ เสริมจิตวิทยาเชิงบวกจะได้ผล คือ เมื่อใช้การปรามแล้วครั้งหนึ่งยังไม่ได้ผลก็ควรจะแยกเด็กออกมาจากกลุ่มทันทีโดยที่ไม่ได้ร่วมกิจกรรมอีก)
- คุณครูเบญจวรรณ วิธีที่สองคือ ให้เริ่มกิจกรรมใหม่ทั้งหมดโดยเริ่มจากคนที่ทำผิดกติกาเป็นคนแรกที่เริ่ม (ถามว่าถ้าทำแบบนี้ยังไม่ดีเท่าไหร่ เพราะจะเกิดความไม่ยุติธรรมกับคนที่ไม่ได้เป็นคนทำผิด)
1. การสื่อสารนั้นยากมาก
เพราะต้องใช้ใจฟัง
2. การส่งสารจะต้องไม่แปลงสาร
ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
3. สมาธิ
จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จำเป็นในการสื่อสารหรือทำกิจกรรมนี้
กิจกรรมยืนตามลำดับ
·
กติกาข้อแรกให้ทุกคนยืนเรียงกันตามอายุโดยคนที่อายุมากกว่าให้ยืนอยู่ขวามือ
(ในวงส่งเสียงชอบใจและรู้สึกผ่อนคลายกว่าเดิมมาก
กิจกรรมใช้เวลาเพียง 3 นาที)
·
กติกาข้อสองให้ทุกคนยืนเรียงกันตามระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนโดยคนที่บ้านอยู่ไกลที่สุดยืนอยู่ขวามือ (มีการถกเถียงกัน พร้อมเสียงหัวเราะ
ว่าเพื่อนยืนผิดตำแหน่ง
กิจกรรมนี้ใช้เวลาเพียง 2 นาที)
กระบวนกรเสริมว่า สาเหตุที่ทำให้เรียงกันได้รวดเร็วเพราะทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี ระยะทางที่ไกลที่สุดคือ 49 กิโลเมตร และใกล้ที่สุดคือ 300 เมตร
49 km
45 km
40 km
.
.
.
300 m
กิจกรรมแสกนบอดี้
กระบวนกรเล่าเรื่อง “สมองมนุษย์”
ว่าทำอะไรได้บ้าง วิธีการคือ
·
แสกนบอดี้ โดยใช้
ใจ เป็นเครื่องมือในการแสกน
·
ความสามารถที่ว่า คือ
ความสามารถในการรู้สึกตัว
วิธีการ คือ ทำใจให้สบายๆ
เริ่มรู้สึกจาก
·
รู้สึกว่ามีปลายเท้า พวกสัตว์
หมา แมว ไม่รู้หรอกว่ามันมีปลายเท้า
·
ให้ทุกคนขยับปลายเท้าซ้าย-ขวา
·
รู้สึกได้ว่าหัวเข่ามันงอ จะรู้ได้อย่างไรว่างอ หากไม่ลืมตาดู
ให้ใช้มือสัมผัส
·
รู้สึกว่ากำลังนั่ง
·
รู้สึกขึ้นมากลางหลัง ถ้าใครที่เกร็งหลังทั้งวัน หากท่านได้พักผ่อนบ้าง นอนเหยียดจะรู้สึกดี
·
รู้สึกถึงไหล่ซ้าย
·
รู้สึกถึงมือซ้าย
·
รู้สึกถึงไหล่ขวา ท่อนแขนด้านบน
ท่อนแขนด้านล่าง
·
มือขวา ไล่กลับมา ข้อศอกขวา หัวไหล่ขวา
·
ไล่กลับขึ้นมาที่ต้นคอ ไปถึงท้ายทอย
·
ไปต่อที่หน้าผาก
·
สิ่งหนึ่งที่ไม่ยากในการสังเกตคือ คิ้ว
หากใครคิ้วขมวด นั่นแสดงว่ามีความรู้สึกเครียดแล้ว จึงควรผ่อนคลายคิ้วนั้นออก
·
ลงมาที่ปลายจมูก โดยสังเกตลมที่ผ่านเข้าออก
หรืออุณหภูมิลมที่เข้ากับลมที่ออกนั้นมีความแตกต่างกันหรือไม่ ที่ทำถูกคือ
แค่รู้สึก ไม่ใช่เพ่ง
กิจกรรมสัตว์สี่ทิศ
- ใช้กลุ่มงานหรืองานที่ได้รับมอบหมายเดียวกันเป็นหน่วยในการแบ่งกลุ่ม
- แจกกระดาษ A4
- วาดวงกลมลงในกระดาษ 1 วง ใหญ่พอประมาณ
- กระบวนกรก็อธิบายนิสัยของสัตว์แต่ละประเภท เริ่มจากนกอินทรี กระทิง หนู และหมี
- ให้ครูนั่งอยู่กับตนเองพร้อมกับพิจารณาว่า ตนนั้นเป็นสัตว์ประเภทใด
จากนั้นแบ่งกลุ่มๆ ละ 4 คน เพื่อมาแลกเปลี่ยนให้เพื่อนฟังว่า ตนเองนั้นเป็นสัตว์ประเภทนั้นเพราะอะไร ให้เวลาในการแลกเปลี่ยน 15 นาที
สะท้อนจากครู
- ครูเบญจวรรณ จะมีนิสัยคือช่วยคิด ช่วยทำ ไม่ใช้การบังคับ จึงคิดว่าตนเองเป็น อินทรี หนู กระทิง เท่าๆ กัน
- ครูสมหมาย ชอบอิสระ ไม่ขึ้นต่อใคร ไม่ชอบการบังคับ ไม่เพ้อฝัน ไม่ยอมเสี่ยง อะไรที่ไม่คุ้มจะอยู่นิ่งๆ หากเพื่อนมีปัญหาจะให้ความช่วยเหลือ แต่จะอาสาน้อยมาก ไม่ใช่ไม่ช่วย ช่วยเต็มที่แต่ต้องมีคนมาร้องขอ จึงคิดว่าตนเองเป็นเป็น อินทรี กระทิง หมี และหนู น้อยที่สุด
- กระบวนกรถามครูสมหมายต่อว่า เด็กนักเรียนสมัยนี้กับสมัยก่อนแตกต่างกันหรือไม่ ครูสมหมายตอบทันทีว่า เด็กมีความแตกต่างจากสมัยก่อนมาก ไม่เชื่อครู โต้แย้ง ไม่มีสัมมาคารวะ คุณธรรมลดลง
- กระบวนกรจึงถามกลับว่า หากเด็กไม่มีสัมมาคารวะ ครูควรจะเป็นสัตว์ประเภทไหนมากที่สุด
ครูส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า ควรมีสัตว์หลายอย่างผสมผสานกัน เพราะจะให้สวมวิญญาณเป็นหมีไปตัดสินเลยคงไม่ได้
ผลการวิเคราะห์สัตว์สี่ทิศ
กิจกรรมกระดาษสี่พับ
- แจกกระดาษ A4 คนละหนึ่งแผ่น
- เริ่มพับกระดาษให้ได้แนวนอนสามแถว แนวตั้งสี่คอลัมน์ พร้อมทั้งตอบคำถามของแต่ละช่อง ดังภาพ
คอลัมน์ 1
วิธีการสร้าง
คอลัมน์ 3
|
คอลัมน์
2
เรื่องที่ท่านภาคภูมิใจ
|
คอลัมน์
3
แรงบันดาลใจที่จะทำ/
ทำแล้วจะภูมิใจมาก
|
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
|
||
วิธีการที่จะทำให้ได้
คอลัมน์ 3
|
ความรู้
ความเข้าใจ
ความสามารถ
|
ความรู้ความสามารถใดที่ต้องการ เพื่อให้สิ่งที่อยากทำประสบความสำเร็จ
|
|
||
วิธีการที่จะได้มาซึ่ง คอลัมน์ 3
|
ผลงาน/ความสำเร็จ
|
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
|
|
- เมื่อทุกคนเขียนคำตอบลงในแต่ละช่องเรียบร้อยแล้วก็ให้แลกกันอ่านของเพื่อน เพื่อที่จะได้ความรู้หรือประสบการณ์ใหม่
- กระบวนกรถามว่า กิจกรรมกระดาษสี่พับนี้มีการเชื่อมโยงกับกิจกรรมช่วงแรกๆ หรือไม่อย่างไร
- ครูฐานิดา ตอบว่า มีการเชื่อมโยงกันค่ะ เราสามารถวิเคราะห์นิสัยของเด็กได้จากกิจกรรมสัตว์สี่ทิศ....
o ความภาคภูมิใจคือ
การเห็นความเจริญก้าวหน้าของเด็ก (เห็นความสำเร็จ)
และที่สำคัญที่สุดคือเห็นเด็กดี
มีคุณธรรม
o ถนัดวิชาวิทยาศาสตร์
o สิ่งที่ต้องแก้ไขคือ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากขึ้น
(รวมทุกอย่างทั้งผลการเรียน คะแนน O-net A-net)
o อยากมีเวลาที่เพียงพอให้กับเด็ก
(และในห้องนี้มีครูที่ต้องการเวลา
ถึง 5 คน)
o เด็กประสบผลสำเร็จในการทำโครงงาน
o ปัจจัยความสำเร็จคือ
ต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง
o วิธีการคือ
ตั้งเป้าหมายร่วมกัน
o หาวิธีการที่หลากหลาย
o วิธีการคือลงมือปฏิบัติ
- ครูภรภัทร. เล่าสิ่งที่เขียนลงไปในกระดาษสี่พับว่า
o อยากเห็นความสำเร็จของเด็ก
o อยากสร้างเด็กให้เป็นเด็กดี
o วิธีการคือ การทำตนเป็นตัวอย่าง เช่น
วิธีการ Coaching ทีมวอลเล่ย์บอล
o “สร้างชุมชนบุคคลตัวอย่าง”
o มีความรู้ด้านกีฬา
o อยากหาความร่วมมือ เพราะเชื่อว่าการทำงานเป็นทีมจะส่งผลให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายได้ง่ายกว่าการทำงานคนเดียว
o วิธีการคือ ต้องช่วยเหลือผู้อื่นก่อน
(แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องการความช่วยเหลือ) ก็ต้องฝึกสังเกต โดยที่ไม่ต้องรอให้คนอื่นเอ่ยปาก
o สิ่งที่ภาคภูมิใจมากที่สุดคือ เปลี่ยนเด็กเกเรให้เป็นคนดีมีอาชีพที่มั่นคงได้ (จากเด็กเกเรเป็นร้อยตำรวจโท)
o วิธีการคือ ขอให้ครูมีความเพียรบริสุทธิ์ และทำอย่างสม่ำเสมอ
สะท้อนจากครู
- คุณครูเบญจวรรณ สะท้อนว่า ได้เรียนรู้วิธีการวิเคราะห์ตนเอง และคิดต่อว่าหลังจากจบกิจกรรมวันนี้จะไปทำอะไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป (เมื่อครูเบญจวรรณพูดจบ ครูต่างก็ปรบมือให้อย่างพร้อมเพรียงกัน อาจจะเป็นเพราะว่าคำตอบนี้ถูกใจและตรงใจใครหลายคนในห้องนี้)
กิจกรรมช่วงบ่าย
กระบวนกรได้หยิบยกประเด็นที่ได้จากกิจกรรมกระดาษสี่พับ ซึ่งประเด็นที่นำมาแลกเปลี่ยนนั้น
คือเรื่อง...เวลา ซึ่งมีข้อจำกัดจากต้นสังกัด และนำไปสู่กิจกรรมกราฟความสุข
ก่อนปี 2547 ที่เด่นคือ คุณภาพของผู้เรียน ชื่อเสียงของโรงเรียน
หลังปี 2547 ที่เด่นคือ บุคลากรมีความก้าวหน้ามากขึ้น
สะท้อนจากครู
- ได้ความรู้สึกที่ดี เปิดเผย ตรงไปตรงมา
- ได้ความรู้ที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน ความท้อแท้จะเกิดความทุกข์ เราจะปลดความทุกข์ให้เกิดความสุข และยึดถือหลักทำกรรมดี ต่อตนเองและเด็กนักเรียน
- วันนี้ได้เปิดใจ และสังเกตเห็นว่าครูทุกท่านได้แสดงความรู้สึกที่จริงใจและน่าจะมีความสุข กิจกรรมต่างๆที่ได้ทำร่วมกันนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กนักเรียนได้
สะท้อนจากผู้สรุปกระบวนการ (note taker)
การทำงานวันนี้ถือว่าบรรลุเป้าหมายร้อยเปอร์เซ็น
เป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่าดูกระบวนการและจับประเด็น
ได้ดี รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด
อาจจะเป็นเพราะผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นมีจำนวนพอดี ไม่ใหญ่จนเกินไป ซึ่งที่ผ่านมาจะเป็นเวทีหรือกลุ่มขนาดใหญ่กว่าร้อยคน
แต่สิ่งสำคัญที่วันนี้รู้สึกมีความสุขที่ได้มานั่งดูกระบวนการนั้นคือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เปิดใจ เปิดรับ
ส่งผลให้บรรยากาศในวงดีมาก
คละเคล้าเสียงหัวเราะ
และเป็นครั้งแรกที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นอายุเฉลี่ยสูงลิ่ว (ฮา...)
แต่อายุสูงใกล้เกษียณก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำงานเลย....ครูโรงเรียนอนุบาลประชารัฐสามัคคีคอนเฟิร์ม!!!
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น