การขับเคลื่อน ปศพพ. ด้วย "ห้านิ้วมือ" ของโรงเรียนอนุบาลประชารัฐสามัคคี นครราชสีมา

โรงเรียนอนุบาลประชารัฐสามัคคี ตั้งอยู่ที่ ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา  ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนดูได้ที่นี่  เป็นหนึ่งในโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ขับเคลื่อนโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล (ดูผลงานโรงเรียนในการขับเคลื่อนที่นี่ครับ)

แนวคิดในการขับเคลื่อน ปศพพ. ของโรงเรียนอนุบาลประชารัฐสามัคคี

จุดเด่นที่สุดและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรงเรียนอนุบาลประชารัฐสามัคคี ผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้คือ ผอ.ธีรเชษฐ์ ป้องจันมณีสกุล ที่บริหารงานโดยยึดหลักคิด หลักปฏิบัติ และหลักวิชา ที่อาจเรียกว่า "โมเดลห้านิ้วมือ" ดูรูปครับ


ท่านแบมือของท่าน แล้วอธิบายว่า เวลาทำงานนิ้วทั้งห้าต้องประสานกัน
  • นิ้วหัวแม่มือ คือ ผู้บริหารโรงเรียน งานสำคัญได้แก่ สร้าง"งาน" สร้างคน สร้างตน ด้วยความศรัทธา สิ่งที่ตามมาก็คือ...
    • ทีมบริหารที่มีใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยทีมบริหารจะทำหน้าที่...
    • ส่งเสริมและสนับสนุน "งาน" ด้วยความรักสามัคคีกัน...
    • เป็นผู้นำในการ "สร้างงาน" และเป็นแบบอย่างที่ดี และ
    • สร้างสภาพบริบทของโรงเรียนให้เอื้อต่อการสร้างนิสัยพอเพียง...
    • สรุปคือ ผู้บริหารต้องสร้าง Best Practice ของการบริหารนั่นเอง 
  • นิ้วชี้ คือ ครู  ต้องสร้าง Best  ของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยต้อง...
    • ทำหน้าที่เป็นวิทยากรด้วยความศรัทธา 
    • มีความมุ่งมั่น พัฒนาคุณธรรมของตนด้วยโครงการสะอาดกายสะอาดใจ
    • สร้างแบบประเมินกิจกรรมได้อย่างครบถ้วน
    • จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างรอบด้าน
    • พัฒนาตนเองด้านการสร้างหน่วยการเรียนรู้ด้วยหลัก ปศพพ. ซึ่งต้อง...
    • วิเคราะห์หลังสูตร สร้างหน่วยการเรียนรู้ และแผนการเรียนรู้
    • สร้างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านคุณภาพ ทักษะการคิด และคุณธรรม
    • สำรวจจุดอ่อนจุดด้อยของตนเองเพื่อการพัฒนา สร้างงาน 
  • นิ้วกลาง คือ นักเรียน 
    • ให้ครูพระมาสอนศีลธรรม 
    • จัดให้นักเรียนเป็นวิทยากรหรือมัคคุเทศก์ สอนน้องๆ 
    • สร้าง Best การเรียนรู้ด้วยสภานักเรียน ชุมนุม ชมรม
    • กิจกรรมส่งเสริมอุปนิสัยพอเพียง ได้แก่ โครงการยิ้มง่ายไหว้สวย
    • โครงการสะอาดกายสะอาดใจ
    • โครงการสหกรณ์โรงเรียน 
    • โครงการรักการอ่าน ห้องสมุด
    • โครงการ อสร.น้อย  ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่ 
  •  นิ้วนาง คือ ผู้ปกครอง  มีบทบาทในการ
    • ให้ข้อคิด แก้ไขพฤติกรรมนักเรียน
    • ปลูกฝังวิถีชีวิตด้านสุขภาพ คุณธรรม และวัฒนธรรมท้องถิ่น 
    • เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
    • ประเมินการปฏิบัติกรรรม (คงหมายถึงพฤติกรรม) ของลูกหลานตนเอง 
    • ร่วมสร้างหลักสูตรด้วยหลัก ปศพพ.
    • สนับสนุน ปลูกฝังเด็กที่บ้าน สร้างจริตนิสัย
  •  นิ้วก้อย คือ กรรมการสถานศึกษา มีหน้าที่ 
    • ให้ข้อคิด แก้ไขพฤติกรรมครู
    • สนับสนุนด้วยแรงเงินหรือแรงกาย วัสดุปกรณ์ ฯลฯ
    • แก้ไขอุปสรรคและปัจจัยที่ไม่เอื้อ...
    • ให้ขวัญกำลังใจอย่างสม่ำเสมอ 
    • สนับสนุนและส่งเสริมด้วยงบประเมินอย่างพอเพียง 
ท่านบอกว่า ผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษาต้อง "รักและดูแล" นักเรียนและผู้ปกครองให้มาก นิ้วชี้ที่อยู่ใกล้นิ้วกลาง เปรียบเหมือนครูที่ต้องรักและเอาใจใส่นักเรียน เช่นเดียวกัน กรรมการสถานศึกษาที่อยู่ใกล้ผู้ปกครองจะต้องรักและปกปัองผลประโยชน์ของผู้ปกครองให้มาก ...เหมือนดังสัญลักษณ์ "ฉันรักเธอ" ที่ศิลปินดัง แอ๊ด คารบาว ชูโชว์บ่อยๆ นั่นเองครับ

Timeline แสดงวิธีการและขั้นตอนขับเคลื่อนฯ 



 โรงเรียนเริ่มการขับเคลื่อนตั้งแต่ปี 2550 โดยพัฒนาครูจากการฝึกอบรมจากภายนอก สิ่งที่น่าสนใจคือ มีการ "ยกระดับ" สู่โรงเรียนพอเพียงอย่างจริงจังในปี 2553- 2554 โดยขั้นตอนสำคัญดังนี้ 
  • ปรับวิสัยทัศน์ ใช้กลยุทธ์ให้โครงการทุกโครงการมุ่งสู่ ปศพพ. 
  • สร้างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อ "บ่มเพาะอุปนิสัยพอเพียง" ทุกกิจกรรม
  • พัฒนาครูให้มีจิตอาสา และออกแบบคุณลักกษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
  • สร้าง/พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรม ปศพพ.
  • ปรับแผนการสอนตามหลัก ปศพพ. ทุกหน่วยการเรียนรู้
  • ครูและนักเรียน "ถอดบทเรียน" ทุกกลุ่มสาระฯ
  • สร้างกิจกรรมชุมนุมใหนกลุ่มเรียนด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม ได้แก่ 
    • โครงการสวนพฤกษาศาสตร์ 
    • โครงการส่งเสริมสุขภาพ และ
    • โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
  • นักเรียนเรียนรู้ตามแผน ปศพพ.
  • ผู้ปกครองช่วยสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้
  • พัฒนาครูด้วยกิจกรรมเพลงและนิทาน 
โรงเรียนอนุบาลประชารัฐสามัคคีเข้ารับการประเมินในปี 2555  ผมเองเป็นผู้สังเกตการในวันนั้น ด้วยครับ ดูรูปวันนั้นไดที่นี่ครับ

วันที่ 21-24 กรกฎาคม 2556 ทีมผู้บริหารและครูแกนนำที่ไปร่วมถอดบทเรียน ได้ถอดบทเรียนตนเอง และนำเสนอชาร์ทแสดงแนวทางการขยายผล ไว้ดังรูปด้านล่างนี้ครับ











ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"