โรงเรียนบ้านปะทายโมเดล จ.ศรีสะเกษ (๑)

วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๐ ทีมขยายผล "กระบวนการนักเรียนจิตอาสาแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้" (PB ครูศิริลักษณ์ ชมภูคำ (ครูตุ๋ม)) ได้มีโอกาสไปเรียนรู้ร่วมจาก ผอ.สมศักดิ์ ประสาร และคุณครูโรงเรียนบ้านปะทาย (อยากรู้จักท่านคลิกที่นี่) ต.ทุ่งใหญ่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ  หากค้นทางกูเกิล ผู้อ่านจะพบข้อมูลมากมายที่บอกเล่าความสำเร็จของโรงเรียนมากมาย เป็นความสำเร็จของโครงการ "โรงเรียนสุขภาวะ" ของ สสส. มีผู้หลักผู้ใหญ่มาเยี่ยมและชื่นชมความสำเร็จมากมาย ศ.นพ.วิจารณ์บันทึกการเยี่ยมชมครั้งนั้นไว้ที่นี่  สรุปคือ โรงเรียนบ้านปะทาย "ดังมาก" ถือเป็นข้อพิสูจน์ยืนยันว่า หากผู้อำนวยการตั้งใจจริง ๆ โรงเรียนในระบบของกระทรวงศึกษาทั่วไป ก็สามารถปฏิรูปการเรียนการสอนได้  ตอนนี้ ท่าน ผอ.สมศักดิ์ ก็ถือขุนพลของวงการปฏิรูปการศึกษาของประเทศเรา  หากท่านใดที่ไม่เคยไปเยี่ยมโรงเรียนนี้ สามารถดูคลิปวิดีโอได้ที่นี่ และที่นี่  จากนั้นต้องพากันไปดูให้ถึงที่ ไปดูวิธีและวิถีของครูให้รู้เห็นก่อน  แล้วก็เอาประสบการณ์เหล่านั้นมาลองทำด้วยตนเอง ... แบบนี้น่าจะลดเวลาลองผิดลองถูกไปหลายปี

ความจริงโรงเรียนบ้านปะทาย ไม่ใช่โรงเรียนในระบบฯ แห่งแรกที่ทำสำเร็จ ผมเข้าใจว่า โรงเรียนบ้านนาขนวน โดย ผอ.สังคม อินทร์ขาว เป็นผู้บุกเบิกและรับพลังนี้มาจากลำปลายมาศพัฒนามาบอกต่อ ผอ.สมศักดิ์  ผมตีความว่า ความเป็นเพื่อนสนิท ของ ผอ.ทั้งสองท่าน คือปัจจัยสำคัญยิ่งสำหรับการขยายผลความสำเร็จของสิ่งใด ๆ ในประเทศนี้  ... โอกาสหน้าหากได้ไปที่ ร.ร.บ้านนาขนวน คงได้มาเล่าให้ฟัง  ผู้สนใจ อ่านบันทึกของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ที่นี่ ครับ 

ผมเข้าใจว่า เราได้โอกาสนี้เพราะ ผอ.สมศักดิ์ และคุณครูแจง (คุณครูจารุวรรณ์ เลิศศรี) เป็นเพื่อนทางเฟสบุ๊คกับครูตุ๋ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูตุ๋มออนไลน์มาอย่างต่อเนื่อง  ผอ.สมศักดิ์ ต้องการจะพัฒนาครูด้านการแก้ปัญหาเด็กพิการบกพร่องด้านการเรียน จึงอยากให้ครูตุ๋มไปเป็นวิทยากร และอยากให้ผมไปถอดบทเรียนความสำเร็จของครูด้วย โดยครูแจง BAR ว่าน่าจะได้กระบวนการไปใช้ต่อ ... หลังจากจบกระบวนการ ผม AAR ว่า ครูแจงอาจจะไม่ได้บรรลุนัก เพราะกระบวนการที่ผมทำ เป็นลักษณะไร้รูปแบบจริง ไหลไปกับสายน้ำ.... 

อย่างไรก็ดี ผมนำเอา โมเดลการขับเคลื่อน Active Learning ของโรงเรียนบานปะทาย ที่ครูแจงถอดบทเรียนตนเองและนำเสนอในวันนั้น มาแบ่งปันในบันทึกนี้ครับ ... บางทีอาจจะมีประโยชน์ 



เป็นรูปแบบขั้นตอนที่ชัดเจนยิ่งครับ ขอเรียกว่าภาพ "กระบวนการจัดเรียนรู้ ๙ ขั้น" นี้ว่า โรงเรียนบ้านปะทายโมเดล ... ผู้ที่อธิบายได้ที่ที่สุด น่าจะเป็นครูแจงครับ เพราะท่านเป็นคนเขียนเอง (เชิญติดตามเฟสผลงานครูแจงได้ที่นี่ครับ)

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างชิ้นงานของครู ก่อนจะนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนจริงครับ 






เมื่อถามครูโรงเรียนบ้านปะทาย ว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปฏิรูปโรงเรียนคืออะไร ท่านจะได้รับคำตอบตรงกันว่า เป็นเพราะท่าน ผอ.สมศักดิ์ ประสาน ผู้อำนวยการโรงเรียน  ผมเองก็ถามท่านตรง ๆ เช่นกันว่า หากแบ่งเป็นข้อ ๆ เพื่อบอก ผอ. ท่านอื่น ๆ ให้ทำตามนี้ล่ะ?  ท่านจะบอกอย่างไร  ท่านหยิบปากกาเขียนลงในกระดาษปี้ของเรา ๑๔ แผ่น ภายใน ๓ นาที  ได้ผลดังภาพ 


อาจจะอ่านยากหน่อยครับ เพราะตัวหนังสือเล็กเกินไป  ผมสังเคราะห์มาเป็น "บันได ๖ ขั้น (๑๖ ข้อ) ของ ผอ.สมศักดิ์ ประสาร ในการเปลี่ยนโรงเรียนบ้านปะทายให้เป็นต้นแบบการปฏิรูปการศึกษา










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"