บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2017

อาจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (๑๐) : ตัวอย่างการออกแบบ "คำถาม" ในการสอนแบบ Problem-based Learning (๔)

รูปภาพ
กลุ่มที่ ๔ รายวิชา การบริโภคเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต คำถามของกลุ่มนี้ มี ๓ ข้อ ดังนี้ ๑) นิสิตรับประทานอาหารเช้าหรือไม่?  สุ่มนิสิตที่ยกมือและไม่ยกมือให้แสดงข้อดีข้อเสีย คล้ายโต้วาทีสักครู่ ... คาดว่าส่วนใหญ่นิสิตจะไม่รับประทานอาหารเช้า ๒) ถ้านิสิตจะรับประทานอาหารเช้า จะซื้อที่ไหน ถึงจะสามารถมาเรียนทันเวลา ๘.๐๐ น. ... นิสิตส่วนใหญ่จะบอกว่า ซื้ออาหารที่ร้านค้าสะดวกซื้อ ๓) อาหารที่เพื่อนเลือกซื้อนั้น ถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด?  เมื่อถามผู้ฟังว่า "ผลลัพธ์" ที่กลุ่มนี้ตั้งไว้คืออะไร ได้คำตอบว่า ความสำคัญของอาหารเช้า การเลือกรับประทานอาหารเช้า คุณค่าทางโภชนาการของอาหาร  เฉลย : ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ คือ  อยากให้นิสิตสามารถแยกแยะและเลือกบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้อง  ไม่ใช่ junk food วิพากษ์ :  สังเกตว่า การตั้งโจทย์เยอะเกินไป ทำให้ผู้ฟังเขวไปในประเด็นอื่น ๆ  ได้ง่าย  เข้าใจว่า ผู้ตั้งคำถามต้องการผนวกการสอนแบบ Active Learning กับ Problem-based Learning

อาจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (๙) : ตัวอย่างการออกแบบ "คำถาม" ในการสอนแบบ Problem-based Learning (๓)

รูปภาพ
ผมได้ยินบ่อย ๆ จากเวทีครูเพื่อศิษย์ว่า "ถามคือสอน สะท้อนคือเรียน"  คำพูดนี้ดีมาก เพราะเน้นย้ำถึงสิ่งที่ครูอาจารย์ขาดมากที่สุด ๒ ประการ ๑ คือ ครูอาจารย์ส่วนใหญ่เรามักจะ "บอก" มากกว่า "ถาม" ผู้เรียนได้คิดน้อยกว่าเมื่อเรา "บอกความรู้" และถ้าใจของเขาไม่ได้อยู่เขาจะไม่ได้ฟัง จึงไม่เกิดการเรียนรู้ใด ๆ อีกประการซึ่งทำกันน้อยมาก คือ การให้ผู้เรียนสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองหลังเรียน  ถ้าเราปรับมาใช้การ "ถาม" และให้ "สะท้อน" ความมุ่งหวังที่จะ "ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน" จะสำเร็จแน่ ตัวอย่างคำถามของกลุ่มที่ ๓ รายวิชา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ คำถาม : มนุษย์จะเดินบนเพดานเหมือนตุ๊กแกได้อย่างไร? ที่มา คลิกที่นี่  อ.ปริญญา เน้นว่า สิ่งที่เราควรให้ผู้เรียนสืบค้นค้นหา ควรมีทั้ง ๒ องค์ประกอบ  ๑ คือ ความรู้อะไรที่ต้องใช้ และ ๒ จะใช้ความรู้นั้นอย่างไร? มีอาจารย์กลุ่มอื่น ๆ ตอบดังนี้ครับ ต้องรู้ว่าตีนตุ๊กแกทำงานอย่างไร ยึดเกาะได้อย่างไร  อาจเกี่ยวกับระบบประสาทของการมองเห็นของตุ๊กแก  เพราะอาจเป็นสาเหตุที่

อาจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (๘) : ตัวอย่างการออกแบบ "คำถาม" ในการสอนแบบ Problem-based Learning (๒)

รูปภาพ
อ่านขั้นตอนกิจกรรมการออกแบบคำถามได้ที่ บันทึกนี้ ครับ กลุ่มที่ ๒ รายวิชา ศิลปะวิจักษ์ คำถาม : น้ำตกไนแองการ่ากับน้ำตกหน้าเดอะมอลล์โคราช อันไหนเป็นศิลปะ ครับ? ที่มา คลิก ที่นี่  ที่มา : คลิก ที่นี่ อ.สันติ เฉลยว่า:  น้ำตกหน้าเดอะมอลล์โคราช คือศิลปะ  น้ำตกไนแองการ่าไม่ใช่ศิลปะครับ  เพราะ "ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นครับ" ....  ผมรู้สึกว่าเพิ่งจะรู้เรื่องนี้เป็นครั้งแรก แม้จะเรียนวิชาศิลปะมาบ้าง... แม้ว่าน้ำตกในแองการ่า จะมีความงาม แต่ไม่ใช่ศิลปะ  ศิลปะคือผลจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ มีอาจารย์ตั้งถามว่า คนที่ไปทำศัลยกรรม ถือเป็นศิลปะไหม?  ....  ใช่ครับ นั่นคือศิลปะบนเรือนรางของมนุษย์ ... (ศิลปะนิยามว่า ศิลปะ หมายถึง  ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณะต่างๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ตามประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของบุคคลแต่ละคน ( ที่มา )) อ.สันติ อธิบายเพิ่มว่า ศิลปะ จะต้องเกิดจากเจตนาของมนุษย์ ที่จะสร้างสรรค์ให้ดีขึ้น เกิดจากการวางแผน  "...ในชั้นเรียนของผม จะเน้นให้นิสิตถามและแลกเปลี่ยน

อาจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (๗) : ตัวอย่างการออกแบบ "คำถาม" ในการสอนแบบ Problem-based Learning

รูปภาพ
ในการอบรมวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๐ ช่วงบ่าย เป็น Training การออกแบบ "คำถาม" เพื่อใช้ในการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based) ขั้นตอนทั้งหมดของกิจกรรมมี ๔ ขั้นตอน คือ ๑) กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) แล้วเขียนไว้ด้านหลังกระดาษปลู๊ฟ ๒) ตั้งคำถามให้นำไปสู่ ผลลัพธ์การเรียนรู้อันนั้น  เขียนไว้อีกด้านหนึ่งของกระดาษปลู๊ฟ ๓) นำเสนอ (ทดลองสอน) ด้วยคำถามที่ตั้งขึ้น ๔) สะท้อน แลกเปลี่ยน ถอดบทเรียน เราแบ่งกลุ่มออกเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ ท่าน แล้วทำและนำเสนอตามขั้นตอนข้างต้น  ผมคิดว่าจะมีประโยชน์มาก ถ้าอาจารย์ที่ไม่ได้เข้าร่วมช่วงบ่าย จะลองนำไปใช้บ้าง กลุ่มที่ ๑ วิชา ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น  คำถาม: ถ้านิสิตทิ้งถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วลงในถังขยะทั่วไป จะมีผลต่อคุณภาพน้ำประปาที่เราใช้หรือไม่ ?  คำตอบ: มีให้เลือกสองข้อคือ มี หรือ ไม่มี  (ให้ยกมือ แล้วให้แต่ละฝ่ายแสดงเหตุผล ตามวิธีสอนแบบ Active Learning ของ Michael J. Sandel ) ท่านผู้อ่านคิดว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ ที่กลุ่มนี้กำหนดไว้หลังกระดาษ คืออะไรครับ?  เพื่อตอบโจทย์ข้อนี้นิสิตต้องรู้อะไรบ้าง  อาจารย์ก

อาจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (๖) : คำถามฝากจากอาจารย์ผู้สอน

รูปภาพ
สิ่งที่เกิดขึ้นกับครูอาจารย์ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การแย่งครูอาจารย์จากการสอนศิษย์  การอบรมพัฒนาไปเบียดเวลาสอนหรือเตรียมการสอน จนเป็นที่มาของวลี "คืนครูให้นักเรียน"  ดังที่ทุกท่านต้องเคยได้ยิน ผมในฐานะตัวแทนสำนักศึกษาทั่วไป ที่รับผิดชอบเรื่องการจัดหลักสูตรพัฒนาอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ตั้งใจว่าจะระวังอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยปัญหาเดิม  ยกเว้นแต่กรณีที่ไม่มีทางเลือกวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง ไม่สามารถเลี่ยงเวลาได้  ดังเช่น ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล เป็นต้น การอบรมอาจารย์ผู้สอนในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๘ (ดีคลิปเฟส ที่นี่ และ ที่นี่ ) มีอาจารย์จำนวนมากที่ติดภาระงานสอน และจำเป็นต้องออกไปสอนในช่วงบ่าย อาจารย์บางท่าน ทั้งประทับใจและเกรงใจวิทยากรถึงขั้นที่ท่านจัดการงดสอนและนัดชดเชยในภายหลัง เพื่ออาจารย์ท่านหนึ่งฝากคำถามไว้ ถาม อ.ปริญญา ในช่วงบ่าย ผมเห็นว่าคำถามของท่านอาจารย์ที่ฝากไว้น่าสนใจ และ ยิ่งคำตอบของ อ.ปริญญา ยิ่งน่าสนใจ จึงขอนำมาบันทึกไว้ตรงนี้ คำถามคือ ในระดับมหาวิทยาลัย Input-based Education ที่ใช้วิธีการ Lecture (บรรยาย) ควรจะเลิกใช้ แล้วห

อาจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (๕) : การสอนในมหาวิทยาลัยมีปัญหาอย่างไรไหม?

รูปภาพ
เทคนิคการ "กระตุกให้คิด" แบบที่อาจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ทำกับอาจารย์ผู้เข้าร่วมการอบรมฯ ในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๐ (อ่านได้ ที่นี่ ) น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการ "เปลี่ยนวิธีสอน" ของอาจารย์หลายท่านได้ และวิธีเดียวกันนี้ น่าจะถูกนำไปใช้ในการ "เปลี่ยนวิธีเรียน" ของนิสิตได้เช่นกัน  ท่านให้ดูภาพนี้ครับ แล้วตั้งคำถามว่า การศึกษาแบบเดิมที่เราทำอยู่ ครูในโรงเรียนแห่งหนึ่งให้นักเรียนกางร่มในห้องเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียนลอกกัน และข่าวมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ใช้กระดาษทำหมวกครอบตา (เหมือนม้าลำปาง) ด้วยเหตุผลเดียวกัน แบบนี้เป็นปัญหาไหม? ... ถ้าคิดว่าเป็นปัญหา อะไรคือปัญหา? ... การทดสอบเป็นปัญหาไหม? ผมเข้าใจว่า ปราชญ์ ผู้รู้ หรือครูที่เก่ง ๆ มากมาย จะคล้ายกันตรงที่ ท่านเหล่านั้นจะสามารถแยกแยะ "เหตุ" ออกจาก "ผล" ได้ชัดเจนมากกว่าคนทั่วไป การประเมินผลด้วยการทดสอบแบบไม่ให้ลอกกันนั้น ถามว่า คะแนนคือ "เป้าหมาย" หรือ "เครื่องมือ"  "การสอบ" เป็นส่วนหนึ่งของ "การเรียน" หรือไม่?  การเรียนแต่ละวิชาของอาจ