บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2014

PLC_CADL_021 : อีเมล์เปิดผนึก ถึงผู้ประสานงานรายวิชาศึกษาทั่วไป

รูปภาพ
เขียนที่  ศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ (CADL)  สำนักศึกษาทั่วไป  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เรียน อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาศึกษาทั่วไป ประจำภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๖ ที่เคารพ กระผมในฐานะรอง ผอ. สำนักศึกษาทั่วไป อยากจะชี้แจงเรื่องค่าตอบแทนการสอนบางประการของเทอมนี้ แม้ท่านจะไม่สนใจอยากอ่าน แต่การอธิบายผ่านท่านไปยังอาจารย์ผู้สอน น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด อาจารย์ผู้สอนหลายท่านอาจได้ทำเรื่องขอเบิกค่าสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปแล้ว บางท่านอาจสังเกตเห็นว่า ค่าสอนเทอมนี้ทำไมน้อยกว่าเทอมที่ผ่านมา อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับเทอมที่ผ่านมา  คำตอบมีว่าอย่างนี้ครับ ... มหาวิทยาลัยใช้ระบบจัดการงบประมาณรายได้ตามจริง แม้จะตั้งงบแบบประมาณการตามจำนวนนิสิต แต่การเบิกจ่ายจริงจะต้องอิงตามจำนวน "รายรับจริง" (ในที่นี้คือ รายได้-ค้างจ่าย) ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนนิสิตที่มาชำระเงินตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ แต่ในขณะนี้นิสิตจำนวนประมาณ ๑๐% ไม่ได้ชำระเงินตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้จำนวน "รายรับจริง" ที่ต้องนำไปคำนวณเป็นงบประมาณในหมวดต่างๆ รวมทั้งหมวดค่าตอบแทนการ

PLC_CADL_020 : เสนอรูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้รายวิชาศึกษาทั่วไป

รูปภาพ
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ผมได้รับมอบหมายจากท่าน ผศ.ดร.พชรวิทย์ จันทรศิริสิร (ผอ.สำนักศึกษาทั่วไป ) ให้นำเสนอ (ร่าง) แนวทางและทิศทางการพัฒนาการเรียนรู้ของรายวิชาศึกษาทั่วไป ต่อคณะกรรมการบริหารสำนักฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยและจากหลากหลายคณะฯ ....  ผลปรากฎว่า ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับแนวทางนี้มาก เหมือนเห็นด้วยในหลักการ ผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับนักขับเคลื่อน "คนดี" งานของ GE นี้อาจเป็นประโยชน์ จึงนำมาแลกเปลี่ยนไว้ที่นี่ครับ รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้นี้ ผมสังเคราะห์จากการพูดคุยสนทนากับ ผอ.สำนักฯ แบบนับครั้งไม่ถ้วน ท่านมีสไตล์การทำงานที่ผมชื่นชอบ และพยายามจะเลียนแบบ คือ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและเคารพในศักยภาพและคุณค่าของแต่ละคน โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายใน หรือที่เราเรียกว่า Transformative Learning  หรือ "การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง" ซึ่งผมเองมีประสบการณ์และหลงไหลกับการพัฒนาการเรียนรู้ในแนวนี้มาหลายปี ผู้สนใจติดตามอ่านบล็อกทาง www.gotoknow.org ของ ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช และของผมเอง (ใช้ชื่อว่

CADL กับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓ : บทสรุปผู้บริหาร

รูปภาพ
บทสรุปผู้บริหาร การสร้างเครือข่ายหนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ในเขตพื้นที่ ๑ ปัญหาและความสำคัญ มีข้อเท็จจริงอย่างน้อย ๓ ประการ เกี่ยวกับลักษณะของระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ที่ทุกท่านจะต้องให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างเร่งด่วน ได้แก่ ๑) เป็นแบบกระบวนการแยกส่วน ๒) เป็นระบบเน้นการแข่งขันมากกว่าความร่วมมือ และ ๓) เป็นแบบเรียนวิชามากกว่าเรียนชีวิต หน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาแยกส่วนจากกันค่อนข้างชัดเจน มหาวิทยาลัยมีระบบการคัดเลือกนักศึกษาของตนเองด้วยการทดสอบที่ตนเองจัดทำขึ้น (ระบบสอบโควต้า) มีส่วนในการพัฒนาการเรียนรู้ในโรงเรียนน้อยมาก แม้จะเป็นผู้ผลิตบุคลากรทางการศึกษาสู่สังคม แต่เมื่อไม่ได้ติดตามพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาคุณภาพการศึกษาตกต่ำ เกิดการกล่าวโทษกันไปมา ดังที่ทราบกันทั่วไป ....อาจารย์มหาวิทยาลัยโทษอาจารย์มัธยม   อาจารย์มัธยมโทษครูประถม ครูประถมโทษอาจารย์มหาวิทยาลัย ความเหลื่อมล้ำของสังคมทั้งทางด้านฐานะและรายได้ ทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันหรือคณะวิชาที่มีเกียรติในสังคมหรือที่สร้างรายไ