CADL กับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๒
บันทึกที่ ๑ ได้กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานของ CADL ใน ๓ บทบาทหลัก ได้แก่ ๑)
นักสร้างเครือข่าย ๒) เป็นนักขับเคลื่อน และ ๓) นักวิชาการ
โดยแต่ละบทบาทจะมีจุดเน้นและหลักการทำงานที่แตกต่างกันไป
บันทึกนี้จะกล่าวถึงบทบาทแรกในการทำงานเป็นนักสร้างเครือข่ายซึ่งได้ดำเนิน
การมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๕๒
เป้าหมายสำคัญของศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ (CADL) คือ การสร้างเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ในเขตพื้นที่ที่เรียกว่า เครือข่าย LLEN (Local Learning Enrichment Network) เพื่อทำหน้าที่ประสานสร้างเครือข่าย
ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของชุมชนและสังคม ได้แก่ มหาวิทยาลัย ชุมชน ผู้ปกครอง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาลเมือง ฯลฯ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา
และส่งเสริมการสร้างความร่วมมือของครู หรือ ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (PLC)
ทั้งแบบ PLC ชั้นนอก
ที่เป็นกิจกรรมความร่วมมือระหว่างครูต่างโรงเรียน ในกลุ่มสาระเดียวกันหรือช่วงชั้นเดียวกัน
และทั้งแบบ PLC ชั้นใน
ที่เป็นหัวใจหลักของการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เป้าหมายสำคัญ PLC
คือการร่วมมือกันพัฒนาการเรียนรู้ การออกแบบการเรียน การสอน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 หรือทักษะอนาคตในบริบทของตนเอง
โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติ
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ได้มีบันทึกความความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการศึกษาต่างๆ แล้ว ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.)
เขต ๒๖ มหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๑, ๒, ๓ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มหาสารคาม และเทศบาลเมืองมหาสารคาม นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับหน่วยงานเอกชนอีก ๒ แห่ง คือ มูลนิธิสยามกัมมาจล ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาเขตพื้นที่อีสานตอนบน และบริษัทโตโยต้ามหาสารคาม (1992)ฯ เข้ามาร่วมสนับสนุนการแข่งขันทักษะทางวิชการ เป็นต้น
LLEN กำลังขับเคลื่อนไปที่ละก้าว ด้วยความหวังว่าทุกภาคส่วนของสังคมจะเข้าร่วมเป็นเครือข่ายฯ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้จงได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น