บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2016

CADL_KM-GE_๕๘-๐๒ : เรียนรู้วิธีจับประเด็นจาก รศ.ดร.จิตเจริญ ไชยาคำ (ปราชญ์ JJ) (๓) "ถอดบทเรียน : เขียนแนวปฏิบัติ"

รูปภาพ
บันทึกที่ (๑) บันทึกที่ (๒) ในการกล่าวเปิดเวทีแลกเปลี่ยนครั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ได้แนะนำต่อผู้เข้าร่วมโครงการคือ ประสบการณ์ด้านการนำงานประจำ (Routine) มาเขียนแลกเปลี่ยนให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ด้วยทาง www.gotoknow.org  ของ รองศาสตราจารย์ ดร.จิตเจริญ ไชยาคำ หรือ อ.JJ  หลายคนหลายครั้งคงมีความหลังคล้ายกันตอนไปเยี่ยมญาติเราที่ป่วยในโรงพยาบาล หมอเท่านั้นที่จะสามารถอ่านฟิล์มเอ็กซเรย์ที่อยู่ท้ายเตียงผู้ป่วย ทั้งๆ ที่หลังจากหมอหยิบมาดู ฟิล์มนั่นก็ยังอยู่ในซองน้ำตาลท้ายเตียง  เคยหยิบออกมาถามพยาบาล พยาบาลจะบอกเป็นงานของหมอ อยากรู้ต้องรอไปอีกหนึ่งวัน (เพราะหมอมาที่เตียงวันละครั้ง) สืบค้นทางเน็ตก็ไม่ค่อยเจอ รู้สึกเหมือนศาสตร์ลึกลับของตระกูลเหมือนการเปลี่ยนสีหน้าของงิ้วจีนที่ไม่สอนให้กับคนนอก อะไรอย่างนั้น  อ. JJ มักจะนำเอาฟิล์มเอ็กซเรย์ที่ท่านรักษาคนไข้  มาเขียนไว้ในบันทึกให้ผู้สนใจได้เข้าไปอ่าน เช่น ที่นี่   ที่นี่ หรือ ที่นี่   ฯลฯ บันทึกของท่านเหล่านั้น คือตัวอย่างของการทำวิทยาทานจากงานจริงๆ  อานิสงค์เบื้องต้นของคนที่สามารถทำได้แบบนี้คือ "ความเชี่ยวชาญ" ที่จะมียิ่งๆ ขึ้นไป 

CADL_KM-GE_๕๘-๐๒ : เรียนรู้วิธีจับประเด็นจาก รศ.ดร.จิตเจริญ ไชยาคำ (ปราชญ์ JJ) (๒) "จับประเด็น"

รูปภาพ
บันทึกที่ (๑) วิธีการของ อาจารย์ JJ เพื่อให้เข้าใจเรื่อง "จับประเด็น" กิจกรรมที่ ๑  อ. JJ ใช้กระบวนการ ๕ ขั้นตอน ได้แก่ เปิดคลิปให้ดู->ตั้งคำถาม->แบ่งกลุ่มให้แลกเปลี่ยนหาคำตอบ->ให้นำเสนอ และ ->ร่วมกันสรุป เริ่มด้วยการเปิดคลิป "เช้านี้ที่แอฟริกาให้ดู"   ผมยกเอาคลิปตัวอย่างจากยูทูป เพื่อให้ผู้อ่านลองดูตามไปด้วยเลย ถือเป็นกระบวนการ เรียนรู้แบบอุปนัย ไปในตัวเลยครับ  (ไม่ไม่ใช่คลิปที่ อ.JJ นำมาเปิดแต่น่าจะหลักเดียวกันครับ) (ค้นคลิปการล่าของเสือไม่พบที่ถูกใจ ขอใช้คลิปการล่าของสิงโตแทนนะครับ : ไม่ใช่เสือล่ากวาง แต่เป็นสิงโตล่าหมูป่า) เมื่อดูเสร็จ ให้จับกลุ่ม ๆ ละ ๘ คน ช่วยกันตอบคำถามต่อไปนี้ มีสิงโตกี่ตัว?  ทำไมเสือจึงจับกวางได้? ได้เรียนรู้อะไรจากคลิปนี้?  แล้วให้แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยเขียนข้อสรุปไว้บนกระดาษฟลิบชาร์ท เทคนิคการจับประเด็น หลังจากนำเสนอ แล้ว อ.JJ ชี้ให้เห็นว่า การนำเสนอของทุกกลุ่มเป็นลักษณะการเสนอความคิด หรือความเห็น มากกว่าการเสนอผลของการจับประเด็น  ...  ผมจับความ "หลักการ" ในการจับประเด็นเป็น ๓ ระ

CADL_KM-GE_๕๘-๐๒ : เรียนรู้วิธีจับประเด็นจาก รศ.ดร.จิตเจริญ ไชยาคำ (ปราชญ์ JJ) (๑)

รูปภาพ
วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๙ สำนักศึกษาทั่วไป จัดกิจกรรมฝึกอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการนำการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) มาใช้ในการทำงานและการพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (หรือ LO) วิทยากรกระบวนการงานนี้คือ รองศาสตราจารย์ ดร.จิตเจริญ ไชยาคำ หรือ ที่บล็อคเกอร์รู้จักกันดีในชื่อ JJ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ ๔๐ คน เป็ฯบุคลากรสำนักศึกษาทั่วไปเกือบทั้งหมดเข้าร่วมอย่างพร้อมดี มีเพียงบางคนที่้ต้องให้ใช้เวลากับงานด่วน ในปีงบประมาณนี้ (๒๕๕๙) ประเด็นความรู้หลักที่สำนักศึกษาทั่วไปกำหนดให้ทุกกลุ่มงานได้พัฒนาการทำงานร่วมกัน โดยใช้ KM เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนเพื่อพัฒนาองค์กร คือ  "การจัดทำคู่มือการปฏิบัติราชการของบุคลากรสำนักศึกษาทั่วไป" ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อระบบการทำงานขององค์กรแล้ว ยังเป็นเส้นทางการก้าวหน้าในหน้าที่การงานในสายสนับสนุนด้วย ก่อนจะกำหนดเป็นประเด็นความรู้เรื่องการจัดทำคู่มือฯ ฝ่ายบริหารและแผนได้กำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรของสำนักฯ ให้ทุกคนทำคู่มือฯ อยู่แล้ว และได้เชิญวิทยากรจากกองการเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้อย่างเป็นจริงจังแล้วคร

แนะนำ "การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน"

ปีงบประมาณ ๒๕๕๙  บุคลากรสำนักศึกษาทั่วไป กำลังสนใจเรื่องการเขียนคู่มือปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นพิเศษ ฝ่ายบริหารและแผนยุทธศาสตร์ (งานบุคคล) กำหนดเรื่องนี้ไว้ในแผนพัฒนาบุคลากร และจัดฝึกอบรมเรื่องนี้โดยเชิญวิทยากรจากกองการเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้ ผมไม่ได้เข้าร่วมในการอบรมด้วย แต่หลังจากการฝึกอบรมสองสามเดือน งานจัดการความรู้ (เรียกกันว่า ฝ่าย KM) ได้จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงได้มาศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยึดเอาชุดความรู้การเขียนคู่มือปฏิบัติงานที่เรียบเรียงโดย คุณเสถียร คามีศักดิ์ เจ้าหน้าที่บุคคลชำนาญการพิเศษ ๙ ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ดาวน์โหลดได้ ที่นี่ หรือ ที่นี่ ) มาใช้เป็นแนวทางให้บุคลากรได้ศึกษาและปฏิบัติตาม ต่อไปนี้เป็นสาระที่ผมสรุปจากเอกสาร ๔๒ หน้าให้ง่ายและสั้นที่่สุด เผื่อว่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้อ่าน ทำไมต้องเขียนคู่มือ  สำนักคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) บอกว่า คู่มือฯ สำคัญอย่างนี้ อยากให้การทำงานเป็นปัจจุบัน ....... แสดงว่าต้องเขียนอยู่บ่อยๆ  อยากให้มีมาตรฐานเดียวกัน ..... ข้อนี้บอกว่า ไม่ควรต่างคนต่างเขียน แต่ใครที่รับผิดชอบหน้าที่เหมือนกันต้อง