บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2019

ถอดบทเรียน "การยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้น สำหรับบุคลากรสารสนับสนุน" จากการฟัง "คุณสวัสดิ์ วิชระโภชน์

รูปภาพ
ครั้งหนึ่ง คุณสวัสดิ์ วิชระโภชน์ เจ้าหน้าที่ชำนาญการ จากกองทะเบียน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นคนต้นแบบคนหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่ทุกคนยอมรับว่า เป็นบุคลากรตัวอย่าง คุณสวัสดิ์มาพูดเรื่อง "การเขียนคู่มือปฏิบัติการ"  จำได้ว่าพูดได้ดีมากมาก .... จึงมาถอดบทเรียนไว้ให้เป็นประโยชน์ต่อน้อง ๆ พนักงานสายสนับสนุนต่อไป ความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัย ๑) ความก้าวหน้าทางวิชาชีพในมหาวิทยาลัย ความก้าวหน้าทางวิชาชีพของบุคลากรในมหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่  ตำแหน่งวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ ผศ. รศ. และ ศ. ตำแหน่งผู้บริหาร ได้แก่ ผอ.สำนักอธิการบดี และ ผู้อำนวยการกอง (สำหรับสายสนับสนุน) ตำแหน่งวิชาชีพเฉพาะ หรือ ตำแหน่งเชี่ยวชาญเฉพาะ มี ๕ ตำแหน่ง ได้แก่ ปฏิบัติการ  ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ  เชี่ยวชาญพิเศษ ตำแหน่งทั่วไป มี ๓ ตำแหน่ง ได้แก่ ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ๒) ทำไมต้องขอตำแหน่ง ทำไมต้องทำผลงาน เพราะว่า การทำผลงานเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ขอตำแหน่งที่สูงขึ้น  ทำไมต้องขอตำแหน่งที่สูงขึ้น เพราะจะได

mini-UKM #20 @NPU (3): "การสอนอย่างครูมืออาชีพ"

รูปภาพ
ในช่วงของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของงาน mini-UKM#20 ณ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม (๒๔ มกราคม ๒๕๖๒) ผมอาสาเป็นตัวแทนของคณาจารย์ที่ร่วมกันสังเคราะห์รูปแบบ "ครูมืออาชีพ" ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไปนำเสนอในกลุ่มย่อยหัวปลา "การสอนอย่างมืออาชีพ" เมื่อวงแลกเปลี่ยนได้เวียนมาถึง ผมนำเสนอสั้น ๆ โดยใช้เวลาประมาณ ๕ นาที ประกอบสไลด์ต่อไปนี้  โดยเกริ่นถึงเวที mini-UKM-MSU ที่ศูนย์ประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยจัดในเดือนธันวาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา (ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เผยแพร่แล้ว อ่านได้ ที่นี่ ) อาจารย์ที่มาทำหน้าที่เป็นคุณฟา เรียกแผนภาพด้านต่าง ๆ ที่่ผมนำเสนอว่า ม.มหาสารคามโมเดล  มมส. โมเดล บอกว่า คุณลักษณะของอาจารย์ที่จะสอนได้อย่างมืออาชีพ จะมี ๔ องค์ประกอบ แสดงดังแผนภาพด้านล่าง  Values & Attributes คุณลักษณะประจำตัวของอาจารย์  Content Knowledge ความรู้และทักษะเฉพาะในเนื้อหา Pedagogical Knowledge ความรู้และทักษะด้านการเรียนการสอน Technological Knowedge  ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี  เมื่อพิจารณาเทียบเคียงกับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังตามกร