บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2014

PLC_CADL_024 : BAR โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร GE ปี ๕๗

CADL ดำเนินงานทั้งภายในและภายนอก (มหาวิทยาลัย) โดยใช้ PLC เป็นเครื่องมือนำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) มาสู่ผู้เกี่ยวข้อง โดยมองใน ๓ มุมมอง ดังที่บันทึกไว้ในบันทึก นี้   ในมุมมองของ Personal Learning Community เรามีแผนที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ณ นอกสถานที่ โดยที่ปีนี้จัดแยกกันไป ๓ กลุ่ม ตามลักษณะของปัญหาและกลุ่มงานของสำนักศึกษาทั่วไป (GE) ผมทำ BAR กับหัวหน้ากลุ่มงานทั้ง ๓ ของ GE โดยมีหัวหน้าสำนักงาน GE มาร่วมด้วย เพื่อที่จะให้ทุกคนได้ร่วมออกแบบกิจกรรมการสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพฯ ที่เรากำลังจะไปในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า ผมบอกทั้ง ๔ ท่านว่า ที่เชิญมาอยากถามว่า " เราจะไปทำกิจกรรมอะไรกันดี? "...สังเกตสีหน้า เหมือนจะพูดในใจว่า " อ้าว...จะไปรู้เหรอ... " ....ผมรีบเสนอต่อ ว่า "จะชวนมาคุยสองประเด็นครับคือ "ปัญหาเดิม กับ สิ่งต้องการเติมใหม่" ในมุมมองของหัวหน้าสายงาน เห็นเป็นอย่งไร ..... หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ บอกว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ นิสิตไม่รู้ไม่เข้าใจระบบลงทะเบียน ไม่รู้ว่าตนเองควรจะต้องทำอะไร อย่างไร ที่ไหน ทำอันใดก่อน ทำให้ต้องอธิบายซ้ำๆ หลายร

PLC_CADL_023 : ห้องเรียนในอนาคต

กลางเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ในการประชุมผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มงาน GE เรื่อง ร่างจัดทำคำขอตั้งงบประมาณประจำปี ๒๕๕๘  มีประเด็นสำคัญที่ผมนำเสนอ ๓ เรื่องที่เราควรให้ความสำคัญตามลำดับได้แก่ ห้องเรียน ห้องน้ำ และห้องทำงาน ดังได้เสนอไว้ดังนี้ หากท่านเป็นครูใน "โรงเรียนดีศรีตำบล" ท่านจะคิดถึง ๕ ห้องชีวิต ที่วัดธรรมกายร่วมกับ สพฐ. ร่วมมือกันขับเคลื่อนมาแล้วหลายปี  ซึ่งหากมองในเชิงบวก เป็นโครงการ "มุ่งดี" บ่มเพาะปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ผ่านกิจกรรมที่ทำใน ๕ ห้อง ได้แก่ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องรับแขก และห้องทำงาน.... แต่ผมไม่ได้นำหลักนี้มาใช้ครับ... เพียงแต่พิจารณาตามเหตุผลและเป้าหมายของการพัฒนาให้เป็นห้องเรียนในอนาคต ห้องเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเอื้อให้ " ครูฝึกก " สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การสร้าง "ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑" ให้กับนิสิต ซึ่งได้นำเสนอไว้แล้วในบันทึกเรื่อง " รูปแบบการพัฒนารายวิชาศึกษาทั่วไป " โดยคำนึงถึงธรรมชาติของรายวิชาเป็นสำคัญ ด้วยหลักคิดข้างต้น สามารถแบ่งลักษณะของ "ห้องเร

PLC_CADL_022 : องค์กรแห่งการเรียนรู้ LOT

งานภายในสำนักศึกษาทั่วไป (GE) ที่ CADL ได้รับมอบหมายประการสำคัญคือ การทำให้ GE เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) ซึ่งกำหนดไว้เป็นนโยบายประการหนึ่งของ GE  ผมจำได้ว่า มีบุคลากรของ GE คนหนึ่งถามผมว่า LO คืออะไร? จะทำอย่างไรถึงจะเป็น LO?  ผมตอบคำถามต่อเธอทันที และวันนี้ ผมจะใช้บันทึกนี้ ตอบคำถามเหล่านี้อีกครั้งอย่างละเอียด .... ความรู้เกี่ยวกับ LO มีมากมาย หาได้ง่าย ถ้าใช้คำสำคัญว่า "องค์กรแห่งการเรียนรู้" จะมีเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องให้ดูถึง ๑,๑๕๐,๐๐๐ รายการ เว็บไซต์ที่ขึ้นอันดับแรก ที่นี่ ท่านจะได้ทฤษฎีของ LO ครบถ้วน อาจแล้วคงจะ "เข้าใจ" ได้ไม่ยาก แต่ถ้าอยากจะ "เข้าถึง" ผมว่าวิธีเดียวคือลงมือปฏิบัติทันทีจะดีที่สุด...ผมคิดว่า "จะทำ LO บริบทไทย (LOT) อย่างไร" ต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด LOT ควรมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ ๓PLC ได้แก่ Personal Learing Community   (รู้ตน รู้บุคคล) Problem Learning Community (รู้เหตุ รู้ผล) Professional Learning Community (รู้ชุมชน รู้ประมาณ รู้กาลเวลา ) ดังจะขอขยายความ ดังนี้ครับ Personal Learning Community คือ ช